ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติระบบการศึกษา
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน (ปีการศึกษา ๑/๒๕๓๗)จำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติ

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันต.ิ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
บ้านใหม่พัฒนาสันติ อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอแม่แจ่ม ประมาณ ๓๓ กิโลเมตร ประชากรเป็นชาวเผ่ากะเหรี่ยง นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ สภาพตำบลนาจร และโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำแม่แจ่ม พิจารณาร่วมกันว่า หย่อมหมู่บ้านเล็ก ๓ หย่อม คือ บ้านแจ่มเตาะ บ้านขุนจอนน้อย และบ้านขุนจอนหลวง ซึ่งอยู่ห่างไกล มีปัญหาทางด้านการปกครองและการศึกษา ประชากรอาศัยอยู่ตามต้นน้ำลำธาร มีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่เป็นประจำ จึงได้ทำการอพยพประชากรมาอยู่รวมกันโดยตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "หมู่บ้านใหม่พัฒนาสันติ" อยู่ห่างจากบ้านแม่นาจรประมาณ ๕ กิโลเมตร และเป็นหมู่บ้านฝากของตำบลแม่นาจร ขณะนี้สภาตำบลแม่นาจรกำลังขออนุมัติแยกเป็นหมู่บ้านเอกเทศ ปัจจุบันบ้านใหม่พัฒนาสันติ มีประชากรอาศัยอยู่รวม ๑๑๒ คน จำนวน ๑๙ ครัวเรือน
ในระหว่างที่กำลังขออนุมัติการจัดตั้งตามนี้ ชมรมนักศึกษาเทคนิคแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ไปจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาประจำปี โดยจัดสร้างอาคารกึ่งถาวรขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๔ x ๑๐ เมตร ห้องน้ำ ๒ ที่นั่ง โต๊ะ-เก้าอี้ จำนวน ๔๕ ชุด แต่ยังไม่มีครูทำการสอน เนื่องจากยังไม่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ ได้รับการร้องขอจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอแม่แจ่ม เพื่อขอให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ทางกองกำกับฯ จึงได้สำรวจข้อมูลขออนุมัติหลักการไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ และคณะกรรมการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ได้อนุมัติจัดตั้งเพื่อเสริมความมั่นคงภายในชนบท หมู่บ้านเป้าหมาย เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ (ถือเป็นวันก่อตั้งของโรงเรียน)
ในระหว่างปี ๒๕๓๒ - ๒๕๓๔ เป็นช่วงที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ป่าไม้เขตจังหวัด เพื่ออนุญาติเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่จำนวน ๑๕ ไร่ จึงยังไม่สามารถจัดส่งครูเข้าไปดำเนินการให้การศึกษาแก่เด็กนักเรียน
เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ตัวแทนชมรม
ลูกเลือรถไฟมักกะสัน กรุงเทพ จำนวน ๕ คน ได้เดินทางมาสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศลแก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี โดยทางชมรมฯได้จัดสร้างอาคารแบบถาวรขนาด ๘x๒๔ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน ห้องน้ำ ครู นักเรียน ๔ ที่นั่งและห้องปัสสาวะ ๑ ห้อง เสาธง ๑ ชุด โดยเริ่มก่อสร้างระหว่าง ๔ มิถุนายน - ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ เสียค่าใช้จ่ายประมาณ ๒๙๖,๐๐๐ บาท
เดือนมกราคม ๒๑๕๓๖ ชมรมอาสาพัฒนาเทคนิคมีบุรี ได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำกิจกรรมประจำปี ได้รับอนุมัติให้จัดสร้างอาคารเรียน และอาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๗.๕๐ x ๓๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง โดยแบ่งเป็นห้องเรียน จำนวน ๓ ห้อง ห้องเอนกประสงค์ ขนาด ๗.๕๐ x ๑๒ เมตร โดยชมรมนักศึกษาดังกล่าวได้เริ่มก่อสร้างอาคารระหว่าง วันที่ ๑ - ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๖ เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมทั้งได้มอบอุปกรณ์สนามเด็กเล่นอีก ๑ ชุดด้วย

ระบบการศึกษา
ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ การสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านใหม่พัฒนาเพื่อสันติ บ้านขุนจอนหลวง บ้านขุนจอนน้อย และบ้านขุนมุ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคีเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๔๕ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๖๓ คน เป็นชาย ๓๕ คน หญิง ๒๘ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. ด.ต.ฉัตรชัย หนักแน่น
    ศษ.บ.
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๒. ส.ต.ท.วารินทร์ กุณณะตัน
    ม.ศ.๓
    โครงการสหกรณ์
    ๓. ส.ต.ต.เกษม คงทน
    ปวส.
    โครงการเกษตรฯ, โครงการอนุรักษ์ฯ
    ๔. ส.ต.ต.รัชชุกัมม์ ไชยนา
    ปกศ.สูง
    โครงการไอโอดีน, โครงการส่งเสริมฯ

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๔
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    รวม
    ๓๕
    ๒๘
    ๖๓

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน (ปีการศึกษา ๑/๒๕๓๗)
    ระดับชั้น จำนวน นร.ทั้งหมด จำนวนที่ตรวจ ภาวะการขาดสารไอโอดีน
    คน คน ร้อยละ ปกติ ระดับ ๑ ร้อยละ
    คน ร้อยละ A B  
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๓
    ๑๘
    ๗๘.๒๖
    ๕๐.๐๐
    -
    ๕๐.๐๐
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๕
    ๑๓
    ๘๖.๖๗
    ๔๖.๑๕
    -
    ๕๓.๘๕
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๐๐
    ๖๐.๐๐
    -
    ๔๐.๐๐
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๐๐
    ๔๖.๖๖
    -
    ๒๐.๐๐

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๔๐)
    (เหนือ ท๑ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๘)