banklongmali
bannumdeang
banbochaaom
bannongborn
banhangmeaw

ประวัติโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมวลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่

ประวัติโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว
โรงเรียนเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยทหารพรานนาวิกโยธินของจังหวัดจันบุรี เข้ามาทำการสอนเพื่อให้เด็กอ่านออกเขียนได้ และเพื่อผลทางจิตวิทยาเนื่องจาก ขณะนั้นหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านพื้นที่ดินสีชมพูเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจทหารชุดดังกล่าว ได้เดินทางกลับที่ตั้งปกติ โรงเรียนได้หยุดสอนถึง ปี ๒๕๒๕ ชุดสันตินิมิตร ๕๐๔ เข้ามาอีกครั้งหนึ่งเพื่อผลทางจิตวิทยา และต่อมาก็หยุดสอน เมื่อเสร็จภารกิจ ในช่วงนั้นเด็กต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนโคกวัดซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาแห่งชาติอยู่ห่างประมาณ ๕ กิโลเมตรการคมนาคมเป็นไปด้วย ความยากลำบากในฤดูฝน และไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เนื่องจากน้ำท่วมสูงจึง ได้จัดหาครูมาทำการสอนชื่อนางสาวทองสูข จำปามาช่วยสอน แต่ปีพ.ศ.๒๕๒๙ -๒๕๓๒ หลังจากนั้นได้หยุดทำการสอนเนื่องจากมีครอบครัวเด็กนักเรียนก็ต้อง เดินทางไปเรียนที่โรงเรียนโคกวัดเช่นเดิมอีกครั้งหนึ่งและอาคารเรียนของโรงเรียน ได้ถูกไฟไหม้เสียหายราษฎรได้ร่วมกันติดต่อ กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนเขต ๒ ในขณะนั้นเพื่อหาครูมาทดแทนแต่ยังจัดหาครูมาแทนไม่ได้ชาวบ้าน จึงช่วยกันสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นมาทดแทน วันที่ ๖ ส.ค. ๒๕๓๓ทางกอง กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนได้จัดส่งครูชด.เข้ามาทำการสอนจำนวน ๓ นายจนกระทั่ง ผช.ตชด.ได้มีคำสั่งขออนุมัติจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชาย แดนเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๔ มีนักเรียนเริ่มแรกจำนวน ๕๗ คนต่อมา
ในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับงบจัดสรรจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ก่อสร้างอาคารเรียนตามแบบ สปช. ๑๐๒ ขนาด ๓ ห้องเรียน พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง ดำเนินการก่อสร้างโดยชุดช่างของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านหางแมว และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๕
๑.ตำบลแก่งหางแมวมี๑๑หมู่บ้าน
๒.ตำบลขุนซ่องมี๑๑หมู่บ้าน
๓.ตำบลสามพี่น้องมีหมู่บ้าน
๔.ตำบลพวามีหมู่บ้าน
๕.ตำบลเขาวงกตมีหมู่บ้าน
มีนายประศาสน์ ประเสริฐยิ่ง ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอแก่งหางแมวคนแรกปัจจุบันนายสมหมายวิเชียรฉันทร์ ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอและจัดตั้งเป็นอำเภอแก่งหางแมวเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๘
ประชากร เป็นชาย ๑๒,๕๐๙ คน เป็นหญิง ๑๒,๓๗๖ คน รวม ๒๔,๘๘๕ คน จำนวนครัวเรือน ๕,๘๗๖ หลังจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๑๖,๖๒๒ คนที่
ตั้งอำเภอตั้งอยู่ที่ริมถนน ทางหลวงท้องถิ่นสายหนองกวาง-ขุนซ่องระหว่าง ก.ม ที่ ๑๖-๑๗ บ้านตาหน่อง หมู่ที่ ๑ ตำบลแก่งหางแมวพิกัดอาร์คิว ๒๕๔๓๙๓ พื้นที่ ๑,๑๕๔,๐๗๖ ตาราง กิโลเมตร หรือ ๗๒๑,๒๙๗.๕ ไร่

อาณาเขตปกครอง
ทิศเหนือจดอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี กิ่งอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราและอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ทิศใต้จดกิ่งอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันออกจดอำเภอสอยดาว กิ่งอำเภอคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี
ทิศตะวันตกจดกิ่งอำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสลับภูเขาเป็นรอยต่อ ๕ จังหวัดมีลำน้ำวังโตนดไหล ผ่านไปออกทะเลที่ตำบลโขมงอำเภอท่าใหม่ในปัจจุบันสภาพป่าไม้ถูกราษฎรบุกรุก ครอบครองเพื่อทำการเกษตรจนเกือบหมดยังคงมีสภาพป่าไม้อยู่บ้างในบริเวณที่เป็น ภูเขาสูงด้านตอนบนของพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ

สภาพพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าขุนซ่องป่าจันตาแป๊ะป่าเขาทะลาย)

