ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์

หมู่ที่ ๖ บ้านบาตูปูเต๊ะ ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๒๖ โดยนายมามะ ปูลา ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับราษฎร ทำหนังสือถึงผู้ปกครองนิคมสร้างตนเองธารโต เพื่อให้ติดต่อครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาทำการสอน ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๙ จึงส่งครูเข้ามาทำการสอน จำนวน ๓ นาย
วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๒๗ ชมรมอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ออกค่ายอาสาพัฒนาร่วมกับราษฎร ก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขนาด ๖ x ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง
วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๓๐ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔ ร่วมกับราษฎร จัดสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๖ x ๑๒ เมตร จำนวน ๑ หลัง
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๘ ไร่ ๒ งาน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะพื้นที่ทั่วไปเป็นภูเขา เขตรับผิดชอบของหมู่บ้านมี ๔ หมู่บ้าน คือ บ้านบาตูปูเต๊ะ, บ้านบาตูฮาปา, บ้านจาอาลี และบ้านไผ่แตก มีประชากรทั้งหมด ๓๙๓ คน ๑๕๗ ครัวเรือน ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม หมู่บ้านอยู่ห่างชายแดนประเทศมาเลเซีย ๓ กิโลเมตร ติดกับรัฐเคดาร์ ไม่มีเส้นทางเข้า - ออก

การคมนาคม
เส้นทางในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ห่างจากจังหวัดยะลา ๗๘ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ประชากรทั้งหมด ๓๙๓ คน เป็นชาย ๑๙๓ คน หญิง ๒๐๐ คน แยกได้ดังนี้
- บ้านบาตูปูเต๊ะ มีประชากร จำนวน ๒๒๖ คน
- บ้านบาตูฮาปา มีประชากร จำนวน ๕๖ คน
- บ้านจาเราะอาลี มีประชากร จำนวน ๘๘ คน
- บ้านไผ่แตก มีประชากร จำนวน ๒๓ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรประกอบอาชีพทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ รายได้เฉลี่ย ๑๕,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายยะพา ยุมอ
ผู้ใหญ่บ้าน นายมามะ ปูลา

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
ทิศเหนือ ติดต่อหมู่บ้านมายอ ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ๘๐% อีก ๒๐% นับถือศาสนาพุทธ ประชากรประกอบอาชีพทำสวนยางพารา สวนผลไม้
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่บ้านซาไก ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ๘๐% อีก ๒๐% นับถือศาสนาพุทธ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านเจาะซิโบ๊ะ ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม ๑๐๐%
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่บ้านไทยพัฒนา ประชากรนับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐% ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ผลไม้

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
ระบบน้ำดื่มน้ำใช้ในหมู่บ้านยังขาดแคลนในช่วงหน้าแล้ง ชาวบ้านต้องการระบบประปาภูเขาที่สมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี
- ต้องการพัฒนาระบบการศึกษา ให้มีการขยายโอกาสทางการศึกษา และต้องการโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในหมู่บ้าน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนิคมพิทักษ์ราษฎร์ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔ จังหวัดยะลา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านบาตูปูเต๊ะ, บาตูฮาปา, บ้านจาเราะอาลี และบ้านไผ่แตก ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารเรียน ชมรมอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
    ๒.อาคารเรียน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔ ร่วมกับราษฎร
    ๓.อาคารห้องสมุด, ห้องเด็กเล็ก ชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยราชมงคลเทคโนโลยีสงขลา
    ๔.อาคารโรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๔

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๙๕ คน เป็นชาย ๔๗ คน หญิง ๔๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. จ.ส.ต.นิกร ประเสริฐสวัสดิ์
    คบ.
    บริหารทุกโครงการฯ
    ๒. ส.ต.อ.อาทิตย์ อินทไชย
    ปวช.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๓. ส.ต.ท.วิเชียร พงษ์สะพัง
    ปวช.
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๔. ส.ต.ท.เรวัฒิ เจริญผล
    ม.๖
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๕. ส.ต.ท.สุนทร มาเอียด
    ม.๖
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กฯ
    ๖. ส.ต.ต.ครรชิต มณี
    ปวส.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๗. ส.ต.ต.อำนวยวิทย์ รักษากิจ
    ม.๖
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๘. ส.ต.ต.พิสุทธิ์ หมื่นสิทธิ์
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๙. นางสาวรอสะน๊ะ กะโด
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็กเล็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๒
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    รวม
    ๔๗
    ๔๘
    ๙๕

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๑๗ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.พิสิทธิ์ หมื่นสิทธิ์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ เกษตรจังหวัดยะลา และเกษตรอำเภอธารโต
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร น้ำในลำคลอง
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูเวร นักเรียน และแม่บ้าน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๔๒
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๕๒๐ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมสด ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งหมดดื่มทุกวัน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๑๘.๐๐
    ๑๙.๑๕
    ๔๗.๘๗
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๘๕.๐๐
    ๙๐.๔๓
    ๙๐.๔๓
    ดีมาก
    ๒๗๑.๐๐
    ๒๘๘.๓๐
    ๒๘๘.๓๐
    ดีมาก
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๑๐.๐๐
    ๔.๘๔
    ๑๒.๐๙
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๑๘.๐๐
    ๕๗.๐๖
    ๕๗.๐๖
    ดี
    ๒๓๔.๐๐
    ๑๑๓.๑๕
    ๑๑๓.๑๕
    ดีมาก
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๓๔.๙๐
    ๒๐.๖๓
    ๕๑.๕๗
    ดี
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๑๗.๐๐
    ๖๙.๑๕
    ๖๙.๑๕
    ดี
    ๑๔๘.๐๐
    ๘๗.๔๗
    ๘๗.๔๗
    ดีมาก

    หมายเหต คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๑๓
    ๑๒
    ๓๓.๓๔
    ปรับปรุง

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๑
    ๑๕.๓๙
    ดี
    ประถม ๒
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๒
    ๔.๓๕
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๔
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๒
    ๑๒
    ๑๒
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๑
    ๑๑
    ๑๐
    ๙.๑๐
    ดีมาก
    รวม
    ๘๒
    ๘๒
    ๗๘
    ๔.๘๘
    ดีมาก

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๘
    แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
    นมผง ๑ งวด จำนวน ๔๔ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๗๐ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๗๐ กิโลกรัม
    นมผง ๑ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    นมผง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๖๔)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๒๒ ๒๕๔๑)