bannayao
bannaesan

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาวระบบการศึกษา
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๗รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๖๐

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่รับผิดชอบของ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จัดตั้งขึ้นเมื่อปลายปี ๒๕๒๗ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และห่างจากโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่อยู่ไกลที่สุดเป็นระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมในฤดูฝนลำบากมาก สองข้างทางมีสภาพเป็นป่าทึบทำให้เด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับไม่สามารถไปเรียนได้ ราษฎรในหมู่บ้าน จำนวน ๗๒ ครอบครัว ขณะนั้นได้เห็นความสำคัญถึงการศึกษาของบุตรหลาน จึงได้ร่วมใจกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง บนพื้นที่ ๓๕ ไร่ และประสานกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑ นาย มีนักเรียนชาย-หญิง จำนวน ๔๐ คน และได้รับอนุญาติให้จัดตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ และเปิดทำการสอนเมื่อเดือน มิถุนายน ๒๕๒๘
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา มีราษฎรได้อพยพเข้ามาอยู่บ้านนายาวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีเด็กที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับมากขึ้นตามลำดับ อาคารเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ ได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๖ ห้องเรียน ไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีศรีสังวาลย์ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท ( สี่หมื่นบาทถ้วน ) ก่อสร้างอาคารเรียน และคุณหญิงบุญเจือ ชัยภัฎ ประธานมูลนิธิสตรีวิทยาอุปภัมภ์ร่วมสมทบ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ( สามแสนบาทถ้วน ) ทำการก่อสร้างโดยนักศึกษาอาจารย์วิทยาลัยครูพระนคร ชุดช่างกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ และราษฎรบ้านนายาว
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ถึงปัจจุบัน ได้มีภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนอาคารเรียน อาคารประกอบเพิ่มขึ้นอีกคือ นายสุเทพ ทิพไกรสร เจ้าของไร่ ศ. เศรณี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อสร้างอาคารแบบอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง มูลค่า ๕๐,๐๐๐ ( ห้าแสนบาทถ้วน ) นายสุชาติ ตันเจริญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร ขนาด ๖ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ซึ่งไม่มีฝา ไม่ปูพื้นซีเมนต์ หลังคามุงด้วยสังกระสี มูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท ( ห้าหมื่นบาทถ้วน ) ต่อมาเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทราปรับปรุงซ่อมแซมฝาผนังและเทพื้นซิเมนต์เป็นมูลค่า๑๔๐,๐๐๐ บาท ( หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน ) ทำการปรับปรุงโดยราษฎรบ้านนายาว คณะอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และช่างก่อสร้าง อาคารเรียนแบบถาวร ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง มูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนบาทถ้วน ) สหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ร่วมกับชมลมผู้เลี้ยงหมู จังหวัดฉะเชิงเทรา สนับสนุนอุปกรณ์ และช่างก่อสร้างอาคารโรงเรียนอาหารแบบถาวร ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร มูลค่า ๒๕๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน ) ต่อมาราษฎรบ้านนายาวและราษฎรบ้านนาดี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เทพื้นซิเมนต์เพิ่มเติมในพื้นที่ ๑๒๐ ตารางเมตร มูลค่า ๒๐,๐๐๐ บาท ( สองหมื่นบาท ) ซึ่งกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ ร่วมมือกับราษฎรบ้านนายาว จัดชุดช่างดำเนินการจนสำเร็จ
ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒๗ นาย ครูช่วยสอน ๔ คน เป็นชาย ๒ คน เป็นหญิง ๒ คน ผู้ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๒ คน นักเรียน ชาย - หญิง จำนวน ๘๓๐ คน เป็นเด็กชาย ๔๓๒ คน เป็นเด็กหญิง จำนวน ๓๙๘ คน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดกลุ่มโรงเรียนท่ากระดาน สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสนามชัยเขต สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติความเป็นมา

หมู่บ้านนายาว ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราตั้งอยู่ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ส่วนใหญ่โดยรอบเป็นป่าไม้เบญจพรรณประกอบด้วย ไม้มะค่า ไม้พยุง ไม้ตะแบก ไม้กระบก ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ โดนนายนา ไม่ทราบนามสกุล พร้อมครอบครัวได้อพยพเข้ามาอยู่เป็นครอบครัวแรก อยู่ในความปกครองของนายจันทรศูนย์ งามวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน อยู่ที่บ้านทุ่งเหียงห่างจากบ้านนายาว เป็นระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร ซึ่งต่อมา นายนา นำญาติของตนเองและภรรยาอพยพเข้ามาอยู่ด้วย ทำให้เป็นหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านนายาว ตั้งชื่อตามชื่อนายนาและตั้งตามลักษณะพื้นที่นาของนายนา ซึ่งนายนามรพื้นที่นายาวมาก ราษฎรส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดอุบลราชธานี, สุรินทร์, ศรีษะเกษ, บุรีรัมย์, เลย, หนองคาย, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, กาฬสินธุ์, นครพนม, สกลนคร, ซึ่งต่อมามีการอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้น และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ นายจันทร์ศูนย์ งามวงศ์ ลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน นายบุญส่ง ยุธยงค์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนและได้ย้ายที่ทำการผู้ใหญ่บ้านมาอยู่หมู่บ้านนายาว

