ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่างพื้นที่ของโรงเรียน
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๙๗สรุปผลการดำเนินงาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง หมู่ที่ ๘ บ้านตะโกล่าง ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยหมวดตำรวจตระเวนชายแดนของกองร้อย ๑๓๗ ทำการสอนชั่วคราวและด้วยความร่วมมือของราษฏรในหมู่บ้านและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาเดิมนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางและกลับได้รับความลำบากในทุกฤดู จึงร่วมกันจัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ต่อมาทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ได้จัดครูมาทำการสอนประจำ คือ สิบตำรวจ เอกบุญเริ่ม ทองปาน เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้ตั้งชื่อโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง และเปิดทำการสอนจนถึงปัจจุบัน

พื้นที่ของโรงเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๐ ไร่ มีพื้นที่ในการเกษตร
พื้นที่ปลูกผัก ๕๔๐ ตารางเมตร
ปลูกไม้ผล ๒๕๐ ต้น
เรือนเพาะชำ ๗๐ ตารางเมตร
โรงเพาะเห็ด ๔๒ ตารางเมตร
คอกปุ๋ยหมัก ๑ ตารางเมตร

รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๙๗
วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๘
สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง ตำบลผาปก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. จนถึงเวลา ๑๒.๐๐ น.

จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนทางด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งสิ้นจำนวน ๑๑๐ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) และสามารถจำแนกได้ดังนี้

หน่วยงาน
เจ้าหน้าที่
แพทย์
เภสัชกรรม
ทันตกรรม
พยาบาล
อื่น ๆ
รวม
กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
-
-
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
๑๑
๗๘
๑๐๔
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี
-
-
-
-
รวมทั้งสิ้น
๑๑
๑๑
๙๑
๑๑๐

สรุปผลการดำเนินงาน
การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๔๘ คน นักเรียนชาย ๙๐ คน นักเรียนหญิง ๕๘ คน สุขภาพปกติ ๙๗ คน เจ็บป่วย ๔๓ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ทางเดินหายใจ ๒๖ คน ประสาท ๘ คน ทางเดินอาหาร ๖ คน และเข้ารับบริการทันตกรรม ๓ คน

การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฏรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เข้าทำการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๒๕๔ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๑๑๔ คน (ร้อยละ ๔๔.๘๘) และหญิง ๑๔๐ คน (ร้อยละ ๕๕.๑๒)

จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ ๑๕-๔๙ ปี (ร้อยละ ๔๘.๐๓) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๑๗.๗๒)

ช่วงอายุ (ปี)
จำนวน (คน)
ร้อยละ
น้อยกว่า ๑ ปี
๑.๙๗
๑ - ๔
๔๔
๑๗.๓๒
๕ - ๑๔
๓๘
๑๔.๙๖
๑๕ - ๔๙
๑๒๒
๔๘.๐๓
มากกว่า ๕๐ ปี
๔๕
๑๗.๗๒
รวม
๒๕๔
๑๐๐.๐๐

จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
ผู้ป่วย
จำนวน (คน)
ร้อยละ
ผู้ป่วยทั่วไป
๕๒๕
๙๙.๒๑
ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
๐.๗๙
รวม
๒๕๔
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่โรคระบบทางเดินหายใจ รองลงมา คือ โรคระบบเหงือกและฟัน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

โรค
จำนวน (คน)
ร้อยละ
โรคระบบทางเดินหายใจ
๖๓
๒๔.๘๐
โรคระบบทางเดินอาหาร
๑๖
๖.๓๐
โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
๐.๗๙
โรคระบบประสาท
๒๘
๑๘.๙๐
โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
๓๕
๑๓.๗๘
โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
๑.๕๘
โรคผิวหนัง
๑๙
๗.๔๘
โรคเหงือกและฟัน
๕๙
๒๓.๒๒
โรคอื่น ๆ
๓.๑๕
รวม
๒๕๔
๑๐๐.๐๐

หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น ตรวจสุขภาพ โรคเลือด วัณโรค

ค่าใช้จ่าย
ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตะโกล่าง รวมเป็นเงินประมาณ ๖.๐๒๕ บาท

กองทุนพระราชทาน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่ โรงพยาบาลสวนผึ้ง และโรงพยาบาลราชบุรี จำนวนโรงพยาบาลละ ๕,๐๐๐ บาท จัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๖๙)
[ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๙๗)]
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๗๐)
(ตก ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)