ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยาระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนผลของการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา

เนื่องจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง เห็นว่าที่หมู่บ้านไม่มีโรงเรียนที่จะให้บุตรหลานได้เล่าเรียนถ้าหากต้องการเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่หมู่บ้านอื่น ซึ่งมีระยะทางไกลมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อบุตรหลาน ราษฎรจึงจัดตัวแทนประกอบด้วย นายคำ ตาสี, นายเขม มะละ, นายคำ แพงคำอุ้ย, นายวิเชียร พันธง, นายหมอก อินธิราช, นายก้อย ผุยเห้า นายลี สุพรรณ, นายบุตรดี ริยะบุตร และนายโม มะละ เป็นตัวแทนไปร้องขอกับ ร.ต.ท.บุญชู รุ่งแก ผบ.ร้อย ตชด.เขต ๔ ในขณะนั้น เพื่อที่จะจัดตั้งโรงเรียน ร.ต.ท.บุญชูฯ ได้ดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น และได้มีการอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา หมู่ ๘ บ้านน้อยลวงมอง ตำบลพระทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ขึ้น เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ และส่งครู ตชด.มาทำการสอน ๒ นาย คือ พลฯ คำดี ชาวกล้า และ พลฯ จรูญ ลายคราม มาปฏิบัติหน้าที่ ต่อมาทางหมู่บ้านแก้งส้มโฮง ได้ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนด้วย ทำให้อาคารเรียนที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทางกองกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๔ (เดิม) จึงทำการรื้ออาคารหลังเก่าเพื่อก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ แต่ยังดำเนินการก่อสร้างไม่เสร็จ นายทรงชัย เหลืองรัชนี นำคณะสำรวจของชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มาสำรวจสถานที่เพื่อออกค่ายพัฒนา ได้ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมให้ (ที่ใช้ในปัจจุบัน)

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชูทิศวิทยา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านน้อยลวงมอง และหมู่บ้านแก้งส้มโฮง ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๕ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๕
ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖
และหยุดระหว่างเดือนพฤศจิกายน เป็นเวลา ๑๕ วัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของสำนักงานประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรของกระทรวงศึกษาธิการ นักเรียนที่จบสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งได้รับบริจาคจากเอกชนต่าง ๆ ดังนี้

อาคารเรียน
ผู้ให้การสนับสนุน
( ๑๐ เมตร x ๔๖ เมตร)
ขนาด ๖ ห้องเรียน)
ชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ห้องครัว สำนักพระราชวัง
โรงอาหาร สำนักพระราชวัง
ห้องส้วม ชมรมอาสาพัฒนาหอการค้าไทย
สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคนครพนม

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มแรกมีนักเรียน ๓๖ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ต่อมาเมื่อผู้ปกครองของเด็กเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น จึงได้ส่งบุตรหลานมาเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้นจนในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๖ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๔๘ คน และทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้บรรจุครูตำรวจตระเวนชายแดนเพิ่มขึ้น เพื่อความต้องการของราษฎรจำนวนทั้งสิ้น ๖ คน ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
คุณวุฒิ
ทำหน้าที่
๑. ด.ต.อนันต์ คณโฑมุข
ม.ศ.๓
ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต.เรืองชัย ภาแกดำ
ม.ศ.๓
พยาบาล กิจการนักเรียน
๓. จ.ส.ต.เกรียงศักดิ์ แก้วอินทร์ศรี
ปกศ.
เกษตร
๔. ส.ต.อ.คารมย์ ศรีกงพาน
ม.ศ.๕
การเงิน - ลูกเสือ
๕. ส.ต.ท.สมหวัง สมเกียรติยศ
ม.ศ.๕
โรงเรียน - ชุมชน
๖. ส.ต.ต.สะอาด อยู่เย็น
ปกศ.สูง
วิชาการ

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
๑๐
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๑
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๓
รวม
๔๘
๔๘
๙๖

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๓ โดยกองกับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๒ จังหวัดขอนแก่นร่วมกับกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดอบรมครู ตชด.ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโครงการควบคุมโรคขาดสารไดโอดีนในพื้นที่โรงเรียนในเขตกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๒ ทั้งหมด ระหว่างวันที่ ๓ - ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓ ที่กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๒ จังหวัดขอนแก่น เรื่องวิธีการป้องกัน รักษาเฝ้าระวังตลอดจนวิธีสาธิตการตรวจคอ เพื่อดูภาวะการขาดสารไอโอดีนในระยะต่าง ๆ การผลิตเกลือไอโอดีน การใช้น้ำเสริมไอโอดีน เพื่อป้องกันรักษาโรคขากสารไอโอดีน และทรงพระราชทานเกลือผสมไอโอดีน ให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และแจกจ่ายนักเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการ จ.ส.ต. เรืองชัย ภาแกดำในปัจจุบันทางโรงเรียนได้ดำเนินการโดยยประสานงานกับหน่วยของสาธารณสุขเข้ามาตรวจสุขภาพของนักเรียน และให้นักเรียนดื่มน้ำที่ผสมสารไอโอดีน หน่วยงานที่เข้ามาตรวจ ได้แก่ อนามัยตำบลหนามแก้ว

ผลของการดำเนินงาน
 
ปี ๒๕๓๓
ปี ๒๕๓๔
ปี ๒๕๓๕
 
คน
เปอร์เซ็นต์
คน
เปอร์เซ็นต์
คน
เปอร์เซ็นต์
จำนวนนักเรียนทั้งหมด
๑๑๗
๑๐๐.๐๐
๑๒๒
๑๐๐.๐๐
๙๔
๑๐๐.๐๐
จำนวนที่รับการตรวจทั้งสิ้น
๑๑๗
๑๐๐.๐๐
๑๑๒
๙๑.๘๐
๙๔
๑๐๐.๐๐
ปกติจำนวน
๙๔
๘๐.๓๔
๘๖
๗๐.๔๙
๗๘
๘๒.๙๘
คอพอกระดับ ๑A
๒๐
๑๗.๐๙
๒๖
๒๑.๓๑
๑๖
๑๗.๐๒
คอพอกระดับ ๑B
๒.๕๖
-
-
-
-
คอพอกระดับ ๒
-
-
-
-
-
-

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๓๒)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๕)