สภาพทางกายภาพชุมชน

ลักษณะภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง บ้านนายาว หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอสนามชัยเขตไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง ๖๕ กิโลเมตร ห่างจากกิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร ห่างจากอำเภอกบินบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร พื้นที่หมู่บ้านนายาวเป็นที่ราบเชิงเขามีถนนดินลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับอำเภอสนามชัยเขตตลอดเส้นทาง
อาณาเขตพื้นที่ติดต่อ
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อกับบ้านคลองภวาหมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๕ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมเป็นดินใช้ได้เฉพาะฤดูแล้ง
ทิศใต้ มีพื้นที่ ติดต่อ กับบ้านนาอิสาน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๖ กิโลเมตร เส้นทางการคมนาคมเป็นดินลูกรังใช้ได้ดีเฉพาะฤดูแล้ง
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อกับบ้านทุ่งเหียง หมู่ที่ ๑๑ ตำลบท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เส้นทางคมนาคมเป็นลูกรัง ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรใช้ได้เฉพาะฤดูแล้ง
ทิศตะวันตก พื้นที่เป็นป่ากว้างติดต่อกับบ้านอ่างเสือดำ หมู่ ๙ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ บ้านนายาวตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ดินดี เป็นดินเหนียวปนทรายซึ่งเหมาะแก่การปลูกพืชสวนพืชไร่ อุดมสมบูรณ์ ไปด้วยป่าไม้พืชที่มีการเพาะปลูกมาก ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด เผือก ปอ เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ ๔,๐๐๐ ไร่

ทรัพยากรธรรมชาติ

ป่าไม้ แต่เดิมหมู่บ้านนายาว และหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้หนาแน่นมาก เช่น ไม้มะค่า ไม้พยูง ไม้ตะแบก ไม้กระบก และป่าไม้เบญจพรรณเป็นจำนวนบริเวน กว้างขวางมาก ต่อมาป่าไม้ได้ถูกผู้มีอิทธิพลบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้โดยให้ประชาชนในพื้นที่บริเวณนั้นทำการแปรรูปไม้ให้ จากการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่เคยขึ้นหนาทึบกลับกลายเป็นป่าโปร่ง ในปัจจุบันสภาพป่าที่เหลือคงอยู่ไกลจากหมู่บ้านเท่านั้น ดินจากที่พื้นที่เคยเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ทำให้พื้นที่บ้านนายาวอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่เป็นอาหารของพืชเป็นอย่างดีเหมาะแก่การเกษตรกรรมมีการปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วลิสง งา ได้ผลผลิตดีมาก
สัตว์ป่า เนื่องจากเมื่อก่อนสภาพป่าเคยเป็นป่าดงดิบ ทำให้มีสัตว์ป่ามากมาย เช่น ช้างเสือ เก้ง กวาง หมูป่า นกชนิดต่าง ๆ เมื่อป่าหมดไป คงเห็นเพียงแต่ กระต่ายป่า กระแต กระรอก และไก่ป่าบ้างเท่านั้น ปัจจุบันสัตว์พวกนี้ใกล้จะหมดไปจากพื้นที่แล้ว แหล่งน้ำ หมู่บ้านนายาวเป็นหมู่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ แหล่งน้ำที่มีอยู่ห่างไกล เช่น คลองขาม ซึ่งไหลมาจากเขาตระกรุบไหลผ่านบ้านอิสานบ้านคลองขาม บ้านทุ่งส่อหงษ์สาไหลลงคลองพระสะทึ่งที่กิ่งอำเภอเขาฉกรรจ์

โครงสร้างการปกครองและสังคม

ประชากร
ปัจจุบันหมู่บ้านนายาว มีจำนวน ๑.๒๐๐ หลังคาเรือน ประชากรจำนวน ๑๓.๐๐๐ คน ( เป็นชาย ๖,๑๕๕ คน หญิง ๖,๘๔๕ คน )

