ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลาระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษากิจกรรมการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของราษฎรภายในหมู่บ้าน ซึ่งมองเห็นความสำคัญด้านการศึกษาของบุตร-ธิดา เพื่อให้มีการอ่านออกเขียนได้ เดิมทีเด็กภายในหมู่บ้านไม่ได้รับการศึกษา เพราะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ห่างไกลคมนาคมและห่างไกลหมู่บ้านอื่นมาก เส้นทางเข้าออกมีแต่ทางเดินเท้า การสัญจรไปมาลำบากมาก จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีเส้นทางเข้าออกภายในหมู่บ้าน เพราะสภาพเส้นทางเป็นภูเขา ลำธาร ราษฎรในหมู่บ้านได้ไปขอความช่วยเหลือจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะเป็นพื้นที่อันตรายจากภายประเทศ คณะกรรมการหมู่บ้านปากลา จึงได้ร่วมกันไปขอความช่วยเหลือจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ ขณะนั้นผลรากฎ ว่ากองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนแดนเขต ๓ ยินดีที่จะจัดตั้งโรงเรียนให้ แต่อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ ระยะหนึ่งก่อน ต่อมานายเกิ้น นาแพง และราษฎรบ้านปากลาได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๓ ไร่ เพื่อปลูกสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ ขึ้น จำนวน ๑ หลัง
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๕ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ มีนักเรียนชาย จำนวน ๑๙ คน นักเรียนหญิง จำนวน ๑๑ คน รวมทั้งสิ้น ๓๐ คน เป็นอาคารเรียนชั่วคราว เรือนไม้ ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนและครูตำรวจตระเวนชายแดน จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ คือ ส.ต.ท.อุราช จันทร์วิจิตร พร้อมด้วย พลฯ กุ่ย สังข์ทอง มาทำการสอนนักเรียน จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ ได้รับงบประมาณให้การสนับสนุนจัดสร้างอาคารเรียนแบบแปลนของกระทรวงศึกษาธิการพร้อมบ้านพักครู
การคมนาคมภายในหมู่บ้านบ้านปากลาไม่มีถนนติดต่อหมู่บ้านภายนอก มีแต่ทางเดินเท้าจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๙ คณะครูได้ร่วมกับราษฎรในหมู่บ้านทำการปรับปรุงซ่อมแซมถนน ด้วยการระเบิดหินให้เป็นเส้นทาง และรถยนต์สามารถเข้าออกในหมู่บ้านได้เป็นครั้งแรก แต่ก็ยังเข้าได้เฉพาะหน้าแล้งเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ถนนไม่สามารถใช้การได้

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
บ้านปากลา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ โดยนายบุญยัง คงทน และราษฎรบ้านนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จำนวน ๖ คน ได้อพยพมาหาปลาที่บริเวณห้วยลา ซึ่งไหลเทลงน้ำโขงและเป็นที่มีปลาชุกชุม บางครั้งต้องเดินทางข้ามไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประเทศลาว เพื่อนำปลาที่จับได้ไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าอย่างอื่น เช่น ข้าว และสินค้าอุปโภคอื่น ๆ จนกระทั่วได้ตั้งรกรากอยู่เป็นหมู่บ้านปากลาในปัจจุบัน สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นป่าตามแนวเชิงเขาและเป็นลาญหิน จึงมีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรน้อยมาก จะมีพื้นที่เป็นดินเฉพาะบริเวณตามแนวตลิ่งของแม่น้ำโขงเท่านั้น

อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อบ้านดงนา ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่
ทิศใต้ติดต่อบ้านคันท่าเกวียน ตำบลนาโพธิ์กลาง
ทิศตะวันออกติดต่อแม่น้ำโขง
ทิศตะวันตกติดต่อบ้านโหง่นขาม ตำบลหนามแท่ง และบ้านซะซอม ตำบลนาโพธิ์กลาง

