ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๔๑ (บ้านดอยล้าน)ระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๔๑ (บ้านดอยล้าน)

จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๓ โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ ได้มอบหมายให้หมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๕๐๖ ร่วมกับราษฎรสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓ มี สิบตำรวจเอกแก้ว ยิ่งสุข และสิบตำรวจตรีดอน พลศรี เป็นครูสอน
ในปี พ.ศ. ๐๕๐๕ ได้รับงบประมาณจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ มาสร้างอาคารอีก ๑ หลัง และต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนและนักเรียน
พาณิชการสีลม กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ สมทบอีก ๕,๐๐๐ รวมเป็น ๑๐๕,๐๐๐ บาท โดยมอบผ่านสำนักพระราชวัง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานให้จัดสร้างอาคารหลังใหม่อีก ๑ หลัง พร้อมกับบ้านพักครูอีก ๑ หลัง และทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นองค์ประธานในพิธีเปิด และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๔๑ เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านดอยล้าน มาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสิบตำรวจสมศักดิ์ ศักดิ์ใหญ่ เป็นครูใหญ่
ต่อมาในวันที่ ๓ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ คณะอาจารย์และนักศึกษาชมรมอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวันกรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๔ คน ร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ ออกค่ายอาสาพัฒนาก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๑๑ x ๔๓ เมตร จำนวน ๘ ห้องเรียน และห้องน้ำ ๑ หลัง

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๔๑ (บ้านดอยล้าน) เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘<.br>
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๓๙

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
    อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑)อาคารเรียน ๑ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    พระราชทาน โดยคณะอาจารย์และนักเรียน
    โรงเรียนพาณิชยการสีลมทูลเกล้าฯ ถวายเงิน
    ๒) อาคารเรียน ๒ ชมรมอาสาพัฒนาช่างกลปทุมวัน
    กรุงเพทมหานคร ปี ๒๕๓๔
    ๓) บ้านพักครู สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    พระราชทาน โดยคณะอาจารย์และนักเรียน
    โรงเรียนพาณิชยการสีลมทูลเกล้าฯ ถวายเงิน
    ๔) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
    ๕) โรงอาหาร - โรงครัว สโมสรโรตารี่ โดยอาสาพัฒนาสีลมและ
    นักเรียนช่างกลปทุมวัน
    ๖) ห้องน้ำ - ห้องส้วม นักศึกษามหาวิทยาลัย ชมรมอาสาพัฒนา
    วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
    ๗) อาคารสหกรณ์ร้านค้า
    -
    ๘) ร้านตัดผม วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
    ๙) บ่อเลี้ยงปลา กรมประมง
    ๑๐) คอกสุกร วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
    ๑๑) เล้าไก่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๔๔ คน เป็นชาย ๗๔ คน หญิง ๗๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย มีผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑) ด.ต.สมศักดิ์ ศักดิ์ใหญ่
    ปกศ.
    ครูใหญ่
    ๒) ด.ต.จำรัส ร้อยพงษ์
    ม.ศ.๓
    ครูผู้สอน
    ๓) จ.ส.ต.ประดิษฐ์ มาลัย
    ม.ศ.๓
    ครูผู้สอน
    ๔) จ.ส.ต.สิทธิศักดิ์ ปิยะปฐมพงษ์
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๕) จ.ส.ต.สนั่น อุตโม
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๖) ส.ต.อ.วัชระ สิทธิสม
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๗) ส.ต.อ.นพพร ยาวิราช
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๘) พลฯ ปัญญา ตาคำ
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๙) นางสาวอาชามะ แมวป่า
    ป.๖
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๐) นางสาวนิดา แซ่ย่าง
    ป.๖
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๗
    ๑๙
    ๓๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๖
    ๑๑
    ๒๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๗๔
    ๑๕
    รวม
    ๗๔
    ๗๐
    ๑๔๔

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ความชุกของคอพอกในเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘ /ภาคเรียนที่ ๑
    จำนวน (คน)
    คลุม
    ปกติ
    %
    ระดับ
    รวม
    %
    ชั้น
    นักเรียน
    ตรวจ
    %
    ๑A
    %
    ๑B
    %
    ป.๑
    ๒๗
    ๒๖
    ๙๖.๓๐
    ๑๗
    ๖๕.๓๘
    ๓๐.๗๗
    ๓.๘๕
    ๓๔.๖๒
    ป.๒
    ๑๙
    ๑๗
    ๘๙.๔๗
    ๑๕
    ๘๘.๒๔
    ๕.๘๘
    ๕.๘๘
    ๑๑.๗๖
    ป.๓
    ๑๔
    ๑๓
    ๙๒.๘๖
    ๑๐
    ๗๖.๙๒
    ๐.๐๐
    ๒๓.๐๘
    ๒๓.๐๘
    ป.๔
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๐๐
    ๑๐
    ๕๕.๕๖
    ๑๑.๑๑
    ๓๓.๓๓
    ๔๔.๔๔
    ป.๕
    ๑๕
    ๑๔
    ๙๓.๓๓
    ๕๗.๑๔
    ๐.๐๐
    ๔๒.๘๖
    ๔๒.๘๖
    ป.๖
    ๑๕
    ๑๓
    ๘๖.๖๗
    ๑๐
    ๗๖.๙๒
    ๐.๐๐
    ๒๓.๐๘
    ๒๓.๐๘
    รวม
    ๑๐๘
    ๑๐๑
    ๙๓.๕๒
    ๗๐
    ๖๙.๓๑
    ๑๑
    ๑๐.๘๙
    ๒๐
    ๑๙.๘๐
    ๓๑
    ๓๐.๖๙

    การดำเนินการ
    ๑. การส่งเสริมให้มีการใช้น้ำดื่มเสริมไอโอดีน
    ในโรงเรียนจัดน้ำดื่มเสริมไอโอดีน
    ๒. การใช้เกลือเสริมไอโอดีน
    ในโรงเรียน ใช้ในการประกอบอาหารรกลางวันในโรงเรียนทุกวัน
    ที่บ้าน แจกเกลือเสริมไอโอดีนพระราชทานทุกครอบครัว
    ๓. การให้การศึกษา
    ในโรงเรียน จัดไว้ในกระบวนการเรียน การสอนอย่างต่อเนื่อง
    ที่บ้าน ประชุมชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจถึงสาเหตุและโทษของการขาดสารไอโอดีนทุกครั้งที่มีการออกตรวจสอบติดตามผล
    ๔. ระบบเฝ้าระวัง
    ออกตรวจสอบติดตามประเมินผลการใช้เกลืออย่างต่อเนื่อง
    ตรวจสอบทัศนคติและสอบถามผลการใช้
    ตรวจอาการนักเรียน ปีละ ๒ ครั้ง

    การสนับสนุน
    ๑. เหลือเสริมไอโอดีนพระราชทาน
    ๒. การตรวจอาการนักเรียน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ สาธารณสุขเชียงราย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สรวย และหมวดพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๓๒

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๘๖)
    (เหนือ. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๓๙)