kanbinthai
kaosarapee
klongjareansuk
thakenchai
bankoknoi
bantakfah
banthapakchee
bannumaom
bannumaom
banwangsritong

pracharath
peeraya

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งกบินทร์ระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนโครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียน
ดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งกบินทร์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งกบินทร์ เดิมชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนธารน้ำใจ ๒ ตั้งอยู่ใน พื้นที่รับผิดชอบ ตำบลตาหลังใน กิ่งอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี จัดตั้งขึ้นปี พ.ศ.๒๕๒๐ เนื่องจากหมู่บ้าน อยู่ห่างไกลโรงเรียนอื่น ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปมา ของนักเรียน ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลาน
พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้าง ได้รับบริจาค นายประนอม ฉุยฉาย นายพยนต์ เพิ่มพูน และนายหรี่ ยิ้มอยู่ ซึ่งเป็นป่าสงวน จำนวน ๒๐ ไร่ ๒ งาน
ปี ๒๕๒๐ ใช้อาคารชั่วคราวไม่มีฝา หลังคามุงด้วยสังกะสี ขนาด ๕x๒๐ เมตร ปัจจุบันเป็นโรงอาหาร และเมื่อปี ๒๕๒๕ ทางชุมนุมอาสาพัฒนาชาววังน้ำเย็น ร่วมกับมูลนิธิธารน้ำใจ และวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ได้ร่วมกันสร้างอาคารกึ่งถาวร ขึ้นใหม่ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๘x๕๘ เมตร จำนวน ๖ ห้องเรียน อาคารปัจจุบันนี้
เมื่อปี ๒๕๓๖ ประชาชนได้ร่วมมือกันสร้างบ้านพักครูชั่วคราวขึ้น ๒ หลัง ปัจจุบันรื้อทำใหม่แล้ว และร่วมกันสร้างห้องน้ำห้องส้วมขึ้นจำนวน ๑ หลัง ๕ ห้อง ปัจจุบันอยู่สภาพที่ชำรุดมาก สำหรับวัสดุคุรุภัณฑ์ ได้รับการสนับสนุน ตู้เอกสารจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จำนวน ๔ หลัง โดยรับมาจากกรมการค้าต่างประเทศ พร้อมกับโต๊ะครู ๖ ชุด และขอยืม โต๊ะเรียนจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว จำนวน ๑๘๐ ตัว
ในปี ๒๕๓๖ ยังขาดเก้าอี้ ต่อมา ดร.สุนทราภรณ์ รัตนดิรก ณ ภูเก็ต ได้มอบเก้าอี้ จำนวน ๑๐๐ ตัว ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ และวิทยาลัยเทคนิค ปราจีนบุรีเข้าไปสอนการฝึกวิชาชีพในโรงเรียน และมอบวัสดุอุปกรณ์ ที่ได้จากการอบรม คือ หอกระจายข่าว ๑ ชุด ม้านั่งสำหรับนั่งเรียน ๒ คน จำนวน ๘๐ ตัว ท่อประปาในบริเวณโรงเรียน หลอดไฟและสายไฟฟ้า ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ วันเด็กชาติสโมสรไลออนล์รังสิต และสโมสรไลออนล์ รังสิตปทุมธานี ได้มอบเงินเพื่อสร้างประปา จำนวน ๕,๐๐๐ บาท ( ห้าพันบาทถ้วน) ประชาชนร่วมกันสร้างทีประดิษฐานพระพุทธรูป และโต๊ะหมู่บูชา ให้โรงเรียนอย่างละ ๑ ชุด

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งกบินทร์ เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จังหวัดสระแก้ว กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านทุ่งกบินทร์ บ้านหนองปลาไหล บ้านน้อยฝั่งคลอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง ๙ ตุลาคม ๒๕๓๘
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๙

