ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์

บ้านแสนคำลือ ตำบลสบป่อง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ เดิมชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๗๙ บ้านแสนคำลือ ตำบลสบป่อง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่อสอน อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๐ โดยเจ้าหน้าที่โครงการยูซ่อม ที่ประจำอยู่ที่ศูนย์พัฒนาชนบทบ้านแสนคำลือ ได้สอบถามราษฎรและทำการสำรวจเด็กที่จะเข้าเรียนในที่สุดจึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนขึ้น และได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๑๐ และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ (เดิม) จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๓ นาย มาทำการสอนและตั้งชื่อโรงเรียนว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๗๙ บ้านแสนคำลือ เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๕๑๐ ครูได้ร่วมกับราษฎรจัดทำโต๊ะ – ม้านั่งนักเรียน จำนวน ๕ ชุด และกระดานดำ ๑ แผ่น ในการเปิดเรียนครั้งแรกมีนักเรียน ๓๓ คน เป็น ชาย ๒๐ คน หญิง ๑๓ คน ต่อมาศูนย์พัฒนาชนบทบ้านแสนคำลือได้ย้ายออกไป อาคารเรียนก็ทรุดโทรมมาก ครูและราษฎรได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง ขนาด ๔ x ๑๐ เมตร หลังจากนั้นทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ (เดิม) ได้จัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมอาคารเรียนเป็นจำนวนเงิน ๖,๐๘๔ บาท เพื่อปลูกอาคารเรียน ๑ หลัง ขนาด ๔ x ๘ เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เมื่อ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ซึ่งได้รับงบบริจาคจากชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทย และแล้วเสร็จเมื่อเดือน กันยายน ๒๕๓๓ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ บ้านแสนคำลือ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชมรมอนุรักษ์พุทธศิลปไทยอนุสรณ์ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง - ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด - พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง - ๒๕๓๘

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

    สิ่งก่อสร้าง
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน งบ กชช.ปี ๓๑
    ๒. บ้านพักครู ครูร่วมกับราษฎร
    ๓. บ้านพักรับรอง ครูร่วมกับราษฎร
    ๔. ส้วม ครูร่วมกับราษฎร
    ๕. หอกระจายข่าว ครูร่วมกับราษฎร
    ๖. ห้องพัสดุ ครูร่วมกับราษฎร

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๙ คน เป็นชาย ๓๐ คน หญิง ๒๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒๓ นาย ครูพลเรือนช่วยสอน ๑ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครู
    ชื่อ - นามสกุล
    ทำหน้าที่
    ๑. ส.ต.ต.พฤกษ์ เวทย์สิทธิ์ ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ต.สุรศักดิ์ ทวีโชคชายชัย ครู
    ๓. ส.ต.ต.ไพสิฐ พุทธิมาล ครู
    ๔. นายสมรรถชัย คำฟู ครูพลเรือน

    ตารางแสงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ๑๐
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๑
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    -
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    -
    -
    รวม
    ๓๐
    ๒๙
    ๕๙

    โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ดำเนินการปลูกพืชผักสวนครัว และเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ สามารถนำผลผลิตมาประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนได้ ๔-๕ ครั้ง/สัปดาห์

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด เป็นเงิน ๒,๑๐๐ บาท
    ๓. ต้นพันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. โครงการเลี้ยงเป็ด ๑,๕๐๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑. เมล็ดพันธุ์พืช ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๗ กระสอบ
    ๓. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๔๐ กิโลกรัม
    ๔. โปรตีนผง ๓ งวด จำนวน ๒๖๑ กิโลกรัม
    ๕. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๔ กระสอบ
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๘๐ กระสอบ

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๘๐)
    (เหนือ ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๗)