ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่

หมู่ที่ ๔, ๗ บ้านหนองดู่ ตำบลนาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
บ้านหนองดู่มี ๒ หมู่บ้าน จัดตั้งเมื่อ ๑ สิงกาคม ๒๕๒๓ เนื่องจากหมู่บ้านตั้งอยู่ไกลจากโรงเรียน ในสงกัด สปช. ราษฎรจึงทำหนังสือถึง ผกก.ตชด.เขต ๔ ขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียน และทางกองกำกับฯ จัดส่งครู เข้าไปทำการสอนครั้งแรก จำนวน ๘ นาย มี จ.ส.ต. วินัย ปัญญา เป็นครูใหญ่
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๕ ตารางวา

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองดู่ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระวเนชายแดนที่ ๒๓ จังหวัดสกลนคร
โรงเรียนเปิดทำการสอนคั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๕

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๗๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ปัจจุบัน มีนักเรียน ๒๐๐ คน เป็นชาย ๑๐๓ คน หญิง ๙๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๖
    ๒๔
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๐
    ๑๒
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๗
    ๑๓
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๑๐
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๑๘
    ๓๓
    รวม
    ๑๐๓
    ๙๗
    ๒๐๐

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๖๐ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๑๒ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต. เชิดศักดิ์ พิมยะมาตร
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือสำนักงานเกษตรอำเภอโพนสวรรค์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดพนม สำนักงานประมงจังหวัดนครพนม และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร บ่อน้ำในโรงเรียน และบ่อน้ำบาดาล
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม บ่อน้ำบาดาล
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ชาวบ้าน ครู, นักเรียน,
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๕
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และ
    ได้รับอาหารเสริมพระราชทาน คือแป้งถั่วเหลือง ๕๐ กระสอบ นมผง ๒๓๐ กระสอบ
    การให้อาหารเสริม จะให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ดื่มนมวันละ ๒ แก้ว และประกอบอาหารให้รับประทานตอนเย็นก่อนกลับบ้าน สำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักปกติให้ดื่มคนละ ๑ แก้ว ทุกวันทำการ

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๐
    ๕๐
    ๕๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๒
    ๓๒
    ๒๙
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๓๐
    ๓๐
    ๓๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๑๙
    ๑๙
    ๑๙
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๕
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๓๓
    ๓๓
    ๓๑
    ๒.๖๗
    ดีมาก
    รวม
    ๑๕๐
    ๑๕๐
    ๑๔๕
    ๓.๓๕
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.(๒๖)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘๒ ๒๕๔๔)