ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวังระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง

หมู่ที่ ๒ บ้านเขาวัง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประชาชนบ้านเขาวังได้ทำหนังสือร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒ จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เนื่องจากเยาวชนบ้านเขาวังต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านปลายราง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งมีระยะทาง ๑๐ - ๑๔ กิโลเมตร โดยต้องเดินเท้าไปเรียน ซึ่งในช่วงฤดูฝนไม่สามารถไปเรียนได้
กองกำกับฯ จึงได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจข้อมูล และทราบว่าราษฎรเดือดร้อนจริง จึงได้ประสานงานกับส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการจัดตั้ง
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๘ ไร่

ความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ นายยุหาญ บุญพล ราษฎรจากบ้านท่าซัก หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าซัก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เข้าไปทำสวนและอยู่อาศัยที่บ้านเขาวัง ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มากเหมาะแก่การเกษตร หลังจากได้เดินทางกลับบ้านที่ท่าซักไปชักชวนเครือญาติและเพื่อนๆ เข้ามาอาศัยทำมาหากินที่บ้านเขาวัง เมื่อมีผลผลิตได้นำมาจำหน่ายที่ตลาดไม้หลา ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ โดยขนส่งทางเท้าเนื่องจากไม่มีถนนต้องเดินผ่านถ้ำ ต่อมามีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้น จึงได้ร่วมกันบริจาคเงินซื้อที่ดินสำหรับจัดทำถนน และร่วมกันพัฒนาเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินเท้า และรถจักรยานยนต์
ปัจจุบันสามารถใช้รถยนต์บรรทุกผลผลิตออกไปจำหน่ายได้ในฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนไม่สามารถใช้รถยนต์ได้เพราะถนนสูงชัน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะทั่วไปเป็นราบสูงมีภูเขาสลับซับซ้อน
อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอลานสกา
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านปลายราง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านถลุงทอง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์
ทิศตะวันตก ติดต่อ อำเภอลานสกา

การคมนาคม
มีเส้นทางการคมนาคมเพียงเส้นทางเดียว ถนนลูกรังไม่ได้อัดแน่น ประชาชนร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อใช้ลำเลียง ผลผลิต ซึ่งฤดูฝนใช้การไม่ได้ดี จะถูกกระแสน้ำไหลผ่านทำให้ถนนชำรุด

จำนวนประชากร
มีประชากร จำนวน ๑๒๐ ครอบครัว เป็นชาย ๒๙๘ คน หญิง ๒๖๕ คน รวม ๕๖๓ คน

ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ ๙๘% อีก ๒% นับถือศาสนาพุทธ

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เช่น สวนผลไม้ มะนาว ยางพารา มีรายได้เฉลี่ยปีละประมาณ ๗,๐๐๐ บาท/ครอบครัว

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายเฉลิม กรดแก้ว
ผู้ใหญ่บ้าน นายวิจิตร เพชรสิทธิ์

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒ จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนเปิดทำการสอนปี พ.ศ.๒๕๓๙ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ชั่วคราว ๑ หลัง ราษฎรบ้านเขาวัง
    ๒. โรงอาหารและโรงครัว ๑ หลัง ราษฎรบ้านเขาวัง
    ๓. ห้องส้วม จำนวน ๓ หลัง ราษฎรบ้านเขาวังและ กก.ตชด.๔๒
    ๔. โรงเห็ด ๑ หลัง วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
    ๕. บ่อเลี้ยงปลา ๒ บ่อ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
    ๖. โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ๑ หลัง วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
    ๗. บ้านพักครูกึ่งถาวร ๓ หลัง ราษฎรบ้านเขาวัง

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๖๘ คน เป็นชาย ๓๙ คน หญิง ๒๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ด.ต.โชคชัย สมัครแก้ว
    คบ.
    ส่งเสริมคุณภาพการศึกษา, อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ
    ๒. จ.ส.ต.สมบูรณ์ สงวนคำ
    คบ.
    ควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน, ส่งเสริมภาวะโภชนาการฯ
    ๓. ส.ต.อ.ชัชพงศ์ ขวัญคีรี
    ม.ศ.๕
    เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน, ฝึกอาชีพ,
    นักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๔. ส.ต.ต.สวัสดิ์ วงษ์ขันธ์
    ม.๖
    ส่งเสริมสหกรณ์, อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติฯ,
    เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๕. ส.ต.ต.นพรัตน์ อินทรนก
    ม.๖
    เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. พลฯ สมพงษ์ ไชยสุวรรณ
    อ.วท.
    เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และหญ้าแฝก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๗
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    รวม
    ๓๙
    ๓๙
    ๖๘

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปน ี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.ชัชพงศ์ ขวัญคีรี, ส.ต.ต.สวัสดิ์ วงค์ขันธ์, ส.ต.ต.นพรัตน์ อินทรนก
    และพลฯ สมพงษ์ ไชยสุวรรณ
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการโรงเรียน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ปศุสัตว์อำเภอร่อนพิบูลย์ ประมง
    อำเภอร่อนพิบูลย์ ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดนครศรีธรรมราช
    และเกษตรอำเภอร่อนพิบูลย์
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ๒๕๔๐
    เดือน
    หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๑๐๕.๐๐
    ๗๓.๕๓
    ๑๘๓.๘๒
    ดีมาก
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๕๐.๐๐
    ๓๕.๐๑
    ๓๕.๐๑
    พอใช้
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๙๔.๓๕
    ๖๖.๐๗
    ๑๖๕.๑๘
    ดีมาก
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๕๐.๐๐
    ๓๕.๐๑
    ๓๕.๐๑
    พอใช้
    ๒๐.๐๐
    ๑๔.๐๑
    ๑๔.๐๑
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง
    การประกอบเลี้ยง ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ประชาชนและกลุ่มแม่บ้านเขาวัง
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๑ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริม ปี๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมผง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๒๐ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสดยูเฮชที ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่มทุกวัน วันละ ๑ กล่อง/คน
    ๒. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๖
    ๒๖
    ๑๔
    ๑๒
    -
    -
    ๒๖
    ๔๖.๑๕
    ปรับปรุง

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๑
    ๓๑.๒๕
    ปรับปรุง
    ประถม ๒
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๔
    ๑๗.๖๔
    ดี
    ประถม ๓
    ๑๑.๑๑
    ดี
    รวม
    ๔๒
    ๔๒
    ๓๓
    ๒๑.๔๓
    พอใช้

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๓๑,๖๘๐ กล่อง
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๓)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)