ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
วิจิตรวิทยาคาร
ระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนตารางเปรียบเทียบภาวะการ
ขาดสารไอโอดีน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิจิตรวิทยาคาร

สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยนายพันธ์ธาดา ณ ลำพูนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างให้ และเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๑แต่เปิดไม่ได้นานก็ต้องยุบเลิกเพราะมีนักเรียนน้อย สาเหตุเนื่องจากนักเรียนต้องย้ายตามผู้ปกครองไปทำมาหากินที่อื่น
ต่อมาในพื้นที่บ้านอีปู่ มีประชากรย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนงานรับจ้างทำเหมืองแร่ ลูกหลานไม่มีที่เรียนดังนั้นนายพันธ์ธาดา ณ ลำพูน และเพื่อน ๆ เจ้าของเหมืองแร่ในพื้นที่ จึงช่วยกันซ่อมแซมอาคารเรียนหลังเดิมที่ยุบเลิกไปจนพอใช้การได้ พร้อมได้ดำเนินการประสาน กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนเขต ๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ปัจจุบัน) เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนไปทำการสอน ๒ คน
ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ร่วมกันสร้างอาคารเรียนถาวรไม้ชั้นเดียว ขนาด ๕ x ๗.๕ เมตร โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างจากเหมืองแร่จำรัสและเพื่อน ๆ การก่อสร้างดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๑๙ตุลาคม ๒๕๒๙ (ห้องสมุดปัจจุบัน)

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวิ จิตรวิทยาคาร เป็นโรงเรียนที่ ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกา จนบุรี เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดย รับเด็กจากหมู่บ้านอีปู่ และอีต่อง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง มีนาคม ๒๕๓๘

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารเรียน นายพันธ์ธาดา ณ ลำพูน
    ๒) ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๓) โรงอาหาร สมาชิกกลุ่มแฟร์ ท่าเรือ
    ๔) ห้องน้ำ-ห้องสุขา กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๕) สหกรณ์ร้านค้า กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓
    ๖) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๓๑ คน เป็นชาย ๑๗ คน หญิง ๑๔ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ คน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๙ คน เป็นชาย ๕๘ คน หญิง ๔๑ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย และ ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    ทำหน้าที่
    ๑) จ.ส.ต. สาโรจน์ เวชประเสริฐ
    ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต. วินัย สาภักดี
    ครูผู้สอน
    ๓) ส.ต.ต. พงษ์ศักดิ์ วงษ์ปัญญา
    ครูผู้สอน
    ๔) ส.ต.ต. ประเวช สัตยาการ
    ครูผู้สอน
    ๕) พลฯ ชวลา อินธิจันทร์
    ครูผู้สอน
    ๖) พลฯ บัณฑิต ชุมศรี
    ครูผู้สอน
    ๗) นางสาวสุทัศน์ ธุระงาน
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๘) นางสุนา อินธิจันทร์
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๕
    ๒๒
    ๔๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    รวม
    ๕๘
    ๔๑
    ๙๙

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    มีเด็กนักเรียนเป็นคอพอกระดับ ๑ A จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๔๘%
    เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหา ควบคุมและ ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน และลด อัตราคอพอกของเด็กนักเรียนให้เหลือ ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ส.ต.ต. ประเวช สัตยา กร
    ผู้ดำเนินโครงการ ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสถานีอนามัย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ
    การดำเนินโครงการ กองบังคับการตำรวจตระเวน ชายแดนภาค ๑ ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาจนบุรี และกองโภชนาการกรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดโครงการอบรมครูโรง เรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อให้ความรู้ เกี่ยวกับวิธีป้องกัน การเฝ้าระวัง ตลอดจนวิธี การตรวจคอเพื่อดูภาวะการขาด สารไอโอดีนในระดับต่าง ๆ
    ปัจจุบันฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและรักษา พยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี และ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพ เขต ๔ ราชบุรี ดำเนินการ สนับสนุนเกลือไอโอดีนและผงสารไอโอดีน พร้อม ทั้งอุปกรณ์เพื่อบรรจุน้ำผสมสาร ไอโอดีน ให้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ ๑๓ เพื่อแจกจ่ายให้โรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนที่อยู่ในความรับผิดชอบ

    ตารางเปรียบเทียบภาวะการขาดสารไอโอดีน
    ปีการศึกษา จำนวน นร. รับการตรวจ ผลการตรวจปกติ ผลการตรวจปกติ
    คน ร้อยละ คน ร้อยละ ๑ เอ ๑ บี ระดับ ๑ ระดับ ๒ ร้อยละ
    ๒๕๓๔
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    ๒๕๓๕
    ๕๕
    ๔๗
    ๘๕.๔๕
    ๓๓
    ๗๐.๒๑
    ๑๒
    -
    -
    ๒๙.๗๙
    ๒๕๓๖
    ๗๐
    ๖๕
    ๙๒.๘๕
    ๔๕
    ๖๙.๒๓
    ๑๔
    -
    -
    ๓๐.๗๗
    ๒๕๓๗
    ๘๒
    ๖๕
    ๗๙.๒๖
    ๔๙
    ๗๕.๓๘
    ๑๓
    -
    -
    ๒๔.๖๒
    ๒๕๓๘
    ๙๙
    ๘๔
    ๘๔.๘๔
    ๖๕
    ๗๗.๓๘
    ๑๗
    -
    -
    ๒๒.๖๒

    แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๔๔)
    (กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)
    กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓. (๖๒)
    (กจ. ท๑ น๙๖๑๓ ๒๕๓๘)