ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง ๑ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง ๑

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านภูต่าง ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
บ้านภูต่าง เป็นหมู่บ้านโครงการ "หมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - ลาว และหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง" อยู่ห่างจากบ้านห้วยไผ่ ๓ กิโลเมตร ในรัศมี ๘ กิโลเมตร ไม่มีโรงเรียนของการประถมศึกษาตั้งอยู่ มีเพียงแต่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้ง เท่านั้น ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ห่างออกไป ๓ กิโลเมตร ฉะนั้นเด็กนักเรียนบ้านภูต่างจึงต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้ง
พื้นที่ทั่วไปเป็นภูเขาสูงล้อมรอบและมีสิ่งกีดขวาง เช่น แม่น้ำ ลำห้วย เป็นปัญหาอุปสรรคแก่เด็กนักเรียน ในการเดินทางไปโรงเรียน บางครั้งเด็กนักเรียนได้รับอันตรายต่างๆ ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นจึงได้เขียนคำร้องไปยังสำนักงานการประถมศึกษา เพื่อขอให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่บ้านภูต่าง แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอยู่ในเขตความรับผิดชอบของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้ง
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ กก.ตชด.เขต ๖ (เดิม) ได้อนุมัติให้เปิดเป็นโรงเรียนสาขาขึ้น และตั้งชื่อว่า "โรงเรียน ตชด.ปจว.บ้านภูต่าง"
สภาพอาคารเรียน เป็นอาคารเรียนแบบกึ่งถาวร จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๕ x ๑๐ เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี ไม่มีฝาผนัง โต๊ะม้านั่งทำด้วยปีกไม้ การดำเนินการสอนในระยะแรกๆ เปิดทำการสอน ๒ ห้องเรียน คือ ชั้น ป.๑ - ป.๒ ขณะนั้นมีเด็กนักเรียน จำนวน ๓๕ คน เป็นชาย ๑๘ คน หญิง ๑๗ คน สำหรับชั้น ป.๓ - ป.๔ เห็นว่าสามารถช่วยตนเองได้แล้ว ก็ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้ง
ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับความเห็นชอบจากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยให้ชื่อว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนภูต่าง" สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนพัฒนาชนบทระดับจังหวัด (กชช.) ประจำปี ๒๕๓๓ เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ นายสุชัย - นางกุหลาบ ยอดโพธิ์ทอง ได้บริจาคเงินจำนวน ๒๗๐,๘๔๗ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร ขนาด ๗ ห้องเรียน โดยมอบให้ ผศ.วสันต์ พรหมบุญ หัวหน้าชมรมรวมน้ำใจสู่ชนบท วิทยาลัยจันทรเกษมร่วมกับคณะครูและประชาชนบ้านภูต่าง ร่วมกันก่อสร้าง
เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ บช.ตชด.อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านภูต่าง เป็น "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง ๑" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่นายสุชัย - นางกุหลาบ ยอดโพธิ์ทอง ผู้ซึ่งบริจาคเงินสร้างอาคารเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่

ข้อมูลหมู่บ้านภูต่าง
ตั้งอยู่หมู่ ๑๐ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
บ้านภูต่าง เป็นหมู่บ้านที่ก่อตั้งมานานประมาณ ๖๐ ปีแล้ว มีราษฎรจากบ้านห้วยไผ่ และบ้านบ่อเบี้ยอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่เรียกว่าบ้านภูต่าง ซึ่งเป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ก่อนปี พ.ศ.๒๕๓๓ หมู่บ้านภูต่างขึ้นกับหมู่ที่ ๒ บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อมาทางอำเภอบ้านโคกได้รับอนุมัติจากจังหวัดให้แยกบ้านภูต่างออกจากบ้านห้วยไผ่
หมู่บ้านภูต่างห่างจากอำเภอ จึงได้จัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดนไทย - ลาว และหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านปางคอม ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านเด่นชาติ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

จำนวนประชากร
ปัจจุบันหมู่บ้านภูต่าง มีราษฎรอาศัย ๕๕ ครอบครัว ประชากร ๒๓๐ คน เป็นชาย ๑๑๖ คน หญิง ๑๑๔ คน ใช้ภาษาไทยท้องถิ่น มีสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ

สภาพทางเศรษฐกิจ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร (ทำไร่ข้าวโพด, ถั่ว และปลูกข้าว) ฐานะความเป็นอยู่ยากจน

การคมนาคม
หมู่บ้านภูต่าง อยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกประมาณ ๒๗๘ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง และห่างจากจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ ๑๘๐ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง

ผู้นำหมู่บ้าน
๑. นายสมภาร ดีป้อง กำนันตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
๒. นายสิน ยะมา ผู้ใหญ่บ้านภูต่าง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนยอดโพธิ์ทอง ๑ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑ จังหวัดพิษณุโลก
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม ของทุกปี
  • ภาคเรียนที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม ของทุกปี