การแบ่งการปกครอง
หมู่บ้านนายาว แบ่งการปกครองออกเป็นกลุ่ม รวม ๒๐ กลุ่ม แต่เรียนเป็นชื่อดอกไม้ มีครูตำรวจตระเวนชายแดนเป็นที่ปรึกษาของแต่ละกลุ่ม

การศาสนา
หมู่บ้านนายาว มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ ๙๕ เปอร์เซ็น ศาสนาคริสต์ ๕ เปอร์เซ็น ภาษาที่ใช้พูด ภาษาไทยอิสาน โดยแยกเป็น
๑. สำนักสงค์ ๓ แห่ง
๒. โบสถ์คริสต์ ๑ แห่ง
การสาธารณสุข
ในหมู่บ้านนายาว มีการคมนาคมขนส่งโดยรถโดยสารประจำทางวิ่งระหว่าง หมู่บ้าน - อำเภอ แยกเป็น ๓ เส้นทางดังนี้
นายาว - กบินทร์ ระยะทาง ๖๕ กม. อัตราค่าโดยสาร คนละ ๓๐ บาท มีรถเมล์ขนาดเล็ก วันละ ๑ เที่ยว จำนวน ๓ คัน
นายาว - เขาฉกรรจ์ ระยะทาง ๓๕ กม. อัตราค่าโดยสาร คนละ ๓๐ บาท มีรถเมล์โดยสารขนาดกลาง วันละ ๑ เที่ยว จำนวน ๒ คัน
นายาว - สนามชัยเขต ระยะทาง ๖๕ กม. อัตราค่าโดยสาร คนละ ๓๐ บาท มีรถเมล์โดยสาร วันละ ๑ เที่ยว จำนวน ๓ คัน

ระบบการศึกษา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จังหวัดสระแก้ว เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านนายาว บ้านทุ่งเหียง บ้านภูงาม บ้านคลองพวา บ้านป่างิ้ว บ้านนาอิสาน หมู่ที่ ๑๑ ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และบ้านหนองสาหร่าย ตำลบวังตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เข้ารับการศึกษาเป็นประจำทุกปี

โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๑๗

วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๘
สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชาย แดนบ้านนายาว ตำบลท่ากระดาน อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่ เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึงเวลา๑๑.๐๐ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับ การสนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วย งานส่วนกลางและหน่วยงานใน พื้นที่ จำนวนทั้งสิ้น ๗๙ คน (รายละเอียดตาม ผนวก ก) สามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
แพทย์ทหาร
-
-
-
-
ตำรวจตระเวนชายแดน
-
-
-
๑๑
๑๒
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๑๐
๑๓
๓๐
๖๔
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
๑๑
๑๔
๔๓
๗๙

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านนายาว มีนักเรียนเข้ารับ บริการ ตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้ง สิ้น ๓๔๑ คน เป็นนักเรียนชาย๑๘๐ คน (ร้อยละ ๕๒.๗๙) นัก เรียนหญิง ๑๖๑ คน (ร้อยละ ๔๗.๒๑) สุขภาพ ปกติ ๑๐๙ คน เจ็บป่วย ๒๓๒ คน แบ่งแยกระบบ โรคได้ดังนี้ ระบบทางเดิน หายใจ ๙๕ คน ทางเดินอาหาร ๔๐ คน โรค ผิวหนัง๗ คน เข้ารับบริการทันตกรรม ๙๐ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราช ทานครั้งรี้ มีราษฎรที่มาเฝ้า รอรับเสด็จฯ เพื่อเข้ารับบริการตรวจ รักษา จำนวนทั้งสิ้น ๔๖๙ คน ในจำนวนนี้เป็น ชาย๑๘๗ คน (คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๘๗) และ หญิง ๒๘๒ คน (คิดเป็นร้อยละ๖๐.๑๓)
การ ให้บริการตรวจวัดสายตาประกอบ แว่น โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ ได้มา ร่วมออกหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อ ตรวจวัดสายตาประกอบแว่นแก่ เด็ก นักเรียนและราษฎร จำนวน ๗๐ คน

