ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ

หมู่ที่ ๕ บ้านเวียคาดี้ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (ขณะนั้น) ได้สั่งการให้หมวดตำรวจตระเวนชายแดน ๗๐๗ ทำการก่อสร้างอาคารชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่ที่บ้านชุแหละ โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอนุเคราะห์ที่ ๒
 ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๒ นายบรรเจิด - นางสวลี ชลวิจารณ์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงิน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารถาวร คณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้ย้ายมาทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขนาด ๔ ห้องเรียน ที่บ้านเวียคาดี้ โดยนายวรกิจ บัวจันทร์เหลือง ได้บริจาคที่ดินให้จำนวน ๔ ไร่ จึงดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๑๓
 เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีรับ - มอบและเปิดป้ายอาคารเรียน ทรงพระราชทานนามโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ"
 วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ นายถนอม หงษ์สุดา บริจาคเงินจำนวน ๓๕,๖๐๐ บาท สร้างอาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง
 วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ทำการรื้อถอนหลังเดิมและดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ขนาด ๖ ห้องเรียน ใช้งบประมาณก่อสร้างจำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท จากสหธนาคารกรุงเทพ
 วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๖ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยม และทรงติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริในโรงเรียน
 วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ฑ.ศ.๒๕๓๗ อำเภอสังขละบุรี ใช้งบประมาณโครงการพัฒนาจังหวัด จำนวน ๙๓,๗๕๐ บาท จัดสร้างโรงเลี้ยงไก่ ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๗ เมตร จำนวน ๑ หลัง
 วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด สร้างศูนย์เด็กเล็กขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง จำนวน ๑๙๔,๓๑๐ บาท
 วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ออกค่ายสร้างโรงอาหารขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง ใช้งบประมาณจำนวน ๑๒๓,๕๑๒ บาท
 โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่ ๓ งาน ๙๕ ตารางวา

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสหธนาคารกรุงเทพ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกาญจนบุรี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิดเรียนวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเรียนวันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๐ มีนาคม

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบัน มีนักเรียน ๓๐๑ คน เป็นชาย ๑๔๕ คน หญิง ๑๕๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๒ นาย ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน

    ตารางจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๕
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ก่อนประถมศึกษา
    ๔๒
    ๕๓
    ๙๕
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๓๙
    ๒๙
    ๖๘
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ๒๓
    ๓๖
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๑๔
    ๒๕
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๔
    ๑๗
    ๓๑
    ประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๘
    ๒๗
    ประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    ๑๙
    รวม
    ๑๔๕
    ๑๕๖
    ๓๐๑

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ คือ จ.ส.ต.สมพร สุเพ็ญศิลป์, ส.ต.ท. นักรบ ภูเมฆ และ ส.ต.ท.จักรกฤษ์ พลายเนาว์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติ
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาจากฝ่ายทดน้ำ
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยงครั้ง ๕ /สัปดาห์
    ผู้ประกอบการเลี้ยง คือ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๒๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๕
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ ในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๕ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นักเรียนทั้งหมด
    นักเรียนที่ตรวจ
    นักเรียนปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๔
    ๒๑
    ๒๐
    ๕.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นักเรียนทั้งหมด
    นักเรียนที่ตรวจ
    นักเรียนปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๖๖
    ๖๐
    ๔๙
    ๑๑
    ๑๘.๓๓
    ดี
    ประถม ๒
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๔
    ๒๐.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๓
    ๓๓
    ๒๙
    ๒๙
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๒๘
    ๒๗
    ๒๕
    ๗.๔๑
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๙
    ๑๙
    ๑๘
    ๕.๒๖
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๑๙๖
    ๑๘๕
    ๑๖๕
    ๒๐
    ๑๐.๘๑
    ดี

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๕๕)
    (กจ.ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๕)