ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย ข้อมูลนักเรียน
ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย

หมู่ที่ ๗ ตำบลตะกุกเหนือ กิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๑ จำนวน ๒ ชั้นเรียน คือชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ มีนักเรียน จำนวน ๓๐ คน ครู จำนวน ๓ นาย โดยประชาชนได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนขนาด ๖ x ๓๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง โดยใช้งบประมาณกองทุนหมู่บ้านและชนบทจำนวน ๗๕,๐๐๐ บาท เนื้อที่จำนวน ๒๕ ไร่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวายครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
ปัจจุบันได้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ จำนวน ๖ ห้องเรียน มีครูจำนวน ๑๐ นาย โดยมี จ.ส.ต.เกษม แก้วสะอาด ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ มีนักเรียน ๑๕๘ คน หญิง ๗๖ คน
สภาพอาคารในปัจจุบัน คณะครูและผู้ปกครองได้ช่วยกันก่อสร้างห้องสมุด ร้านค้าสหกรณ์ ห้องเรียนชั้นประถมปีที่ ๕ และ ๖ ห้องพยาบาล และโรงอาหารเพิ่มเติมทำให้บรรเทาความเดือดร้อนของเด็กนักเรียนซึ่งมีห้องเรียนไม่เพียงพอ ส่วนการคมนาคมจะสะดวกขึ้นกว่าเดิมแต่จะมีฝุ่นมากในฤดูแล้งและเข้าลำบากในฤดูฝนเนื่องจากถนนยังเป็นดินลูกรัง

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคลองวาย สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร
โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๖ ห้องเรียน ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน
เขตบริการการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันมี ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านคลองวาย, บ้านคลองใส และบ้านเทพนิมิตร

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๐ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด ๑๕๖ คน เป็นชาย ๘๑ คน หญิง ๗๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน ๑๐ นาย

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ระดับชั้น
ชาย
หญิง
รวม
ประถมศึกษาปีที่ ๑
๒๒
๑๐
๓๒
ประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๒
๑๖
๒๘
ประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๒
๑๙
ประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๔
๑๘
๓๒
ประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๔
๑๐
๒๔
ประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
๒๑
รวม
๘๑
๗๕
๑๕๖

ผลการดำเนินโครงการ
ผลผลิตทางการเกษตร

 ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑ มีหน่วยงานสนับสนุนเข้าไปดำเนินการ คือ สำนักงานเกษตรอำเภอ ๓ ครั้ง และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ๒ ครั้ง
 ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาที่แล้ว โดยทางโรงเรียนได้ปลูกพืชผักหมุนเวียนในแปลง และกำลังดำเนินการจัดหาที่ดินใกล้แหล่งน้ำ เพื่อจะนำมาใช้ทำแปลงเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป
 การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ได้ดำเนินการเลี้ยงหมู พันธุ์ผสมลูกพื้นเมือง จำนวน ๓ ตัว และเลี้ยงไก่ไข่จำนวน ๕๐ ตัว ทั้งสองอย่างไม่มีการเสียชีวิตแต่อย่างใด

วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน  - มีการประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันครบ ๕ มื้อ
 - มีการจัดทำเมนูอาหารโดยเคหกิจเกษตรร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน
 - มีผู้ปกครองจัดเวรมาประกอบอาหาร
 -ปริมาณโดยเฉลี่ยของ (เนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้, ถั่วเมล็ดแห้ง) ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ต่อมื้อต่อคน ต่ำกว่าเกณฑ์
 - สาเหตุที่ประกอบเลี้ยง (เนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้, ถั่วเล็ดแห้ง) ต่ำกว่าเกณฑ์เพราะ พื้นที่ในการเกษตรน้อยและโรงเรียนได้แก้ปัญหาโดยการจัดซื้อ

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็กและเด็กประถม
 ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
  - นักเรียนที่มีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติเฉลี่ยจำนวน ๑๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๒๕
  -นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยเฉลี่ยจำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๒๙
  - นักเรียนที่มีน้ำหนักมากและค่อนข้างมากเฉลี่ย จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๔๖

อัตราการมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็กและประถม
 ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
  - มีนักเรียนที่มีส่วนสูงในเกณฑ์ปกติเฉลรายจำนวน ๑๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๑.๕๓
  - มีนักเรียนที่เตี้ยและค่อนข้างเตี้ยจำนวน ๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๕๖
  - มีนักเรียนที่สูงและค่อนข้างสูงจำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๑

อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนประถมศึกษา
 ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
  - ไม่มีนักเรียนป่วยเป็นคอพอก
  - ภาวะคอพอก ลดลงจากปี ๒๕๔๐เนื่องจากท่างโรงเรียนได้ให้นักเรียนดื่มน้ำผสมสารไอโอดีนทุกวันและได้จัดซื้อ
  - อาการทะแลมาประกอบอาหารเพิ่มเติม
  - การเจ็บป่วยของนักเรียน (โรคท้องร่วง และหวัด) ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
  - เดือนกรกฏาคม ๒๕๔๕ มีนักเรียนป่วยด้วยโรคท้องร่วงและหวัดมากที่สุด เนื่องจากอากาศแปรปรวนตลอดเวลา

อัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิ
 ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑ ได้ตรวจโรคหนอนพยาธิของรักเรียนจำนวน ๑๓๕ คน มีนักเรียนที่ตรวจพบโรคหนองพยาธิ จำนวน ๒๒ คน ได้ให้การรักษาโดยการให้ยาเม็ดแอลเบนดาโซล จากโรงพยาบาลพุนพิน


ตารางแสดงการตรวจโรคหนอนพยาธิของนักเรียน
จำนวน(คน)
ป.๑
ป.๒
ป.๓
ป.๔
ป.๕
ป.๖
รวม
นักเรียนที่ตรวจ
๒๖
๒๒
๑๙
๒๘
๒๐
๒๐
๑๓๕
นักเรียนที่ตรวจพบพยาธิ
๒๒
คิดเป็นร้อยละ
๖.๕
๗.๓๓
๙.๕๐
๕.๖๐
๒๐.๐๐
๒๐.๐๐
๖.๑๔

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๕)
(ใต้ ท๑ ส๖๕๒๕๔ ๒๕๔๖)