ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาชมภูระบบการศึกษา
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๙๘
สรุปผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาชมภู

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านนาชมภู ตำบลบ้านก้อง อำเภอนาง จังหวัดอุดรธานี
สืบเนื่องจากเด็กนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านก้อง ซึ่งมีระยะทางห่างจากบ้านนาชมภู ๕ กิโลเมตร มีความยากลำบาก โดยเฉพาะในฤดูฝน ผู้ใหญ่บ้านจึงได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนายูง เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนสาขาโรงเรียนบ้านก้อง แต่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนายูง ไม่สามารถจัดตั้งโรงเรียนได้ เนื่องจากที่ดินบริเวณจัดตั้งโรงเรียนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ จึงแนะนำให้ประสานไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยกองกำกับฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจข้อมูล และทำหนังสือขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ต่อมากองกำกับฯ ได้รับหนังสือจากจังหวัดอุดรธานีว่าเห็นชอบให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนาชมภูกองกำกับฯ จึงได้ดำเนินการจนได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๘
หลังจากได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแล้ว กองกำกับฯ จึงทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีนายอำเภอนายูง สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนายูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ และได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าไปประชมราษฎรบ้านนาชมภู และร่วมกับราษฎรในหมู่บ้านปรับปรุงสถานที่ และจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ขนาด ๖ x ๑๘ หลังคามุงจาก จำนวน ๑ หลัง ในพื้นที่ใกล้บริเวณหมู่บ้าน เปิดดำเนินการสอนเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๘
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่

ข้อมูลหมู่บ้าน
เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ในระยะเริ่มแรกของการก่อตั้ง ได้มีราษฎรจากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้อพยพครอบครัวเข้าไปทำมาหากิน และประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทำไร่ ทำนา โดยเข้าไปจับจองที่ดิน ในพื้นที่ตำบลบ้านก้อง ห่างจากบ้านก้องไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี
หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีราษฎรอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้มีราษฎรอพยพเข้ามาจับจองที่ดินเพิ่มมากขึ้น จำนวน ๔๖ ครอบครัว ทางราชการจึงได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย และได้ทำการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนแรกขึ้น คือ นายสุที ศรีคำม่อม เป็นผู้ใหญ่บ้านนาชมภูคนแรก ปกครองหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

การคมนาคม
มีถนนเข้าถึงหมู่บ้านจังหวัดอุดรธานี ผ่านอำเภอนาผือ อำเภอน้ำโสม จนถึงหมู่บ้านนาชมภู ระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร สภาพถนนลาดยาง ๙๘ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๒๐ กิโลเมตร รถยนต์สามารถวิ่งเข้าออกได้ทุกฤดูกาล

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น ๒๔๒ คน แยกเป็นชาย ๑๒๓ คน หญิง ๑๑๙ คน จำนวน ๕๗ ครอบครัว

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าวโพด ปลูกอ้อย และราษฎรบางส่วนต้องอพยพไปขายแรงงาน และรับจ้างที่ต่างจังหวัด รายได้ต่อครอบครัวต่อปีอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เฉลี่ย ๒๐,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

การปกครองและศาสนา
ราษฎรในหมู่บ้านนาชมภู จะปกครองกันแบบประชาธิปไตย มีผู้นำเป็นผู้ใหญ่บ้าน ให้ความเคารพต่อผู้นำ ผู้อาวุโสและผู้สูงอายุในหมู่บ้าน อยู่กันลักษณะครอบครัวใหญ่แบบเครือญาติ มีคณะกรรมการหมู่บ้านในการควบคุมกำกับดูแลภายในหมู่บ้าน ทุกครอบครัวบันถือศาสนาพุทธ มีสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง และยึดถือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมประเพณีไทยของท้องถิ่น

การสาธารณสุข
เมื่อราษฎรเจ็บป่วย จะเดินทางไปใช้บริการที่สถานีอนามัยตำบลบ้านก้อง ระยะทาง ๕ กิโลเมตร มี อสม. ประจำหมู่บ้าน ๙ คน และมีส้วมใช้ทุกครอบครัว ชีวิตความเป็นอยู่ยังไม่ดีเท่าที่ควร ยังมีค่านิยมในการบริโภคอาหารประเภทสุก ๆ ดิบ ๆ

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน      นายเสมือน   จันทรมณี ผู้ใหญ่บ้าน    นายสุที   ศรีคำม่อม