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วน ใหญ่มีอายุ ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ๔๙.๖๘) รองลง มาคือกลุ่มผู้มีอายุมาก กว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ๓๙.๒๓)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑๔
๒.๙๙
๑ - ๔
๒๖
๕.๕๔
๕ - ๑๔
๑๒
๒.๕๖
๑๕ - ๔๙
๒๓๓
๔๙.๖๘
มากกว่า ๕๐ ปี
๑๘๔
๓๙.๒๓
รวม
๔๖๙
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๔๔๐
๙๓.๘๒
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๒๙
๖.๑๘
รวม
๔๖๙
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่ สุด คือ โรคระบบกล้ามเนื้อและ กระดูก (ร้อยละ ๒๖.๔๔) รองลงมาคือ โรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อย ละ๒๐.๘๙) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๙๗
๒๐.๘๙
โรคระบบทางเดินอาหาร
๘๐
๑๗.๐๖
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๑๔
๒.๙๙
โรคระบบประสาท
๓๖
๗.๖๘
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๑๒๔
๒๖.๔๔
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ& อวัยวะสืบพันธุ์
๑.๔๙
โรคผิวหนัง
๒๘
๕.๙๗
โรคเหงือกและฟัน
๔๐
๘.๕๓
โรคอื่น ๆ
๔๒
๘.๙๕
รวม
๔๖๙
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น เนื้องอกบริเวณดั้ง จมูก ขาพิการลิ้นหัวใจรั่ว โรคเลือด พัฒนา การช้า ปัญญาอ่อน เนื้องอกที่หน้าอก

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทาน ใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระ ราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชาย แดนบ้านนายาว รวมเป็นเงิน ประมาณ๙,๗๔๑ บาท และได้รับการสนับสนุน ยาบางส่วนจากสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม บรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงิน ให้แก่โรงพยาบาลราชสาส์นโรง พยาบาลเมตตาประชารักษ์ โรงพยาบาลบาง น้ำเปรี้ยว โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จำนวนโรง พยาบาลละ๕,๐๐๐ บาท จัดตั้ง "กองทุนพระราช ทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจน ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม บรมราชกุมารี" และโรงพยาบาลเมือง ฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลบางปะ กง โรงพยาบาลพนมสารคาม จำนวนโรง พยาบาลละ๓,๐๐๐ บาท เพื่อสมทบกองทุน ดังกล่าว

รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วย
แพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๑๖๐

วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๐
สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๒.๐๐ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น ๑๑๐ คน (รายละเอียด ผนวก ก) สามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
-
-
-
๑๒
๑๓
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๑๔
๖๕
๙๕
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
๑๔
๗๙
๑๑๐

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๒๓ คน นักเรียนชาย ๘ คน (ร้อยละ ๓๔.๗๘) และนักเรียนหญิง ๑๕ คน (ร้อยละ ๖๕.๒๒) สุขภาพปกติ ๒๓ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฎรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เข้าทำการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๓๖๗ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๑๑๔ คน (ร้อยละ ๓๑.๐๖) และหญิง ๒๕๓ คน (ร้อยละ ๖๘.๙๔) และมีผู้เข้ารับบริการทันกรรม ๕๖ คน

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุในช่วง ๑๕ - ๔๙ ปี (ร้อยละ ๔๗.๑๔) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๓๒.๗๐)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑๔
๓.๘๒
๑ - ๔
๔๒
๑๑.๔๔
๕ - ๑๔
๑๘
๔.๙๐
๑๕ - ๔๙
๑๗๓
๔๗.๑๔
มากกว่า ๕๐ ปี
๑๒๐
๓๒.๗๐
รวม
๓๖๗
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสภานภาพของผู้ป่าย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๑๕๘
๙๗.๕๕
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๒.๔๕
รวม
๓๖๗
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วย เข้ารับการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ ๒๖.๙๘) รองลงมาคือ โรคกล้ามเนื้อและกระดูก (ร้อยละ ๒๐.๔๔) ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๙๙
๒๖.๙๘
โรคระบบทางเดินอาหาร
๔๘
๑๓.๐๘
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๔๑
๑๑.๑๗
โรคระบบประสาท
๑๓
๓.๕๔
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๗๕
๒๐.๔๔
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
๑๑
๓.๐๐
โรคผิวหนัง
๒๕
๖.๘๑
โรคเหงือกและฟัน
๑.๖๓
โรคอื่น ๆ
๔๙
๑๓.๓๕
รวม
๓๖๗
๑๐๐.๐๐

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว เป็นเงินประมาณ ๙,๘๐๐ บาท

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่ โรงพยาบาลฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลสนามชัยเขต โรงพยาบาลพนมสารคาม โรงพยาบาลบางปะกง และโรงพยาบาลบางล้า จำนวนโรงพยาบาลละ ๕,๐๐๐ บาท เพื่อจัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๗๗)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๑๑๗)]

สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๑๑๒)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๔๐ (๑๖๐)]

กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒. (๔๗)
(ฉช ท๑ ส๖๑๔๒ ๒๕๓๗)