ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพเจริญจำนวนนักเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเทพเจริญ

ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของราษฎรที่มองเห็นความสำคัญของบุตรหลานในด้านการศึกษา เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ โดยเดิมมีนักเรียนบ้านเทพเจริญ ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่บ้านไทยเจริญ ซึ่งใช้ระยะทางในการเดินทาง ๔ กิโลเมตร และโรงเรียนบ้านโคกกอกหินเหล็กไฟ ตำบลสร้างมิ่ง ซึ่งได้รับความลำบากมากในการเดินทาง ข้ามห้วยหนอง คลองบึง และตลอดเส้นทางจะมีป่าหนาทึบปกคลุม ผู้ปกครองเกรงจะเกิดอันตรายแกบุตรหลายของตน ดังนั้นประชาชนในหมู่บ้านเทพเจริญจึงได้ส่งตัวแทนไปพบ นายแสนฟาง บุญคำ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านไทยเจริญ ให้หาทางชวยดำเนินการจัดตั้งให้จึงได้เสนอเรื่องถึงสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดยโสธร และปรากฏว่าไม่สามารถดำเนินการจัดตั้งได้ เนื่องจากทางจังหวัดไม่มีงบประมาณ คณะกรรมการหมู่บ้านโดยการนำของ นายโขง ศรีวะโสภา ผู้ใหญ่บ้าน ได้เดินทางร้องขอความช่วยเหลือจาก กก.ตชด.เขต ๓ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ยินดีที่จะจัดการให้
เมื่อการร้องขอต่อ กก.ตชด.เขต ๓ สำเร็จ นายโขง ศรีวะโสภา ผู้ใหญ่บ้าน ได้เรียนคณะกรรมการหมู่บ้านประชุมปรึกษาหารือในการจัดหาสถานที่ในการก่อสร้าง โดยคณะกรรมการหมู่บ้านได้รับบริจาคที่ดินจากนายบิก ทางสุข จำนวน ๑๕ ไร่ จึงได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นหลังหนึ่ง ขนาด ๖ x ๑๘ ม. มี ๖ ชั้นเรียน
ต่อมาวันที่ ๒๘ ก.ค. ๒๕ ถึง ต.ค. ๒๘ คณะนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ชมรมอาสาพัฒนา ได้ออกค่ายจัดสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร ขนาด ๗ x ๓๐ ได้ส่งข้าราชการตำรวจจำนวน ๔ คน ไปทำหน้าที่เป็นครูสอน คือ
  • ๑. จ.ส.ต.ไพฑูรย์ เกษมสำราญ
  • ทำหน้าที่หัวหน้าครู
  • ๒. ส.ต.ท.ธงชัย แสงเพชร
  • ครูช่วยสอน
  • ๓. ส.ต.ท.คัณทรง บัวพาเรือง
  • ครูช่วยสอน
  • ๔. พลฯ ชูเชิด อาสาพุทธ
  • ครูช่วยสอน

    จำนวนนักเรียน
    โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึงประถมศึกษาปีที่ ๖ ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๓ คน เป็นชาย ๒๙ คน หญิง ๓๔ คน

    ชั้น นักเรียนชาย นักเรียนหญิง รวม
    ชั้นเด็กเล็ก
    ๑๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๒๙
    ๓๔
    ๖๓

    จำนวนครู
    ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมีครู ๗ คน เป็นครู ตชด. ๔ คน ครู ช่วยสอน ๓ คน คือ

    ชื่อ ทำหน้าที่
    ๑. ส.ต.อ. ธงชัย แสงเพชร ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.อ.ฉลอง วงศ์ศรีแก้ว ครูผู้ช่วย
    ๓. ส.ต.อ.คัณทรง บัวภาเรือง ครูผู้ช่วย
    ๔. พลฯ วิเชียร บัวระบัน ครูผู้ช่วย
    ๕. น.ส.ไพบูลย์ พรมจันทร์ ครูช่วยสอน
    ๖. นางเสาวคนธ์ วงศ์ศรีแก้ว ครูช่วยสอน
    ๗. น.ส.สาริยา ปาละวงศ์ ครูช่วยสอน

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    พื้นที่โรงเรียนทั้งหมด ๑๕ ไร่
    พื้นที่ใช้ในการเกษตร ๕ ไร่
    สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย
    แหล่งน้ำบริโภค ได้แก่บาดาล
    มีการประกอบอาหาร ๕ ครั้ง/สัปดาห์

    การเกษตรของโรงเรียน
    ๑. การปลูก ได้แก่ ถั่วพู บวบเหลี่ยม หอม พริก มะเขือ ถั่วพุ่ม
    ๒. ไม้ผลและไม้ยืนต้น ได้แก่ มะพร้าว มะละกอ ไผ่ตง กระท้อน
    ๓. การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง ไก่งวง

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
    ๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๓,๓๖๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
    ๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๑ งวด เป็นเงิน ๑,๗๑๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
    ๒. แป้งถั่วเหลืองพระราชทาน ๗ กระสอบ
    ๓. น้ำตาลทราย ๑๔๐ กิโลกรัม
    ๔.เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๙๘)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๕)