









|

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง ตั้งอยู่
หมู่ที่ ๔ บ้านท่าลานทอง ตำบลคุริง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง เดิมชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยิลาน
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐ โดยคณะกรรมการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ได้จัดสร้างขึ้นเป็นอาคารเรียนชั่วคราว
๑ หลัง และทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๔๑ เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งทำพิธีเปิดเมื่อวันที่
๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ คณะกรรมการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวรขึ้น
๑ หลัง ขนาด ๘ x ๒๘ เมตร แต่ยังไม่แล้วเสร็จถูกพายุใต้ฝุ่นพัดอาคารเสียหายหมด
ประชาชนและกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จึงร่วมกันจัดสร้างขึ้นใหม่
โดยใช้วัสดุอุปกรณ์บางส่วนที่ยังใช้การได้อยู่ ก่อสร้างอาคารขนาด
๗ x ๒๐ เมตร และโรงอาหาร ๑ หลัง ซึ่งได้งบประมาณจากกรมตำรวจบางส่วน
และผู้บริจาคสมทบ
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ บริษัทเชลล์ ร่วมกับพนักงาน บริจาคเงิน
จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ ขนาด
๑๓ x ๑๔ เมตร โดยทำพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม
๒๕๓๔ บริษัทได้บริจาคเงินให้โรงเรียนอีก ๑๓,๐๐๐ บาท
เพื่อขุดบ่อปลาและทำฝายกั้นน้ำ หลังจากนั้นประชาชนได้ร่วมกันสร้างบ้านพักครูให้อีก
๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ โรงเรียนได้รับสนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากเกษตรอำเภอท่าแซะ
เพื่อปลูกในพื้นที่โรงเรียน จำนวน ๑๐ ไร่ และประชาชนได้ร่วมกันขยายโรงเรียนขึ้นอีก
๓ ห้องเรียน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ โรงเรียนได้รับงบ
กชช. เพื่อซ่อมแซมอาคารเรียน จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท และเปิดดำเนินการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่
๖
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๔ ไร่
|
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
สภาพหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา เนื้อที่ ประมาณ ๖,๐๐๐
ไร่ เป็นเขต สปก. ๔ - ๐๑ (ปี พ.ศ.๒๕๓๓) ประชาชนมีเอกสารสิทธิ์
ครอบครัวละ ๒๕ ไร่ มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก รพช. ๑ แห่ง
อ่างเก็บ สปก.๑ แห่ง มีสถานีอนามัย ๑ แห่ง โรงเรียนของ
สปช. ที่อยู่ใกล้เคียง คือ โรงเรียนประชานิคม ๒ ระยะทาง
๘ กิโลเมตร และมีพื้นที่โครงการปลูกป่าของป่าไม้ ๒,๐๐๐
ไร่
|
การคมนาคม
จากชุมพร ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตร จากอำเภอท่าแซะถึงโรงเรียน
๒๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ใช้ได้ในหน้าแล้ง
แต่ในฤดูฝนจะถูกน้ำเซาะบางแห่ง การคมนาคมจึงไม่สะดวก
|
จำนวนประชากร
มีประชากร ๑๑๔ ครัวเรือน เป็นชาย ๒๒๘ คน หญิง ๒๖๗ คน รวม ๔๙๕ คน
|
การประกอบอาชีพ
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา สวนผลไม้
และกาแฟ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ปลูกผักและพืชไร่ ร้อยละ ๑๕
ส่วนที่เหลือมีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ย ๑๘,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐
บาท/คน/ปี
|
ผู้นำหมู่บ้าน
นายมานิตย์ ช่วยอนันต์ กำนัน
นางสำเนียง สมบุญ ผู้ใหญ่บ้าน
|
ปัญหาของหมู่บ้าน
- การจุดไฟเผาไร่ในช่วงฤดูแล้ง
- ขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภคในฤดูแล้ง
- เส้นทางคมนาคม ในฤดูฝนบางช่วงใช้การไม่ได้
- ไม่มีไฟฟ้าใช้
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่าลานทอง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ
พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านทุ่งยอ
บางฝนตก และบางมาศ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
|
อาคารสถานที่
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑. อาคารเรียน
| กรมตำรวจ |
๒. อาคารเอนกประสงค์
| บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย |
๓. โรงอาหาร
| กก.ตชด.ที่ ๔๑ |
๔. อาคารเด็กเล็ก
| สส.จังหวัดชุมพร |
๕. ห้องพยาบาล
| กก.ตชด.ที่ ๔๑ |
๖. ห้องน้ำ ห้องส้วม
| นางยุพา พานิชชีวะ |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๔๕ คน เป็นชาย ๘๐ คน หญิง ๖๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน
|
ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
ยศ ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| หน้าที่รับผิดชอบ |
๑. ร.ต.ต.เดชา ครุฑเผือก
| ม.ศ.๓
| ครูใหญ่ |
๒. ส.ต.ท.ประยงค์ พานิชกุล
| ม.๖
| โครงการส่งเสริมสหกรณ์ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน |
๓. ส.ต.ท.วิรัตน์ ทองเทพ
| คบ.
| โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา |
๔. ส.ต.ต.สุริยชาติ บุญเมือง
| คบ.
| โครงการฝึกอาชีพ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก |
๕. ส.ต.ต.บุญเยี่ยม มีลาโพ
| ปกศ.สูง
| โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
๖. ส.ต.ต.ไพรัช แก้วเกล้า
| คบ.
| โครงการส่งเสริมการปลูกและขยายพันธุ์หญ้าแฝก |
๗. ส.ต.ต.ไพทูรย์ ลือกลาง
| คบ.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๘. นางสาวนิภา แดงสกล
| ม.๖
| ผู้ดูแลเด็ก |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๑๙
| ๒๓
| ๔๒ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๘
| ๖
| ๑๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๑๒
| ๖
| ๑๘ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๑๑
| ๘
| ๑๙ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๙
| ๗
| ๑๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๑๑
| ๖
| ๑๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๑๐
| ๙
| ๑๙ |
รวม
| ๘๐
| ๖๕
| ๑๔๕ |
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.ประยงค์ พานิชกุล
ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู และนักเรียน
|
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
ผลการดำเนินงาน
| ปีการศึกษา ๒๕๔๐
| ปีการศึกษา ๒๕๔๐ |
จำนวน
| %
| จำนวน
| % |
วันที่ตรวจ
| ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
| ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐ |
นักเรียนทั้งหมด
| ๑๐๔
| ๑๐๐
| ๑๐๔
| ๑๐๐ |
นักเรียนที่ตรวจ
| ๑๐๔
| ๑๐๐
| ๑๐๔
| ๑๐๐ |
คอพอกระดับ ๑A
| ๒๐
| ๑๙.๒
| ๙
| ๘.๖ |
ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐/ภาคเรียนที่ ๒
จำนวน (คน)
| คลุม
| ปกติ
| %
| ระดับ
| รวม
| % |
ชั้น
| นักเรียน
| ตรวจ
| %
| ๑A
| %
| ๑B
| % |
ป.๑
| ๑๕
| ๑๕
| ๑๐๐
| ๑๒
| ๘๐
| ๓
| ๒๐.๖
| -
| -
| ๓
| ๒๐.๖ |
ป.๒
| ๑๘
| ๑๘
| ๑๐๐
| ๑๖
| ๘๘.๘
| ๒
| ๑๑
| -
| -
| ๒
| ๒๐.๖ |
ป.๓
| ๑๙
| ๑๙
| ๑๐๐
| ๑๗
| ๘๙.๔
| ๒
| ๑๐.๕
| -
| -
| ๒
| ๑๐.๕ |
ป.๔
| ๑๖
| ๑๖
| ๑๐๐
| ๑๔
| ๘๗.๕
| ๒
| ๑๒.๗
| -
| -
| ๒
| ๑๒.๗ |
ป.๕
| ๑๗
| ๑๗
| ๑๐๐
| ๑๗
| ๑๐๐
| -
| -
| -
| -
| -
| - |
ป.๖
| ๑๙
| ๑๙
| ๑๐๐
| ๑๙
| ๑๐๐
| -
| -
| -
| -
| -
| - |
รวม
| ๑๐๔
| ๑๐๔
| ๑๐๐
| ๙๔
| ๙๐.๓
| ๙
| ๘.๖๕
| -
| -
| ๙
| ๘.๖๕ |
|