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ) อาคารเรียน ขนาด ๘x๔๒ เมตร จำนวน ๗ ห้องเรียน คุณสุชัย ยอดโพธิ์ทอง โดยชมรมรวมน้ำใจสู่ชนบท สถาบันราชภัฏ
    จันทรเกษมเป็นผู้ดำเนินการ วงเงินในการก่อสร้าง ๒๗๐,๘๔๗ บาท
    ) อาคารโรงอาหาร ขนาด ๕.๕x๑๒ เมตร (เป็นอาคารเรียนเก่า ปัจจุบันปรับปรุง เป็นโรงอาหาร และห้องเรียนชั้นอนุบาล) ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ จำนวน๓๐,๐๐๐ บาท
    และงบซ่อมแซม (กชช.ปี ๒๕๓๓ จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท ปี ๒๕๓๖
    จำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท)
    ) อาคารห้องสมุด ขนาด ๓x๖ เมตร จำนวน ๑ ๑ หลัง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างจากกลุ่มเพื่อเด็กกรุงเทพฯ
    วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ ๒๕,๐๐๐ บาท
    ๔) อาคารสหกรณ์ร้านค้า ขนาด ๕x๙ เมตร จำนวน ๑ หลัง ได้รับงบประมาณการก่อสร้างจาก กก.ตชด.๓๑ และวิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท
    ๕) บ้านพักครู ขนาด ๕x๑๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง ได้รับงบประมาณการก่อสร้างจาก กก.ตชด.๓๑ งบซ่อมแซมอาคารเรียน ปี ๒๕๓๖ และผลกำไรจากสหกรณ์ร้านค้าของ ร.ร.ชด.ยอดโพธิ์ทอง ๑ วงเงินในการก่อสร้างประมาณ ๓๒,๐๐๐ บาท
    ๖) ห้องน้ำ-ห้องส้วม ขนาด ๒x๓ เมตร จำนวน ๑ หลัง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้าง จาก กก.ตชด.๓๑ วงเงินประมาณ ๔,๐๐๐ บาท
    ) ถังเก็บน้ำ แบบปูนซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง ๒ เมตร สูง ๒.๔ เมตร จำนวน ๔ ถัง ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าก่อสร้างจากคณะมิตร ประชา ทหารอากาศ ๐๑ บางซื่อ กรุงเทพฯ วงเงินก่อสร้างประมาณ ๖๖,๕๕๐ บาท

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๕๒ คน เป็นชาย ๒๕ คน หญิง ๒๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบ
    ๑. ส.ต.อ.วานิช ปั้นหยวก
    คบ.
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.อ.วสันต์ ครุฑเงิน
    คบ.
    ครูประจำชั้น
    ๓. ส.ต.ต.นภดล แปลงเรือน
    ปวส.
    ครูประจำชั้น
    ๔. ส.ต.ต.ประชัน เชื้อสะอาด
    ศศบ
    ครูประจำชั้น
    ๕. ส.ต.ต.อนันต์ พรหมรักษา
    ม.๖
    ครูประจำชั้น
    ๖. ส.ต.ต.วีระพันธ์ วงศ์น้ำโจ้
    ปวส.
    ครูประจำชั้น
    ๗. ส.ต.ต.ณรงค์ สิทธิ
    ม.๖
    ครูประจำชั้น
    ๘. นางจีระนันท์ แปลงเรือน
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็กเล็ก
    ๙. นางสาวมีนตรา ชนะมา
    ป.๖
    ผู้ดูแลเด็กเล็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๒๕
    ๒๗
    ๕๒

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๐.๐๐ ๑๔.๐๐ ๕๘.๐๐ ๔๗.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๔.๙๕ ๑๙.๒๓ ๗๙.๖๗ ๖๔.๕๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๓๗.๓๖ ๗๖.๙๒ ๗๙.๖๗ ๖๔.๕๖
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดี
    มิถุนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๖.๐๐ ๒๖.๐๐ ๙๘.๐๐ ๙๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๘.๙๕ ๒๒.๗๓ ๘๕.๖๖ ๘๑.๒๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๒๒.๓๘ ๙๐.๙๑ ๘๕.๖๖ ๘๑.๒๙
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๙.๐๐ ๓๒.๐๐ ๘๓.๐๐ ๘๙.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๔.๘๗ ๒๙.๓๐ ๗๖.๐๑ ๘๑.๕๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๑๒.๑๘ ๑๑๗.๒๒ ๗๖.๐๑ ๘๑.๕๐
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๓.๐๐ ๓๔.๐๐ ๗๐.๐๐ ๗๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๑.๗๓ ๓๒.๖๙ ๖๗.๓๑ ๗๐.๑๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๗๙.๓๓ ๑๓๐.๗๗ ๖๗.๓๑ ๗๐.๑๙
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดี ดี
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๑.๖๕ ๓๒.๐๐ ๗๒.๐๐ ๗๑.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๘.๙๒ ๒๗.๙๗ ๖๒.๙๔ ๖๒.๐๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๗.๓๑ ๑๑๑.๘๙ ๖๒.๙๔ ๖๒.๐๖
      ประเมินผล พอใช้ ดีมาก ดี ดี

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๒
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๒
    ๗.๖๙
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๓๙
    ๓๙
    ๓๙
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๐ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๐ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๘๙)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๔๒)