ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาหัวภู
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันหน่วยงานที่ดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาหัวภู

ตั้งอยู่ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๐ กก.ตชด.เขต ๔ แต่งตั้งให้ ส.ต.สุเทพ ศักดิลาภ ทำหน้าที่ครูใหญ่ ส.ต.ท.อุทัย บุรีภักดิ์ ทำหน้าที่ครูผู้สอน มีนักเรียนจำนวน ๓๑ คน เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เพียงชั้นเดียว ชาวบ้านบ้านนาหัวภูจึงได้ร่วมกันสร้างอาคารชั่วคราวให้โดยอาศัยที่ดินวัดบ้านนาหัวภู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้ย้ายอาคารเรียนชั่วคราวมาปลูกสร้างในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งนางสงวน บุรารัตน์ ได้ให้ความอนุเคราะห์มอบที่ดินให้เป็นสมบัติของโรงเรียน จำนวน ๑๒ ไร่ และได้ขยายชั้นเรียนออกไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปัจจุบันพื้นที่โรงเรียนทั้งหมด รวม ๒๐ ไร่
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้มีพระธรรมฑูต โดยการนำของพระพรมคุณพร เจ้าคณะภาค ๑๐ พระราชเมธี รองฯพระเทพรัตโมลี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม พระครูมงคลมุกดาหาร (เจ้าคณะจังหวัดมุกดาหารปัจจุบัน) พระครูอุดมธรรมรักษ์ รองฯ ได้ให้ความอนุเคราะห์ดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวร โดยมอบหมายให้พระครูอุดมธรรมรักษ์ รองฯ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง มีพระสงฆ์สามเณรร่วมกับช่างของกองร้อย ๗ ตชด. เขต ๔ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหารและราษฎรบ้านนาหัวภูร่วมทำการก่อสร้างชั้นบน เสร็จเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๒๕ ในการดำเนินการก่อสร้างครั้งนี้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบ ดังนี้
๑. นายเฉิดศักดิ์ แสนวิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ขณะนั้น) บริจาคเป็นเงินจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท      (สามหมื่นบาทถ้วน)
๒. ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคขณะที่ คณะพระธรรมฑูตออกเทศตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นเงินจำนวน      ๑๗๒,๔๑๔ บาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสองพันสี่ร้อยสิบสี่บาทถ้วน)
๓. สภาตำบลนาโสกได้อนุมัติเงิน ก.ส.ช.จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างถังเก็บน้ำ      ฝนคอนกรีตขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สูง ๒ เมตร
๔. งบ กชช.ป ๒๕๓๔ สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๒๐ ซ.ม. สูง ๒ เมตร จำนวน ๓ ถัง      จำนวนนักเรียน ๘๔ คน เป็นชาย ๔๔ คน และเป็นหญิง ๔๐ คน รายละเอียดดังนี้

บ้านนาหัวภู
เป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลนาโสก หมู่ที่ ๙ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองมุกดาหาร ๒๑ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงมีภูเขาล้อมรอบ อาชีพทำนา ทำไร่ มีประชากร ๕๒ ครัวเรือน จำนวน ๓๖๕ คน ทำนา ๓๘ ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา ๒,๗๐๐ ไร่ ทำไร่ ๑๒ ครัวเรือน มีพื้นที่ทำไร่ ๑,๙๐๐ไร่ รับจ้างทั่วไป ๒ ครัวเรือน รายได้โดยเฉลี่ยต่อครัวเรือน ๘,๕๐๐ บาท/ปี การเลี้ยงสัตว์มีเฉพาะครัวเรือน ส่วนมากเลี้ยงไว้ใช้งาน
ข้อมูลทั่วไป
อำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นอำเภอข้อหนึ่งของจังหวัดมุกดาหารมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดอำเภอดงหลวง และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก จดอำเภอแคว้นใหญ่ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก จดอำเภอคำชะอี และอำเภอหนองสูง
ทิศใต้ จดอำเภอดอนตาล

