ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสำนักเอาะข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสำนักเอาะ

หมู่ที่ ๕ บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๑๘ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้บุตรหลานอ่านออกเขียนได้ ก่อนนั้นเด็กในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนมหิดล บ้านสวนชาม หมู่ที่ ๒ ระยะทาง ๔ กิโลเมตร ในช่วงฤดูฝนมีน้ำมากเด็กต้องข้ามลำธารถึง ๕ แห่ง ผู้ปกครองต้องเสียเวลาในการรับส่ง และผลการเรียนของเด็กไม่ดีเท่าที่ควร เพราะนักเรียนบางคนต้องขาดเรียน ดังนั้นประชาชนในหมู่บ้าน โดยแกนนำของ ผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๙ (ในขณะนั้น) ขอสนับสนุนครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปทำการสอน และผู้ปกครองได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง โดยมีผู้บริจาคที่ดิน วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๑ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนและติดตามผลโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๗ ไร่ ๒ งาน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะทั่วไปของหมู่บ้านเป็นสวนยางพารา และสวนไม้ผล

อาณาเขต
  • ทิศเหนือ   ติดต่อ บ้านสวนชาม หมู่ที่ ๒ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย
  • ทิศใต้   ติดต่อ ประเทศมาเลเซีย
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อ บ้านน้ำเชี่ยว หมู่ที่ ๔ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย
  • ทิศตะวันตก  ติดต่อ ประเทศมาเลเซีย

  • การคมนาคม
    ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอสะบ้าย้อย ๓๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ๓.๕ กิโลเมตร ถนนลาดยาง ๑๖.๕ กิโลเมตร

    จำนวนประชากร
    ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด ๑,๒๐๕ คน เป็นชาย ๕๔๒ คน หญิง ๖๖๓ คน แยกเป็น ๒๔๙ ครัวเรือน

    การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
    ประชากรทั้งหมดประกอบอาชีพการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๔๘,๐๐๐ บาท/ปี

    ผู้นำหมู่บ้าน
    กำนัน  นายสวาท นวลไชย
    ผู้ใหญ่บ้าน  นายชัย แก้วประถม

    ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสำนักเอาะ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ จังหวัดสงขลา
    โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอน ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๙ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • จำนวนครู และนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๘๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน จำนวน ๓๕๑ คน เป็นชาย ๑๗๖ คน หญิง ๑๗๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๒ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๔ คน

    ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ – สกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ร.ต.ท.วิศิลป์ ทองฤทธิ์ ค.บ. ครูใหญ่
    ๒. ด.ต.ชัชวาลย์ ยกกระบัตร ม.๖ ผู้ช่วยครูใหญ่
    ๓. ด.ต.สุชาติ สมถวิล อ.วท. ครูผู้สอน
    ๔. จ.ส.ต.อร่าม บีลา คบ. ครูผู้สอน
    ๕. จ.ส.ต.พิณ สุวรรณรัตน์ อ.ศศ. ครูผู้สอน
    ๖. จ.ส.ต.จรงค์ โสภากุล ม.๖ ครูผู้สอน
    ๗. จ.ส.ต.ประกอบ มุสิกพงษ์ ม.ศ.๕ ครูผู้สอน
    ๘. จ.ส.ต.สันติภาพ ลักษณะเลขา ม.ศ.๓ ครูผู้สอน
    ๙. ส.ต.ต.นิคม  มะลิวัลย์ ปวส. ครูผู้สอน
    ๑๐. ส.ต.ต.สมพจน์ เหมือนแป้น ม.๖ ครูผู้สอน
    ๑๑. ส.ต.ต.พยุงศักดิ์ พลชำนาญ ม.๖ ครูผู้สอน
    ๑๒.  พลฯ สำรองพิเศษ หญิง ฉลวย ลักษณะเลขา ม.๖ ครูผู้สอน
    ๑๓.  นางเทียบ พัดคง ม.ศ.๕ ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๔.  นางพิมพ์ณรา โสภากุล ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๕.  นางสาวมณฑา ติ้งประสม ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๖.  นางสาวกิริยา ภารกิจโกศล คบ. ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๔๐
    ๔๔
    ๘๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๔
    ๑๖
    ๔๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๔
    ๒๙
    ๕๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๒
    ๑๘
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๙
    ๒๒
    ๔๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๒๖
    ๒๒
    ๔๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    ๒๔
    ๓๕
    รวม
    ๑๗๖
    ๑๗๕
    ๓๕๑

    การดำเนินโครงการ
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ด.ต.สุชาติ สมถวิล, ส.ต.ต.นิคม มะลิวัลย์, ส.ต.ต.พยุงศักดิ์ พลชำนาญ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานเกษตรอำเภอสะบ้าย้อย, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสะบ้าย้อย,วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา และวิทยาลัยประมงติสูลานนท์
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูและผู้ปกครองนักเรียน
  • การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๕๖
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมพระราชทาน ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จำนวน ๖๕๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จำนวน ๔๙๐ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย จำนวน ๔๙๐ กิโลกรัม
  • การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    ๑. นักเรียนที่มีน้ำหนักปกติให้ดื่มนมวันละ ๒ แก้ว ทุกวันเว้นวันพุธให้ดื่ม ๑ แก้ว
    ๒. นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ดื่มทุกวันๆ ละ ๒ แก้ว
    ๓. นักเรียนไทยมุสลิมที่ถือศีลอด ดื่มนมทุกวันๆ ละ ๒ แก้ว ไม่เว้นวันหยุดในช่วงที่ถือศีลอดเป็น เวลา ๑ เดือน

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๘๔
    ๗๙
    ๗๖
    ๕.๐๖
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๔๐
    ๓๗
    ๓๖
    ๒.๗๐
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๕๓
    ๕๐
    ๔๙
    ๒.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๕๐
    ๔๙
    ๔๘
    ๒.๐๔
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๔๑
    ๔๑
    ๔๐
    ๒.๔๔
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๔๘
    ๔๘
    ๔๘
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๓๕
    ๓๕
    ๓๓
    ๕.๗๑
    ดีมาก
    รวม
    ๒๖๗
    ๒๖๐
    ๒๕๔
    ๓.๐๘
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๖๐)