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านก้อง หมู่ที่ ๑ นายสมพร บุตรวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น ๓๖๗ คน ๖๗ ครอบครัว อาชีพเกษตรกรรม นับถือศาสนาพุทธ
๒. บ้านทุ่งศรีทอง หมู่ ๙ นายวิชัย ทาศิลา เป็นผู้ใหญ่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น ๘๘๙ คน ๒๑๒ ครอบครัว อาชีพเกษตรกรรม นับถือศาสนาพุทธ

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. สภาพถนนภายในหมู่บ้าน
๒. สภาพถนนเข้า-ออก ระหว่างหมู่บ้าน
๓. ขาดความรู้ด้านการเกษตร
๔. ผลผลิตทางการเกษตรไม่มีราคา

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาชมภู สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านนาชมภู บ้านก้อง บ้านทุ่งศรีทอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน ๑ หลัง
    ๒) อาคารห้องสุขา ๑ หลัง
    ๓) อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง
    ๔) อาคารสหกรณ์ พยาบาล ๑ หลัง
    ๕) อาคารบ้านพักครู ๑ หลัง
    ๖) สนามเด็กเล่น
    -เครือโรงแรมอมารี กรุงเทพฯ (นำโดย ม.ล.สุรวุฒิ ทองแถม
    สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง)
    -กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ ได้รับมอบ
    วัสดุก่อสร้างเหลือใช้จากการรื้อถอนอาคารพระตำหนัก
    หนองประจักษ์ จังหวัดอุดรธานี (ประเภทไม้ขนาดต่าง ๆ )
    -เครือโรงแรมอมารี กรุงเทพฯ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๕๖ คน เป็นชาย ๒๙ คน หญิง ๒๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ี

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) ด.ต.บำรุง หัสโน
    ม.ศ.๕
    ครูใหญ่/บริหารงานในโรงเรียน
    ๒) จ.ส.ต.สฤษดิ์ ธรรมเจริญ
    พม.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๓) ส.ต.อ.มงคล บุญยอด
    รบ.
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๔) ส.ต.ท.วิเชียร สุวรรณคำ
    คบ.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๕) ส.ต.ต.สมศักดิ์ ดุจพายัพ
    ม.๖
    โครงการฝึกอาชีพ/โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๖) ส.ต.ต.ประคอง นารถศรีทา
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗) ส.ต.ต.พัฒนศักดิ์ คำภักดี
    ปวช.
    ความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน
    ๘) ส.ต.ต.ปรีชา กังขอนนอก
    ปวช.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน/
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพ
    อนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น ชาย หญิง รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม ๒๙ ๒๗ ๕๖

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๔ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๔ คน ดังนี้

    ปีการศึกษา ชื่อ - นามสกุล ศึกษาต่อ ประกอบอาชีพ สถานศึกษา
    ๒๕๓๘ ด.ญ.ปูนา ภูเงิน ม.๒ - ร.ร.บ้านก้องวิทยา
    ๒๕๓๘ ด.ช.ไพศาล บุตรดีดำ ม.๒ - ร.ร.บ้านก้องวิทยา
    ๒๕๓๘ ด.ช.สันตินิมิตร นันทา ม.๒ - ร.ร.มัธยมน้ำโสม
    ๒๕๓๘ ด.ญ.สุชาดา จันดี - เกษตร -
    ๒๕๓๘ ด.ญ.บัวสด ดาสา - เกษตร -
    ๒๕๓๙ ด.ญ.สายชล จันทร์ภิรมย์ ม.๑ - ร.ร.ชุมชนบ้านน้ำโสม
    ๒๕๓๙ ด.ญ.เอื้อมดาว ศรีบุญเรือง ม.๑ - ร.ร.บ้านก้องวิทยา
    ๒๕๓๙ ด.ญ.สมบัติ บุญพร้อม - เกษตร -
    ๒๕๓๙ ด.ญ.อรุณ วันโส - - -

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
    แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๙๘

    วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
    สถานที่ ร.ร.ตชด.บ้านนาชมภู หมู่ที่ ๘ ตำบลล้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
    ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึง ๑๔.๐๐ น.

    จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
    หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนทางด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน ทั้งสิ้น ๗๖ คน (รายละเอียดตามผนวก ก.) และสามารถจำแนกได้ดังนี้

    หน่วยงาน
    เจ้าหน้าที่
    แพทย์
    เภสัชกร
    ทันตแพทย์
    พยาบาล
    อื่น ๆ
    รวม
    สำนักงานส่วนพระองค์ ฯ
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี
    ๑๘
    ๔๔
    ๖๙
    กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    รวมทั้งสิ้น
    ๑๘
    ๕๐
    ๗๖

    สรุปผลการดำเนินงาน
    การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
    มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพจำนวนทั้งสิ้น ๔๒ คน นักเรียนชาย ๒๑ คน (ร้อยละ ๕๐.๐๐) และนักเรียนหญิง ๒๑ คน (ร้อยละ ๕๐.๐๐) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

    จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
    โรค
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ปกติ
    ๐.๐๐
    โรคระบบทางเดินหายใจ
    ๒.๓๘
    โรคระบบทางเดินอาหาร
    ๐.๐๐
    โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
    ๐.๐๐
    โรคระบบประสาท
    ๐.๐๐
    โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
    ๐.๐๐
    โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
    ๐.๐๐
    โรคผิวหนัง
    ๐.๐๐
    โรคเหงือกและฟัน
    ๑๑.๙๐
    โรคอื่น ๆ
    ๐.๐๐
    รวม
    ๔๒
    ๑๐๐

    จากตาราง โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ โรคเหงือกและฟัน (ร้อยละ ๑๑.๙๐) รองลงมาคือ โรคเหงือกและฟัน (ร้อยละ ๑๑.๙๐)

    การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
    ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เพื่อเข้ารับบริการตรวจรักษาจำนวนทั้งสิ้น ๓๗๐ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๑๓๒ คน (ร้อยละ ๓๕.๖๘) และหญิง ๒๓๘ คน (ร้อยละ ๖๔.๓๒) ดังแสดงรายละเอียดในตารางต่อไปนี้

    โรค
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ปกติ
    ๑๐๐
    ๒๗.๐๓
    โรคระบบทางเดินหายใจ
    ๓๒
    ๘.๖๕
    โรคระบบทางเดินอาหาร
    ๖๕
    ๑๗.๕๗
    โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
    ๑๖
    ๔.๓๒
    โรคระบบประสาท
    ๒.๔๓
    โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
    ๕๔
    ๑๔.๕๙
    โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
    ๒๘
    ๗.๕๗
    โรคผิวหนัง
    ๑๒
    ๓.๒๔
    โรคเหงือกและฟัน
    ๑๔
    ๓.๗๘
    โรคอื่น ๆ
    ๔๐
    ๑๐.๘๑
    รวม
    ๓๗๐
    ๑๐๐

    จากตาราง โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร (ร้อยละ ๑๗.๕๗) รองลงมาคือ โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (ร้อยละ ๑๔.๕๙)

    จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
    ผู้เข้าทำการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุ ในช่วง ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ ๔๖.๔๙) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุ มากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๓๙.๑๙)

    ช่วงอายุ (ปี)
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    น้อยกว่า ๑ ปี
    ๐.๘๑
    ๑ - ๔
    ๒๖
    ๗.๐๓
    ๕ - ๑๔
    ๑๔
    ๖.๔๙
    ๑๕ - ๔๙
    ๑๗๒
    ๔๖.๔๙
    มากกว่า ๕๐ ปี
    ๑๔๕
    ๓๙.๑๙
    รวม
    ๓๗๐
    ๑๐๐.๐๐

    จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสภานภาพของผู้ป่าย
    ผู้ป่วย
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ผู้ป่วยทั่วไป
    ๔๑๒
    ๙๔.๕๐
    ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
    ๒๔
    ๕.๕๐
    รวม
    ๔๓๖
    ๑๐๐.๐๐

    ค่าใช้จ่าย
    ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ที่ ร.ร.ชด. บ้านนาชมภู เป็นจำนวนเงิน ประมาณ ๘๙๙๙.๐๐ บาท

    กองทุนพระราชทาน
    สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินเพื่อจัดตั้ง "กองทุนสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี" ให้แก่ ๑. รพ. นายูง จำนวน ๕๐๐๐.๐๐ บาท
    ๒. รพ. น้ำโสม จำนวน ๕๐๐๐.๐๐ บาท
    ๓. รพ. บ้านผือ จำนวน ๕๐๐๐.๐๐ บาท

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๑๙๔)
    [ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๔๐ (๑๙๘)]

    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๑๐๑)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๖๔ ๒๕๔๐)