


|

ประวัติโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐
หมู่ที่ ๕ ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
เดิมชื่อโรงเรียนบ้านสะปอม ใช้บาลาเซาะ (สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลาม)
เป็นที่ทำการเรียนการสอน ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๑ ราษฎรในท้องถิ่นร่วมกันบริจาคทรัพย์และก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น
บนที่ดินของมัสยิดบ้านใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนบ้านใหม่"
๒ กรกฎาคม ๒๕๐๗ ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน
(แบบกรมสามัญเดิม) จำนวน ๗๐,๐๐๐ บาท ซึ่งย้ายมาก่อสร้างบนที่ดินที่สงวนไว้เพื่อก่อสร้างสถานศึกษา
จำนวน ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๔๖ ตารางวา
๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๑๗ (แบบไทยรัฐวิทยา) จำนวน
๑ หลัง เป็นเงิน ๑,๓๗๐,๐๐๐ บาท (ใต้ถุนโล่ง) โดยรื้ออาคารเรียนถาวร
ออกจำนวน ๒ ห้อง แล้วนำวัสดุไปสมทบกับเงินบริจาคก่อสร้างอาคารโรงอาหาร
๑๓ มีนาคม ๒๕๒๕ ทำพิธีเปิดป้ายและส่งมอบอาคารเรียน และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
มอบเงินสด ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจดทะเบียนเป็นเงินทุนมูลนิธิโรงเรียนไทยรัฐวิทยา
๑๐ (บ้านใหม่)
๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๕ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมอบเงินสดสมทบอีก
๑๐๐,๐๐๐ บาท และได้ดำเนินการจดทะเบียนก่อตั้งเป็นมูลนิธิกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๒๘
๕ กันยายน ๒๕๓๑ มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สนับสนุนเงินงบประมาณ
จำนวน ๓๑๔,๐๐๐ บาท ให้ต่อเติมอาคารเรียน ๐๑๗ ชั้นล่าง
จำนวน ๔ ห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๑
๑ สิงหาคม ๒๕๓๖ โรงเรียนถูกลอบวางเพลิงอาคารเรียน คิดเป็นมูลค่าแห่งความเสียหาย
๑๒๑,๐๘๐ บาท มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้สนับสนุนงบประมาณซ่อมแซมอาคาร
จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมโต๊ะนักเรียนชนิดนั่งเดี่ยว จำนวน
๑๕๐ ชุด
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่
|
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ตั้งอยู่ริมทะเลอ่าวไทย ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดปัตตานี
จังหวัดนราธิวาส และที่อื่นๆ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้าน
|
การคมนาคม
หมู่บ้านมีทางหลวงจังหวัดนราธิวาส - ตากใบ ตัดผ่าน
|
จำนวนประชากร
มีประชากร ประมาณ ๑,๑๐๐ คน แยกเป็น ๑๑๑ ครัวเรือน
|
การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง, ประมงชายฝั่ง และประกอบอาชีพส่วนตัว เช่น เลี้ยงปลา อุตสาหกรรมในครัวเรือน (ทำข้าวเกรียบปลา) มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๑๐,๐๐๐ บาท/เดือน
|
ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายมะฮัสตี มะแซสะอิ
ผู้ใหญ่บ้าน นายสะอิ บินสุหลง
|
ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
- การแก้ปัญหาการว่างงาน
- การส่งเสริมอาชีพ
- การสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม
- อนามัยชุมชน
- สุขภาพและคุณภาพชีวิต
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐ (บ้านใหม่) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัด นราธิวาส
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านบ้านใหม่ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
|
อาคารสถานที่
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑.อาคารแบบภูเก็ต
| กรมสามัญศึกษา |
๒.อาคารเรียนแบบ ๐๑๗
| มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ |
๓. อาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๒/๒๕๒๖
| สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ |
๔. อาคารเอนกประสงค์ แบบอื่นๆ
| มูลนิธิหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๕ คน มีครู ๑ คน
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๒๐๑ คน เป็นชาย ๙๙ คน หญิง ๑๐๒ คน มีครู ๑๐ คน นักการภารโรง ๑ คน
|
ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| ผู้รับผิดชอบโครงการฯ |
๑. นายสุเทพ จันทร์รัตน์
| กศ.บ
| อาจารย์ใหญ่ |
๒. นางสาวนรมาน หะยีดอเลา
| ค.บ
| โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
๓. นางประไพ ศรีสุรัตน์
| อ.ศศ.บ.
| โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
๔. นางสุขุมาลย์ อินทรเพชร
| ค.บ
| โครงการห้องสมุด |
๕. นางอุไร ปิ่นคำ
| ค.บ.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๖. นางศรีเพ็ญภา พรหมอ่อน
| ค.บ.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๗. นางเดือนเพ็ญ พิมานแมน
| ศษ.บ.
| โครงการอาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
๘. นางเพ็ญศรี วงศ์ประดิษฐ์
| ค.บ.
| โครงการห้องสมุดโรงเรียน |
๙. นางจรรยา พรหมพูล
| ค.บ.
| โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน |
๑๐. นายสว่าง รัตนพิพัฒน์
| ศศ.บ.
| โครงการอาหารกลางวัน |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ระดับชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๒๘
| ๒๓
| ๕๑ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๑๐
| ๑๑
| ๒๑ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๖
| ๑๙
| ๒๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๑๒
| ๑๐
| ๒๒ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๑๙
| ๗
| ๒๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๙
| ๑๗
| ๒๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๑๕
| ๑๕
| ๓๐ |
รวม
| ๙๙
| ๑๐๒
| ๒๐๑ |
การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อจำนวน ๕๖ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๖ คน
|
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นางสาวนรมาน หะยีดอเลาะ
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สหกรณ์อำเภอเมืองนราธิวาส และสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส
|
กิจกรรมที่ดำเนินการในโรงเรียน
จัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานสหกรณ์ที่จังหวัดยะลา
|
การศึกษาดูงาน
จัดกิจกรรมทัศนศึกษาดูงานสหกรณ์ที่จังหวัดยะลา
|
ผลการดำเนินงาน
ผลกำไรจากการจำหน่ายสินค้าอุปโภค - บริโภค ได้จัดแบ่งเป็นสัดส่วนดังนี้
- ปันผลเรือนหุ้น
- เฉลี่ยคืนตามยอดซื้อ
- จัดกิจกรรมคืนสู่สมาชิก
- ค่าวัสดุอุปกรณ์
- บำรุงการศึกษา
- อื่น ๆ
|
ปัญหาการดำเนินงาน
สถานที่ยังไม่เป็นเอกเทศ คับแคบ ไม่สะดวกแก่การจัดกิจกรรม
|
|