การคมนาคม
หมู่บ้านปากลา เป็นหมู่บ้านชายแดน ห่างไกลการคมนาคม ไม่มีถนนเข้าถึงหมู่บ้าน มีแต่ทางเกวียน ซึ่งสามารถใช้ได้บางฤดูกาลเท่านั้น ราษฎรส่วนใหญ่นิยมใช้การคมนาคมทางเรือ ตามลำแม่น้ำโขง ถึงบ้านคันท่าเกวียน ระยะทางประมาณ ๑๔ กิโลเมตร สำหรับส่วนราชการในพื้นที่มักใช้การเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ของทางราชการ

จำนวนประชากร
ปัจจุบันหมู่บ้านปากลา มีประชากร จำนวน ๖๗ ครอบครัว เป็นชาย ๑๖๘ คน หญิง ๑๖๖ คน รวม ๓๓๔ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรหมู่บ้านปากลา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตที่ได้ไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค เนื่องจากมีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย ทำให้ราษฎรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีรายได้เฉลี่ย ๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายชิน แสงเมตร
ผู้ใหญ่บ้าน นายสมพงษ์ คงทน

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
หมู่บ้านใกล้เคียง ได้แก่ หมู่บ้านดงนา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านปากลา ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีประชากร ๕๔ ครอบครัว เป็นชาย ๑๔๑ คน เป็นหญิง ๑๒๘ คน รวมทั้งสิ้น ๒๖๙ คน สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน การประกอบอาชีพของราษฎร คล้ายคลึงกันกับราษฎรบ้านปากลา

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก
๒. ขาดแคลนน้ำบริโภค และใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง
๓. ไม่มีที่ดินทำกินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง
๔. ต้องการมีอาชีพที่มั่นคง และอาชีพเสริม เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการครองชีพ
๕. ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมการประกอบอาชีพ ทั้งด้านวิชาการ และการตลาด

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านปากลา ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียน ๑ เปิด ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียน ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึง พฤศจิกายน ๒๕๓๗
  • ภาคเรียน ๓ เปิด ๑ ธันวาคม ๒๕๓๗ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๐ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๗๕ คน เป็นชาย ๔๑ คน หญิง ๓๔ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ ทำหน้าที่
    ๑) ด.ต.พิสุทธิ์ กุลโชติ ม.ศ. ๓ ครูใหญ่
    ๒) ด.ต.จาตุรงค์ เจริญศรี ม.ศ. ๓ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๓) จ.ส.ต.สังกา บุญครอง
    -
    -
    ๔) จ.ส.ต.เสถียร จันทรศรี ม.ศ. ๓ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๕) จ.ส.ต.ทรงศิลป์ กลิ่นหวาน ม.ศ. ๕ ครูห้องสมุด
    ๖) พลฯไชยา สมัครวงษ์ ม.ศ. ๕ โครงการส่งเสริมสหกรณ์

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    -
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๓
    ๒๐
    รวม
    ๔๑
    ๓๔
    ๗๕

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินการโครงการตามพระราชดำริฯ ขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๓๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้ ี

    งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    หน่วยงานที่รับผิดชอบ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒

    กิจกรรมการดำเนินงาน
  • จัดอบรมครูตำรวจตระเวนชายแดนในขณะปิดภาคเรียนในเรื่องของ จิตวิทยา
  • - สอนเด็กอนุบาล หลักสูตรประถมศึกษาฉบับปรับปรุงใหม่ และจัดหาวัสดุสื่อการเรียนการสอน
  • - ปรับปรุงห้องสมุด จัดหาหนังสือที่มีประโยชน์สำหรับเด็กและเยาวชน เพื่ออ่านเสริมความรู้เวลาว่างตลอดถึงแนะนำการรู้จัดเก็บหนังสือ และการถนอมหนังสือ
  • - ประสานงานกับหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้เป็นลักษณะการเรียนที่เหมือนกัน

  • แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๕)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๔ ๒๕๓๗)
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๗)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘ ๒๕๔๐)