ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ ๑ระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐/ภาคเรียนที่ ๑

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีนบุรีอนุสรณ์ ๑

หมู่ที่ ๑๐ บ้านบางเตา ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จัดตั้งขึ้นเนื่องจากราษฎรได้รับความเดือดร้อนเรื่องการศึกษา จึงร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด ๗ x ๑๒ เมตร ขึ้น ๑ หลัง แล้วทำหนังสือขอจัดตั้งโรงเรียนไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๘ เมื่อทางกองกำกับฯ ทราบเรื่องจึงส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจและทราบความเดือดร้อนของราษฎรจริง จึงได้ประสานงานกับสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพระแสงเป็นที่เรียบร้อย เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๓๐ โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านบางเตา ทำการสอน ๒ ชั้นเรียน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนประชาสันติ
ปี พ.ศ.๒๕๓๒ วิทยาลัยเทคนิคมีบุรีออกค่ายพัฒนา ได้สร้างอาคารถาวร ขนาด ๘ x ๑๕ เมตร ให้ ๑ หลัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีบุรีอนุสรณ์ ๑"
ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๐ ไร่

อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านทับใหม่
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านเกาะน้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านราษฎร์สามัคคี
ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านบางแตระ

การคมนาคม
หมู่บ้านบางเตา อยู่ห่างจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑๔๔ กิโลเมตร และห่างจากอำเภอพระแสง ๓๒ กิโลเมตร เส้นทางจากถนนสุราษฎร์ - กระบี่ แยกเข้าโรงเรียน ตชด.เทคนิคมีบุรีอนุสรณ์ ๑.๗ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง

จำนวนประชากร
มีประชากร จำนวน ๑๖๓ ครอบครัว เป็นชาย ๔๓๔ คน หญิง ๓๗๘ คน รวม ๘๑๒ คน

ศาสนา
ประชากรนับถือศาสนาพุทธ

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน รายได้เฉลี่ยปีละประมาณ ๑๕,๐๐๐ ถึง ๒๐,๐๐๐ บาท/ครอบครัว

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายทวี สุขประสิทธิพร
ผู้ใหญ่บ้าน นายวิญญา ทองรอด

ปัญหาของหมู่บ้าน
๑. การคมนาคมไม่สะดวก เป็นถนนลูกรัง เป็นหลุมเป็นบ่อ
๒. ไม่มีไฟฟ้าใช้

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคมีบุรีอนุสรณ์ ๑ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร
โรงเรียนเปิดทำการสอนปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยรับเด็กจากบ้านบางเตา บ้านราษฎร์พัฒนา ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    จำนวน
    ๑) อาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ชมรมเทคนิคอาสาพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีกรุงเทพฯ
    ๒) ห้องพักครู งบ กชช.ปี ๒๕๓๘
    ๓) โรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง ชมรมเทคนิคอาสาพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีกรุงเทพฯ
    ๔) ห้องน้ำ จำนวน ๒ หลัง ชมรมเทคนิคอาสาพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรีกรุงเทพฯ
    ๕) แทงค์เก็บน้ำฝน จำนวน ๒ แทงค์ งบ กชช.

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๑๙๙ คน เป็นชาย ๑๑๔ คน หญิง ๘๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ –นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ร.ต.ต.ศิลปชัย ชัยประภา ม.ศ.๕ ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.ปรัชญา รัตนพันธ์ ป.กศ. โครงการอนุรักษ์ทรัยพากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๓. จจ.ส.ต.มนัส เจี้ยวเห้ง พ.ม. โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
    ๔. จ.ส.ต.นิคม อินทร์จันทร์ อ.ศศ. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๕. ส.ต.อ.สมจิตร แก้วศรีนวล อ.ศศ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. ส.ต.อ.สมปอง เจริญกุล อ.ศศ. โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๗. ส.ต.อ.ประจวบ พริ้มพราย ม.๖ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๘. ส.ต.ต.วัธนะ ฤทธิรงค์ นบ. โครงการฝึกอาชีพ
    ๙. นางสาลี ไทยเกิด ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้นเรียน
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๒
    ๑๓
    ๓๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๕
    ๑๘
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๘
    ๑๓
    ๓๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๒
    ๑๐
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๒๒
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๙
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๖
    ๒๒
    รวม
    ๑๑๔
    ๘๕
    ๑๙๙

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.ประจวบ พริ้มพราย
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู และนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    สาธารณสุขตำบลบางสวรรค์ และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ เขต ๔

    ตารางแสดงผลการตรวจภาวะการขาดสารไอโอดีน ปีการศึกษา ๒๕๔๐ (๑๐ มิ.ย.๔๐)
    ผลการดำเนินงาน
    จำนวน (คน)
    %
    ประเมิน
    นักเรียนทั้งหมด
    ๑๖๒
    ๑๐๐
     
    นักเรียนที่ตรวจ
    ๑๖๒
    ๑๐๐
     
    คอพอกระดับ ๑A
    ๑๒
    ๗.๔๐
    รุนแรงน้อย

    ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐/ภาคเรียนที่ ๑
    จำนวน (คน) คลุม ปกติ % ระดับ รวม %
    ชั้น นักเรียน ตรวจ %     ๑A % ๑B %    
    ป.๑ ๓๐ ๓๐ ๑๐๐ ๒๘ ๙๓.๓๓ ๖.๖๗ - - ๖.๖๗
    ป.๒ ๒๙ ๒๙ ๑๐๐ ๒๗ ๙๓.๑๐ ๖.๙๐ - - ๖.๙๐
    ป.๓ ๒๔ ๒๔ ๑๐๐ ๒๐ ๘๓.๓๓ ๑๖.๖๗ - - ๑๖.๖๗
    ป.๔ ๓๐ ๓๐ ๑๐๐ ๒๗ ๙๐.๐๐ ๑๐.๐๐ - - ๑๐.๐๐
    ป.๕ ๒๕ ๒๕ ๑๐๐ ๒๔ ๙๖.๐๐ ๔.๐๐ - - ๔.๐๐
    ป.๖ ๒๔ ๒๔ ๑๐๐ ๒๔ ๑๐๐.๐๐ - - - - - -
    รวม ๑๖๒ ๑๖๒ ๑๐๐ ๑๕๐ ๙๒.๕๙ ๑๒ ๗.๔๐ - - ๑๒ ๗.๔๐

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๓)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)