ประวัติโรงเรียนบ้านห่างทางหลวงจำนวนครูและนักเรียน
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

ประวัติโรงเรียนบ้านห่างทางหลวง

หมู่ที่ ๒ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงาน องค์กรการกุศล "อ๊อกเคเดนเวนเจอร์" สร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๓ ห้องเรียน และจ้างนายจันดี ขาเหล็ก ไปทำการสอน ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙ ทาง สปจ.น่าน ได้ส่งครูเข้าไปทำการสอน โดยกำหนดให้เป็นโรงเรียนบ้านนากอก สาขาบ้านสบกอก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๒๙ สปจ.น่าน ได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๐ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สร้างอาคารเรียนแบบ ๑๐๓ จำนวน ๓ ห้องเรียน และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ จำนวน ๒ ห้องเรียน วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๒ สปจ.น่าน ได้จัดสรรอัตราครูมาเพิ่มเป็นจำนวน ๑๐ อัตรา ปีงบประมาณ ๒๕๓๗ โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๒/๒๖ ขนาด ๓ ห้องเรียน ราคา ๗๘๐,๐๐๐ บาท อาคารแบบ สปช. ๒๐๑/๒๖ ซึ่งเป็นอาคารเอนกประสงค์ ราคา ๓๘๐,๐๐๐ บาท ส้วมแบบ ๖๐๑/๒๖ ราคา ๔๕,๐๐๐ บาท อย่างละ ๑ หลัง โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๕ ไร่

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ขนาด/จำนวน
๑.อาคารเรียน สปช.๑๐๒/๒๖ ๑ ชั้น ๒ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๒.อาคารเรียน ๑๐๓ ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๓. อาคารเรียน สปช. ๑๐๒/๒๖ ๑ ชั้น ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๔.อาคารเอนกประสงค์ สปช.๒๐๑/๒๖ ๑ หลัง
๕. ห้องครัว ๑ หลัง
๖.ห้องสมุด ๑ หลัง
๗.ส้วม สปช.๖๐๑/๒๖ ๔ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง
๘.ส้วม สปช. ๖๐๑/๒๖ ๒ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง
๙.บ้านพักครู สปช.๓๐๒/๒๘ ๑ หลัง
๑๐.บ้านพักครูที่ราษฎรร่วมกันบริจาค ๒ ชั้น ๔ ห้องนอน จำนวน ๑ หลัง

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๐๔ คน เป็นชาย ๕๘ คน หญิง ๔๘ คน มีครู ๘ คน นักการภารโรง ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๕
๑๗
๗๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
๑๖
รวม
๕๘
๔๘
๑๐๖

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนต่างๆ ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
ผลการดำเนินงาน ได้ผลดีขึ้นในระดับหนึ่ง เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เป็นคอพอกในโรงเรียนลดลง จำนวน ๒ คน จากเดิม ๗ คน ให้นักเรียนที่รับผิดชอบในการเตรียมน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำทุกวันหน้าห้องเรียน พร้อมทั้งกำกับดูแลให้นักเรียนทุกคนได้ดื่มน้ำเสริมไอโอดีน โดยครูประจำชั้นช่วยกำกับดูแลส่วนในการประกอบอาหารของนักเรียน ได้มีการใช้เกลือที่เสริมไอโอดีนและน้ำปลาเสริมไอโอดีน ในการประกอบอาหารกลางวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเคกิจสำนักงานเกษตรอำเภอบ่อเกลือ

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๑๙๘)
(นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๒)