พื้นที่ทั้งหมด
มีพื้นที่ทั้งหมด ๑,๒๓๕.๐๖๖ ตารางกิโลเมตร เกษตรกร ๑๒,๒๙๐ ครอบครัว เป็นสมาชิก
สหกรณ์ ๕,๐๖๔ คน ประกอบด้วยตำบลต่าง ๆ คือ ตำบลนาโสก ตำบลบ้านโคก ตำบลดงเย็น ตำบลผึ่งแดด ตำบลคำอาฮวน ตำบลโพนทราบ ตำบลทรายใหญ่ ตำบลนาสีวน ตำบลดงมอญ ตำบลกุดแข้ ตำบลคำป่าหลาย ตำบลศรีบุญเรือง และตำบลมุกดาหาร รวม ๑๒๔ หมู่บ้าน

จำนวนชั้นเรียน
ชาย
หญิง
รวม
ครูผู้สอน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๔
ส.ต.ท.บัณฑิต  ทัดไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
-
๑๔
ด.ต.รวม  ตีคลี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๔
จ.ส.ต.วิชวน  ฉลูศรี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๗
ส.ต.อ.สมบูรณ์  คำวิโส
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๑
ส.ต.อ.สมศักดิ์  กุลบุตร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๔
ส.ต.อ.สิโรฒน์  สุวรรณพันธ์
รวม
๔๔
๔๐
๘๔
จ.ส.อ.วัชรินทร์  อินไชยา ครูใหญ่

รายชื่อครูทำการสอนที่โรงเรียน ตชด. บ้านนาหัวภูทั้งหมด จำนวน ๙ นาย ดังนี้
ชื่อ
ตำแหน่ง
๑. จ.ส.ต.วัชรินทร์  อินไชยา
ครูใหญ่
๒. ด.ต.รวม  ตีคลี
ผู้ช่วยครูใหญ่
๓. จ.ส.ต.วิชวน  ฉลูศรี
ครูผู้สอน
๔. ส.ต.อ.สมบูรณ์  คำวิโส
ครูผู้สอน
๕. ส.ต.อ.สมศักดิ์  กูลบุตร
ครูผู้สอน
๖. ส.ต.อ.ทรงพล  ชำนาญ
ครูผู้สอน
๗. ส.ต.ท.สิโรฒน์  สุวรรณพันธ์
ครูผู้สอน
๘. ส.ต.ท.บัณฑิต  ทัดไทย
ครูผู้สอน
๙. นายประยงค์  นาโสก
ครูช่วยสอน

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
-  ปล่อยปลา จำนวน ๕๐,๐๐๐ ตัว ลงในบ่อขนาด ๒๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร
-  เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน ๕๐ ตัว
-  เลี้ยงเป็ดเทศ จำนวน ๒๐ ตัว
-  การปลูกไม้ผล เช่น มะม่วงเขียวเสวย จำนวน ๒๐ ต้น
-  ปลูกสับปะรด จำนวน ๒ งาน
-  ทำสานผักกางมุ้ง ปลอดสารพิษ และยาฆ่าแมลง
-  เลี้ยงกบ
-  เพาะเห็ด
-  ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อประกอบอาหารกลางวันแก่นักเรียน

หน่วยงานที่ดำเนินการ
สำนักงานเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ประมง ปศุสัตว์อำเภอ

กิจกรรมร่วมกับโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ข้าราชการสำนักงานสหกรณ์อำเภอเมืองเข้าร่วมจัดกลุ่มเด็กนักเรียนในรูปกลุ่มสหกรณ์

กิจกรรมการเกษตร
ได้แบ่งกลุ่มเด็กนักเรียนปลูกผักคะน้า ผักชี ผักบุ้ง แต่ไม่ได้ผล เท่าที่ควรเพราะเป็นช่วงที่ดีเปรสชั่น พัดเข้ามุกดาหาร ฝนได้ชะเอาเมล็ดพืชไปเกือบหมด

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร. (๑๐๘)
(มห. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๓๖)