ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้ระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนกิจกรรมและการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ บ้านหนองตะไก้ ตำบลโป่งเปือย อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
ด้วยหมู่บ้านหนองตะไก้ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ มีราษฎรอาศัยอยู่ ๗ ครอบครัว และได้ขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ นักเรียนต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านโนสว่างและโรงเรียนบ้านโป่งเปือย ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๔ - ๕ กิโลเมตร ทำให้นักเรียนได้รับความลำบาก โดยเฉพาะฤดูฝน ถนนเป็นเลนโคลน เป็นเหตุให้นักเรียนขาดเรียนบ่อยผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ จึงเป็นปัญหาของผู้ปกครองนักเรียนและครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่ง
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับอนุมัติเป็นหมู่บ้านถาวร ผู้ปกครองนักเรียนได้เล็งเห็นความยากลำบากของบุตรหลานที่ต้องเดินทางไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น คณะกรรมการหมู่บ้านจึงมีมติเห็นชอบให้ขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จึงทำหนังสือเรียนเสนอถึงผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ โดยผ่านกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔๔ และได้ทำหนังสือขอใช้ที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านเป็นพื้นที่จัดตั้งโรงเรียนจากสภาตำบลหนองเข็ง
ต่อมาวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้ และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ได้แต่งตั้งให้ครูเข้าเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๘ เป็นต้นมา

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านหนองตะไก้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ โดยนายจันทร์แดง ผิวดำ พร้อมครอบครัว บุตรหลาน จำนวน ๗ ครอบครัว ได้อพยพมาจากบ้านสมัยสำราญ ตำบลโป่งเปือย เพื่อมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามไร่นาของตนเอง ซึ่งเป็นที่ลุ่มดอน
ต่อมามีครอบครัวอื่นๆ อพยพเข้ามาสมทบเรื่อยๆ จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ จึงได้ตั้งชื่อแห่งนี้ว่า "บ้านหนองตะไก้" สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านหนองตะไก้ เพราะใกล้หมู่บ้านแห่งนี้มีหนองน้ำขังตลอดปี มีปลาชุกชุม และรอบๆ หนองมีต้นตะไก้ขึ้นอยู่ ปัจจุบันคือบ่อเลี้ยงปลาของโรงเรียน
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๖ ทางอำเภอบึงกาฬเห็นว่าหมู่บ้านตะไก้เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้จัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านถาวร

การคมนาคม
สภาพถนนที่ใช้ในการติดต่อ จากหมู่บ้านไปอำเภอบึงกาฬเป็นถนนลูกรัง มี ๒ เส้นทาง คือ
- เส้นทางผ่านหมู่บ้านโนนสว่าง บ้านไคสี จนถึงอำเภอบึงกาฬ ระยะทาง ๒๗ กิโลเมตร
- เส้นทางผ่านหมู่บ้านห้วยสามยอดเทวกุล บ้านห้วยดอกไม้ วิทยาลัยการอาชีพบึงกาฬ ถึงอำเภอบึงกาฬ ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งหมด ๓๐๘ คน เป็นชาย ๑๕๖ คน หญิง ๑๕๒ แยกเป็นครอบครัว ๗๕ ครัวเรือน

การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป และหลังจากเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวก็จะไปทำงานต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ เนื่องจากขาดที่ดินทำกินและอาชีพรองรับหลังจากเสร็จสิ้นการทำไร่ทำนา

ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายเคน พงกระเสริม

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองตะไก้ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๑ คน เป็นชาย ๒๘ คน หญิง ๓๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ ทำหน้าที่
    ๑. จ.ส.ต.โอฬาร คำผุย ม.ศ.๕ ครูใหญ่
    ๒. ด.ต.วีรวัฒน์ พิกาศ ค.บ. ผู้ช่วยครูใหญ่
    ๓. ส.ต.ท.ทวี ผลาจิตร์ ปวช. ครูผู้สอน
    ๔. ส.ต.ท.คงเดช ชาติวิเศษ ม.๖ ครูผู้สอน
    ๕. ส.ต.ท.ปราโมทย์ คำพุทธา ม.๖ ครูผู้สอน
    ๖. ส.ต.ท.สมชาย ใต้เมืองปักษ์ ม.๖ ครูผู้สอน
    ๗. ส.ต.ต.มาตรา ศรีทะนีทอก ปวช. ครูผู้สอน
    ๘. พลฯ สมัคร เที่ยง ล้านสา ม.๖ ครูผู้สอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๒๘
    ๓๓
    ๖๑

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลโป่งเปือย สาธารณสุขอำเภอบึงกาฬ หมวดแพทย์กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔

    กิจกรรมและการดำเนินการ
  • - ครูตำรวจตระเวนชายแดนได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองรับทราบ        และเข้าใจถึงคุณและโทษของการขาดสารไอโอดีน
  • - หยดสารไอโอดีนลงในน้ำดื่มให้นักเรียนดื่มทุกวัน
  • - แจกจ่ายเกลือผสมสารไอโอดีนให้นักเรียนนำกลับบ้าน
  • - ใช้เกลือผสมสารไอโอดีนปรุงอาหารให้นักเรียนรับประทานทุกวัน

  • ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ /ภาคเรียนที่ ๑)
    จำนวน (คน)
    คลุม
    ปกติ
    %
    ระดับ
    รวม
    %
    ชั้น
    นักเรียน
    ตรวจ
    %
    ๑A
    %
    ๑B
    %
    ป.๑
    ๑๒
    ๑๒
    ๐.๐๐
    ๑๐
    ๘๓.๓๓
    ๘.๓๓
    ๘.๓๓
    ๑๖.๖๗
    ป.๒
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ป.๓
    ๐.๐๐
    ๗๕.๐๐
    ๒๕.๐๐
    ๐.๐๐
    ๒๕.๐๐
    ป.๔
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ป.๕
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๖๖.๖๗
    ๓๓.๓๓
    ๐.๐๐
    ป.๖
    ๐.๐๐
    ๕๐.๐๐
    ๑๖.๖๗
    ๑๖.๖๗
    ๕๐.๐๐
    รวม
    ๓๙
    ๓๙
    ๑๐๐.๐๐
    ๓๐
    ๗๖.๙๒
    ๑๒.๘๒
    ๗.๖๙
    ๒๓.๐๘

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๑๐๐)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๓ ๒๕๓๙)