ลักษณะดิน
ลักษณะดินเป็นดินปนลูกรังเป็นส่วนใหญ่เป็นการพังทลายของดินเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ปลูกมันสำปะหลัง ปัจจุบันได้มีการปลูกไม้ยืนต้นกันบ้าง เช่น ทำสวนยางสวนผลไม้

การถือครองที่ดิน
การถือครองที่ดิน ในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว มีตำบล เขาวงกตเพียงตำบลเดียว ที่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินเป็น นส.๓ และนส. ๓ ก.เกือบเต็มพื้นที่ปัจจุบันภาคเอกชน ได้มาลงทุนสร้างสวนเกษตรจัดสรรที่ดินหลายรายสำหรับในอีก ๔ ตำบลคือตำบล แก่งหางแมวตำบลขุนซ่อ ตำบลสามพี่น้อง ตำบลวา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าขุนซ่องมีเนื้อที่ ๖๒๕,๐๐๐ ไร่ป่าจันตาแป๊ะมีเนื้อที่ ๑๐,๐๐๐ ไร่ และป่าเขา หลายมีเนื้อที่ ๒,๐๐๐ไร่ ทางราชการได้อนุญาติให้ราษฎรเข้าทำกิน ในพื้นที่เสือม สภาพแล้วโดยออกหลักฐานสทก. ๑ ให้แก่ราษฎร จำนวน ๒,๘๖๑ ราย พื้นที่ประ มาณ ๔๒,๙๐๐ ไร่นอกจากนั้นทางราชการได้จัดทำแนวเขตป่าอนุรักษ์เพื่อป้องกัน การบุกรุกพื้นที่ป่าในกิ่งอำเภอแก่งหางแมวบริเวณป่า ขุนซ่อง เป็นระยะทาง ๒๓๕ กิโลเมตร แต่ก็ยังปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งรัดจัดกุมผู้กระทำ ผิดกฎหมายเป็นประจำ

การคมนาคม
๑. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงอำเภอท่าใหม่ระยะทาง ๖๕ ก.มเป็นถนนราดยาง-๕๘ ก.ม ถนนลูกรัง ๗ กิโลเมตร
๒.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงศาลากลางจังหวัด ระยะทาง
๗๕ กิโลเมตร
๓. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลเขาวงกต ระยะทาง ๑๗ ก.ม. เป็นถนนราดยาง ๑๐ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๗ กิโลเมตร
๔.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลขุนซ่อง ระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังทั้งหมด
๕. จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลพวา ระยะทาง ๒๕ ก.ม เป็นถนนลูกรังทั้งหมด
๖.จากที่ว่าการกิ่งอำเภอ ถึงตำบลสามพี่น้องระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรังสลับกับถนนคอนกรีตบล็อค
๗.ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังทั้งหมด ยกเว้น ตำบลเขาวงกตซึ่งถนนเชื่อมระยะหมู่บ้าน เป็นถนนราดยาง

สภาพทางเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ทำไร่มันสำปะหลังไร่อ้อย ยางพารา สวนผลไม้และรับจ้างทั่วไปมีเพียงบางส่วนที่ทำนามีร้านค้า ๓๑๒ ร้าน โรงสี ๗ แห่งลานมันสำปะหลัง ๑๑ แห่งไม่มีธนาคารโรงงานอุตสาหกรรมโรงมหรสพ โทรทัศน์ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข

อุปนิสัยการบริโภค (ด้านโภชนาการ)
ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากหลายจังหวัดด้วยกันการบริโภคก็จะแยกออกเป็น ภาคตามความถนัด การบริโภคนั้นไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ถูกต้องเนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน

สภาพพื้นที่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเหมาะสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด เช่น ไม้ผลไม้ยืน ต้นพืชผักสวนครัวและพืชไร่มีแหล่งน้ำอยู่ ๒ แห่งขนาดของบ่อกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ลึก ๔ เมตรและขนาดกว้าง ๙๘ เมตร ยาว๑๕ เมตร ลึก ๕ เมตร อีก ๑ บ่อสามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในการเกษตรและในโรงเรียนอย่างเพียงพอ แก่ความต้องการตลอดปีในพื้นที่ของโรงเรียนเป็นดินเหนียวปนทรายเหมาะ สำหรับการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง ฝรั่ง สะเดา กล้วย ขนุนและอื่น ๆนอกจาก นี้ยังสามารถปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัวได้ทุกชนิด

พื้นที่ทำการเกษตร จำนวน ๑๔ ไร่ แบ่งเป็นพื้นสำหรับการเกษตร ดังนี้</>
๑. มีผล ไม้ยืนต้น จำนวน ๑๐ ไร่
๒. พืชไร่ จำนวน ๒ ไร่
๓. พืชผักสวนครัว จำนวน ๒ ไร่
การเลี้ยงสัตว์ ไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๒๐๐ ตัว และ ปลานิล ๖,๐๐๐ ตัว จำนวนนักเรียน มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน ๑๐๑ คน ชาย ๕๗ คน หญิง ๕๒ คน

แหล่งอ้างอิง: สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี.(๕)
(จบ. ท๓ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๘)