ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอกระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก

หมู่ที่ ๖ บ้านหินจอก ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๑ โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสงขลา ร่วมกับราษฎรในพื้นที่จัดสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง ขนาด ๕ ห้องเรียน คิดเป็นเงินประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท และในปีต่อมาทางวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสงขลาได้เข้ามาดำเนินการสร้างอาคารเรียนแบบถาวรอีก ๑ หลัง ขนาด ๔ ห้องเรียน คิดเป็นเงินประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยทางกองร้อยที่ ๘ (สมัยนั้น) เป็นผู้ดำเนินการขอใช้ที่ดินและจัดส่งครูเข้ามาทำการสอน ปัจจุบันทางกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ ได้ขอใช้ที่ดินจากสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เพื่อการทำกิน โรงเรียนเปิดทำการเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๑ และทาง กก.ตชด.๔๓ ได้จัดส่งครูเข้ามาทำการสอน จำนวน ๓ คน โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะทั่วไปของหมู่บ้าน เป็นภูเขาและมีที่ราบเป็นบางส่วน เป็นสวนยางพารา

อาณาเขต
ทิศเหนือ   ติดต่อ บ้านเจ้าพะ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ทิศใต้   ติดต่อ บ้านท่าเขา หมู่ที่ ๓ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก  ติดต่อ เทือกเขาบรรทัด
ทิศตะวันตก  ติดต่อ บ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ ๒ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

การคมนาคม
ระยะทางจากหมู่บ้านถึงอำเภอปะเหลียน ๒๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ๕ กิโลเมตร ถนนลาดยาง ๑๕ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด ๕๐๐ คน เป็นชาย ๑๔๐ คน หญิง ๒๖๐ คน แยกเป็น ๗๒ ครอบครัว

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรประกอบอาชีพทำสวน ๗๕% รับจ้าง ๑๕% ค้าขาย ๕% ทำนา ๕% มีรายได้เฉลี่ยประมาณครอบครัวละ ๓๘,๐๐๐ บาท - ๖๗,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน  นายจิตร หนูหมาด
ผู้ใหญ่บ้าน  นายประยวด เกียงเอีย

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓ จังหวัดสงขลา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่ ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสงขลา
    ๒) อาคารชั้นอนุบาล ครูตำรวจตระเวนชายแดนและประชาชนในพื้นที่
    ๓) อาคารห้องสมุด วิทยาลัยการอาชีพตรังและประชาชนในพื้นที่
    ๔) อาคารประกอบอาหาร วิทยาลัยการอาชีพตรังและครูตำรวจตระเวนชายแดน
    ๕) ห้องน้ำ-ห้องส้วม วิทยาลัยเทคนิคตรัง
    ๖) โรงเรือนเลี้ยงไก่ ครูตำรวจตระเวนชายแดน
    ๗) โรงเก็บเครื่องมือวัสดุการเกษตร ครูตำรวจตระเวนชายแดน
    ๘) ถังเก็บน้ำไฟเบอร์ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๓
    ๙) บ่อเลี้ยงปลา สำนักงานสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดตรัง

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด ๘๖ คน เป็นชาย ๕๔ คน หญิง ๓๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) รร.ต.ท.ประพันธ์ แก้วรุ่งฟ้า ม.ศ.๕ รักษาราชการแทนครูใหญ่
    ๒) ด.ต.อรุณ คำสุวรรณพจนา ม.ศ.๕ ผู้ช่วยครูใหญ่
    ๓) จ.ส.ต.เชิด ชูคงนวน อ.ศศ. ครูผู้สอน
    ๔) จ.ส.ต.อำพล  นวลเกื้อ ป.กศ.สูง ครูผู้สอน
    ๕) จ.ส.ต.สุวัฒน์ ทันเกื้อ ม.ศ.๕ ครูผู้สอน
    ๖) จ.ส.ต.จ.ส.ต.นิยม รักษารักษ์ ม.๖ ครูผู้สอน
    ๗) ส.ต.อ.ปิยกาย แสงแก้ว ม.๖ ครูผู้สอน
    ๘) ส.ต.ต.สมญา โมสาลียานนท์ อ.ศศ. ครูผู้สอน
    ๙) พลฯ หญิง ปรีดา แก้วพิทักษ์ ม.๖ ครูผู้สอนชั้นอนุบาล
    ๑๐) นางสาวจันทร์จิรา นิคะ ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๐
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๓
    รวม
    ๕๔
    ๓๒
    ๘๖

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.ปิยกาย แสงแก้ว
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สาธารณสุขจังหวัดตรัง สาธารณสุขอำเภอปะเหลียน โรงพยาบาลปะเหลียน และสถานีอนามัยตำบลลิพัง

    ผลการดำเนินงาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    จำนวน
    %
    จำนวน
    %
    วันที่ตรวจ
    ตุลาคม ๒๕๔๑
    ตุลาคม ๒๕๔๒
    นักเรียนทั้งหมด
    ๗๓
    ๑๐๐
    ๘๖
    ๑๐๐
    นักเรียนที่ตรวจ
    ๗๓
    ๑๐๐
    ๘๖
    ๑๐๐

    ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒/ภาคเรียนที่ ๑
    จำนวน (คน)
    คลุม
    ปกติ
    %
    ระดับ
    รวม
    %
    ชั้น
    นักเรียน
    ตรวจ
    %
    ๑A
    %
    ๑B
    %
    ป.๑
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๐๐
    ๑๔
    ๑๐๐
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    ป.๒
    ๑๑
    ๑๑
    ๑๐๐
    ๑๑
    ๑๐๐
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    ป.๓
    ๑๑
    ๑๑
    ๑๐๐
    ๑๐
    ๙๐.๙๐
    ๙.๐๙
    -
    -
    ๙.๐๙
    ป.๔
    ๑๐๐
    ๑๐๐
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    ป.๕
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๐๐
    ๑๓
    ๑๐๐
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    ป.๖
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๐๐
    ๑๒
    ๙๒.๙๐
    ๗.๖๙
    -
    -
    ๗.๖๙
    รวม
    ๖๙
    ๖๙
    ๑๐๐
    ๑๔๒
    ๖๗
    ๙๗.๑๐
    ๒.๘๙
    -
    ๒.๘๙

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๖๐)
    สำนักงาน, [๒๕__]