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑) อาคารเรียน ๑มูลนิธิธารน้ำใจ ช่างกลปทุมวัน ชมรมอาสาพัฒนาชาววังน้ำเย็น
๒) ห้องสมุดสนับสนุนหนังสือ โดยสถาบันราชภัฏเพชรบุรี
๓) ห้องพยาบาลคณะครูและประชาชน
๔) โรงอาหารประธานพ่อบ้านแม่บ้านธนบุรี ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลวัชระ
๕) ห่องน้ำ – ห้องสุขาประธานพ่อบ้านแม่บ้านธนบุรี คณะครูและประชาชนในพื้นที่
๖) สนามเด็กเล่นวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ประชาชนในพื้นที่
๗) บ้านพักครูดร.สุนทราภรณ์ รัตรดิลก ณ ภูเก็ต ประชาชนในพื้นที่
๘) ประปาโรงเรียนวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี สโมสรไลอ้อนรังสิตและปมุมธานี

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๖๑ เป็นชาย ๘๖ คน หญิง ๗๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑) จ.ส.ต เรืองยศ สีดาชมภู
ม.ศ. ๓
ครูใหญ่
๒) จ.ส.ต สมบูรณ์ ปลงรัมย์
ม.ศ. ๕
ครูผู้สอน
๓) จ.ส.ต นวน เกตุสระ
ม.ศ. ๓
ครูผู้สอน
๔) ส.ต.ท อัมรินทร์ ศรัทนุ
ม.ศ. ๕
ครูผู้สอน
๕) ส.ต.ต เกรียงศักดิ์ กุศลลานนท์สกุล
ม.๖
ครูผู้สอน
๖) ส.ต.ต สุขุม พลตื้อ
ปกศ.สูง
ครูผู้สอน
๗) ส.ต.ต แสวง เกิดพิบูลย์
คบ.
ครูผู้สอน
๘) พลฯ ปัญญา จงสูงเนิน
ปวส.
ครูผู้สอน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๐
๑๒
๒๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๒
๒๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๕
๑๑
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๗
๑๒
๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๗
๑๐
๒๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๐
๑๐
๒๐
รวม
๘๖
๗๕
๑๖๑

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
ผลการดำเนินงาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๘
ภาคเรียน ๑
ภาคเรียนที่ ๒
จำนวน
%
จำนวน
%
นักเรียนทั้งหมด
๑๕๕
๑๐๐
๑๖๑
๑๐๐
นักเรียนที่ตรวจ
๑๓๕
๘๗.๑๐
๑๔๖
๙๐.๖๘
คอพอกระดับ ๑ เอ
๕.๑๙
๔.๗๙
คอพอกระดับ ๒ บี
๐.๗๔
-
-

ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘/๒
จำนวน (คน)
คลุม
ปกติ
%
ระดับ
รวม
%
ชั้น นักเรียน ตรวจ
%
๑A
%
๑B
%
ป.๑
๓๙
๓๑
๗๙.๔๙
๒๘
๙๐.๓๒ ๙.๖๘ ๐.๐๐
๙.๖๘
ป.๒
๓๐
๒๘
๙๓.๓๓
๒๘
๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐
๐.๐๐
ป.๓
๑๖
๑๔
๘๗.๕๐
๑๓
๙๒.๘๖ ๗.๑๔ ๐.๐๐
๗.๑๔
ป.๔
๒๗
๒๕
๙๒.๕๙
๒๓
๙๒.๐๐ ๘.๐๐ ๐.๐๐
๘.๐๐
ป.๕
๒๐
๑๙
๙๕.๐๐
๑๙
๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐
๐.๐๐
ป.๖
๒๙
๒๙
๑๐๐.๐๐
๒๘
๙๖.๕๕ ๓.๔๕ ๐.๐๐
๓.๔๕
รวม
๑๖๑
๑๔๖
๙๐.๖๘
๑๓๙
๙๕.๒๑ ๔.๗๙ ๐.๐๐
๔.๗๙

   
แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๑๘)
(สก ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙ )