ประวัติโรงเรียนบ้านนาโสกเหล่าป่าเป้ด สาขานาหัวภู ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนบ้านนาโสกเหล่าป่าเป้ด สาขานาหัวภู

หมู่ที่ ๙ บ้านนาหัวภู ตำบลนาโสก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
เดิมเป็นโรงเรียน ตชด. ก่อตั้งเมื่อ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๒๐ โดยปลูกสร้างเป็นอาคารชั่วคราว ในพื้นที่วัดมีนักเรียน ๓๑ คน ต่อมามีผู้บริจาคที่ดินให้โรงเรียนจำนวน ๑๒ ไร่ จึงย้ายอาคารเรียนชั่วคราวมาปลูกสร้างเป็นอาคารเรียนถาวรในปัจจุบัน และได้รับการอนุเคราะห์จาก คณะพระธรรมฑูต โดยการนำของพระพรมคุณพร (เจ้าคณะภาค ๑๐) คณะบดีของ อำเภอมุกดาหาร (เดิม) ให้งบประมาณในการก่อสร้าง ซึ่งแล้วเสร็จ เมื่อ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๒๕ และนายสุวัชชัย ปทุมมา ให้งบประมาณในการต่อเติมชั้นล่าง/อุปกรณ์การเรียน
ต่อมาวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๑ มีการส่งมอบโอนโรงเรียนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๖.๑ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านนาโสกเหล่าป่าเป้ด สาขานาหัวภู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๕

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑ นาย ปัจจุบันมีนักเรียน ๗๓ คน เป็นชาย ๓๖ คน หญิง ๓๗ คน มีครู ๗ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๓๖
    ๓๗
    ๗๓

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๑๓ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ คณะครูในโรงเรียน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร, สำนักงานประมงจังหวัดมุกดาหาร และ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร หนองสาธารณะประโยชน์
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๕๓
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และ
    มีการให้อาหารเสริมทุกวันทำการวันละ ๒๐๐ ลบ.ชม/.คน

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่เกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    เด็กเล็ก
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๗
    ๐.๐๐

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประถม ๑
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๔
    ๑๕.๐๐
    ประถม ๒
    ๒๕.๐๐
    ประถม ๓
    ๐.๐๐
    ประถม ๔
    ๐.๐๐
    ประถม ๕
    ๐.๐๐
    ประถม ๖
    ๒๕.๐๐
    รวม
    ๕๒
    ๕๒
    ๔๓
    ๑๑.๕๒

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.(๒๖)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๘๒ ๒๕๔๔)