ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมสหกรณ์จำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพ

ในปี พุทธศักราช ๒๕๑๖ คะกรรมการหมู่บ้านหาดทรายเพ ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันว่า การที่จะให้บุตรหลานของตนเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านท่าหนามแก้วมีอุปสรรคหลายอย่างด้วยกัน ทั้งมีระยะทางไกล ในฤดูฝนก็ไม่สามารถเดินทางไปเล่าเรียนได้ เนื่องจากน้ำท่วมทาง ต้องขาดเรียนเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้บุตรหลานไม่สามารถได้รับการศึกษาเท่าที่ควร จึงได้พร้อมใจกันยื่นเรื่องราวขอจักตั้งโรงเรียน เสนอต่อที่ มว.ตชด.๔๑๓ (เดิม) ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครนครพนม เพื่อขอครูตำรวจตระเวนชายแดนมาทำการสอน แต่การขอตั้งโรงเรียนครั้งนี้ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะทางกองกำกับการตวจตระเวนชายแดน เขต ๔ จังหวัดอุดรธานี ไม่สามารถจัดหาครูมาสอนได้ จนกระทั่งต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวคือหมู่บ้านตกอยู่ในเขตคุกคามของฝ่ายตรงข้าม ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ราษฎรในหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน นักเรียนไม่กล้าจะเดินทางไปโรงเรียน หรือนาน ๆ ไปครั้ง นายหนูดี พรมดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านพร้อมราษฎร จึงได้ร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะให้ส่งครูไปทำการสอน โดยยินดีจัดทำอาคารสถานที่และที่ดิน สำหรับทำการก่อสร้างโรงเรียนเป็นการชั่วคราว ทั้งเป็นการขอเจ้าหน้าที่ตำรวจไปอยู่เพื่อให้ความอบอุ่นแก่หมู่บ้านอีกทางหนึ่งด้วย ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๔ จึงได้ส่งเรื่องไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อขอดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่บ้านหาดทรายเพและได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านหาดทรายเพ ตำบลพระทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๒๐ ได้ส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนมาทำการสอน ๒ นาย คือ
๑. ส.ต.อ. เศกสิทธิ์ หิรัญอร
๒.ส.ต.ต.ประสพ วงศ์สอน
ระยะแรกการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวยังไม่เสร็จ จึงต้องอาศัยศาลาวัดบ้านหาดทรายเพ จนถึงปีการศึกษา ๒๕๒๓ จึงได้ย้ายมาที่อาคารเรียนที่สร้างขึ้น

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหาดทรายเพเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นในสังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ จังหวัดสกลนคร
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านหาดทรายเพ ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาค ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอน คือ หลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดย ครู ตชด.เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษา นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
อาคารเรียน
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
(ขนาด ๓๘ เมตร x ๘ เมตร ขนาด ๖ ห้อง) ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือการรถไฟมักกะสัน
ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องครัว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
โรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
ห้องส้วม กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓
สนามเด็กเล่น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ส่งครูมาปฏิบัติหน้าที่ ๒ นาย ต่อมาเมื่อนักเรียนเพิ่มขึ้น ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ก็ได้เพิ่มจำนวนครู ตชด.อีก จนถึงปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๘ คน และครู ตชด. ๕ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูคุณวุฒิและหน้าที่ความรับผิดชอบของครู ตชด. แต่ละนาย
ชื่อ
คุณวุฒิ
หน้าที่ความรับผิดชอบ
๑. ด.ต.พงษ์ศักดิ์ ดาวเศรษฐ์
ม.ศ.๓
ครูใหญ่
๒. ส.ต.อ.ทองพูน พันสว่าง
ม.ศ.๓
โรงเรียน - ชุมชน
๓. ส.ต.อ.สมพร ไวแสง
ม.๖
วิชาการ-ลูกเสือ, ธุรการ-การเงิน
๔. ส.ต.อ.วิเชียร สายประศาสน์
ปก.ศ.สูง
พยาบาล กิจการนัก
๕. ส.ต.ต.ทองศุกร์ สุริวงแก้ว
ม.ศ.๕
เกษตร ลูกเสือ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม(คน)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๒๓
๑๕
๓๘

โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการในโรงเรียน
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ได้กำหนดการพัฒนาเป็น ๔ ด้าน แต่ละด้านประกอบโครงการตามพระราชดำริ ดังต่อไปนี้

ด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพอนามัย
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
ดำเนินการโดย สหกรณ์ท่าอุเทน มาทำการอบรมให้ความรู้และจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน มีนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ สหกรณ์เป็นผู้รับซื้อไข่ไก่จากโครงการฝึกอาชีพ จำหน่ายให้ราษฎร และสหกรณ์โรงเรียน ตชด.ชูทิศวิทยา เป็นผู้ซื้ออาหารไก่มาจำหน่ายให้กับทางโรงเรียน ทางโรงเรียนยังรวมหุ้นจากสมาชิกในราคาหุ้นละ ๑๐ บาท และได้รับการช่วยเหลือจากสหกรณ์อำเภอท่าอุเทน จำนวน ๒,๐๐๐ บาท ในขณะนี้มีเงินทุนหมุนเวียนประมาณ ๓,๐๐๐ บาท จัดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และประถมศึกษาปีที่ ๖ มาจำหน่ายสินค้าในเวลาเช้าก่อนเข้าเรียน และพักกลางวัน

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
(๓๒)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๕)