ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าข้าม ข้อมูลนักเรียน
ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าข้าม

หมู่ที่ ๖ บ้านท่าข้าม ตำบลนาควนหนองหงษ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีพระครูภิญโญ เตชะบุญโต พระครูพิบูลย์ วิริยะคูณ และนายชื่น วิบูลย์กาญจน์ พร้อมด้วยราษฎรในหมู่บ้าน ร่วมกันทำหนังสือขอจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๘ (ขณะนั้น) โดยราษฎรในพื้นที่ได้ร่วมกันจัดหาพื้นที่ป่าสงวนสำหรับก่อตั้งและ ร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราขึ้น ๑ หลัง มี ๒ ห้องเรียน เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘ โดยเปิดสอน ๒ ชั้นเรียน
ปีการศึกษา ๒๕๒๙ ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และชมรมนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคภาพใต้ จังหวัดสงขลา ได้เข้ามาสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง จำนวน ๔ห้องเรียน
ปีการศึกษา ๒๕๓๐ - -๒๕๓๑ ได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ปีการศึกษา ๒๕๓๒ โรงเรียนเปิดรับนักเรียนก่อนวัยเรียน และครูช่วยสอน ๑ คน
ปีการศึกษา ๒๕๓๕ ชุดสันตินิมิตร มว.ตชด.๔๒ ร่วมกับราษฎรในพื้นที่จัดสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๔ x ๑๔ เมตร
ปีการศึกษา ๒๕๓๖ กก.ตชด.๔๒ ได้สร้างอาคารเรียนให้อีก ๑ หลัง ขนาด ๗ x ๓๕ เมตร จำนวน ๕ ห้องเรียน
วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และทอดพระเนตรงานในโครงการตามพระราชดำริ
ปีการศึกษา ๒๕๔๑ โรงเรียนได้โอนจากสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
ปีการศึกษา ๒๕๔๒ โรงเรียนได้รับอนุญาตเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๖ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าข้าม สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอชะอวด สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ปัจจุบันเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
เขตบริการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันมี ๓ หมู่บ้าน คือ บ้านท่าข้าม บ้านคลองลางแซะ ตำบลเขาพระทอง และบ้านในอ่าว ตำบลหมอบุญ

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ปัจจุบันมีนักเรียน ๒๔๖ คน เป็นชาย ๑๓๖ คน หญิง ๑๑๐ คน ครูรับจ้าง ๔ คน นักการภารโรง ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๕
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๖
๑๐
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๓
๑๓
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๕
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
๑๔
๒๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๒๒
๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๓
๑๘
๓๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๘
๑๘
๓๖
รวม
๙๔
๗๓
๑๗๗
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
๑๑
๑๙
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๑๑
๑๔
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
๑๒
๒๐
รวม
๒๖
๒๗
๕๓
รวมทั้งหมด
๑๓๖
๑๑๐
๒๔๖

ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน
- นักเรียนน้ำหนักเกณฑ์ปกติ จำนวน ๑๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๔
- นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยเฉลี่ย จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๓๐
- นักเรียนที่มีน้ำหนักมากและค่อนข้างมากเฉลี่ย จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๓
- นักเรียนที่มีส่วนสูงในเกณฑ์ปกติเฉลี่ย จำนวน ๒๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๓
- นักเรียนที่เตี้ยและค่อนข้างเตี้ยเฉลี่ย จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๔๗
สาเหตุที่นักเรียนมีความสูงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ยเพราะกรรมพันธุ์

ผลการดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

วัตถุประสงค์ที่ ๑ ลดระดับความรุนแรงของปัญหาการขาดสารอาหารและโรคติดต่อที่สำคัญของเด็กผลผลิตทางการเกษตร
ผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนแต่ละประเภทไม่ได้เกณฑ์ เพราะ
๑. ได้รับเงินงบประมาณจากทางราชการในการประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันและอาหารเสริม
๒. ขาดแคลนน้ำใช้ทางการเกษตรของโรงเรียนในช่วงฤดูแล้ง

วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน

  • มีการประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันครบ ๕ มื้อ
  • มีการจัดทำเมนูอาหาร โดยครูเวรประจำวัน และมีผู้ปกครองจัดเวรมาประกอบ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็กและเด็กประถม

    ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑

  • มีนักเรียนที่มีน้ำหนักในเกณฑ์ปกติเฉลี่ย จำนวน ๑๙๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘๔

  • มีนักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยและค่อนข้างน้อยเฉลี่ย ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๓๐

  • มีนักเรียนที่มีน้ำหนักมากและค่อนข้างมากเฉลี่ยจำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๗๓

  • อัตราการมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็กเล็กและเด็กประถม
    ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑

  • มีนักเรียนที่มีส่วนสูงในเกณฑ์ปกติเฉลี่ย จำนวน ๒๒๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๕๓

  • มีนักเรียนที่เตี้ยและค่อนข้างเตี้ยเฉลี่ จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๔๗

  • คอพอกในเด็กนักเรียนประถมศึกษา
    ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
    ไม่มีนักเรียนป่วยเป็นภาวะคอพอก
    อัตราการป่วยด้วยโรคเชื้อในเด็กนักเรียน

    ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑
    ในเดือนมิถุนายน มีนักเรียนป่วยด้วยโรคหวัดมากที่สุด เนื่องจากฤดูกาลเปลี่ยน และเดือนกันยายนมีนักเรียนป่วยด้วยโรคท้องร่วงมากที่สุด เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ

    การตรวจโลหิตเชื้อมาลาเรีย
    ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ภาคเรียนที่ ๑ ตรวจโลหิตหาเชื้อมาลาเรียแก่ประชาชนในเขตบริการจำนวน ๑ ครั้ง มีประชากรเข้ารับการตรวจ ๗๐ คน ไม่พบเชื้อมาลาเรีย


    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๕)
    (ใต้. ท๑ ส๖๕๒๕๔ ๒๕๔๖)