ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
บ้านคอกอ้ายเผือก
ระบบการศึกษา
รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๙๕สรุปผลการดำเนินงาน

ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
บ้านคอกอ้ายเผือก

โรงเรียนตำรวจตระเวรชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๒ ตำบล ไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิกัด เอ็น เอ็น ๓๓๕๑๗๐ อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยความร่วมมือ ร่วมใจของราษฎรบ้านคอกอ้ายเผือกที่เห็นความสำคัญของการศึกษา เพื่อต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเดิมนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านไชยราช เป็นระยะทางถึง ๕ กิโลเมตร ได้รับความลำบากในการเดินทางในช่วงฤดูฝนเป็นอย่างมาก ซึ่งระหว่างทางจะมีลำห้วยขวางกั้นถึง ๒ แห่ง เวลาฝนตกหนักน้ำหลากมาก เป็นที่ลำบากต่อการเดินทางไปโรงเรียน และนอกจากนี้ระหว่างทาง มีสภาพเป็นป่าปกคลุมตลอดเส้นทาง ผู้ปกครองเกรงว่าบุตรหลานจะมีอันตราย ดังนั้นประชาชนในหมู่บ้านคอกอ้ายเผือก นำโดยนายชด ทารส ผู้ใหญ่บ้าน จึงทำหนังสือร้องขอให้ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ในปัจจุบัน) อำเภอเมือง จังหวัดกาจนบุรี ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยมีนายบุญ เกาะแก้ว เป็นผู้บริจาคที่ดินให้ จำนวน ๑๕ ไร่ และประชาชนได้ร่วมมือการก่อสร่างอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงหญ้าคาขึ้นมา ๑ หลัง ขนาด ๘.๕๐ x ๑๔ เมตร แบ่งออกเป็น ๔ ชั้นเรียน ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ต่อมาเมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนทำการสอนได้ โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ส่งตัวครูเข้าไปทำการสอนจำนวน ๒ นาย คือ ส.ต.ท. เดชา ครุฑเผือก ทำหน้าที่ครูใหญ่ และพลฯ ไพรัช น้อยนพคุณ เป็นครูสอน และได้เปิดทำการสอนเมื่อ ๕ มิถุนายน ๒๕๑๘ โดยมี ร.ต.ต. บุญเลิศ จอกกระจาย ผู้บังคับหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๗๑๑ เป็นผู้ทำพิธีเปิด มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ ประถมปีที่ ๔ จำนวนนักเรียนรวม ๔๑ คน เป็นชาย ๒๒ คน หญิง ๑๙ คน หลังจากดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนแล้ว ได้มีการปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อดำเนินการให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นตลอดมา

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้น ในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยรับเด็ก จากหมู่บ้านคอกอ้ายเผือก และหมู่บ้านใกล้เคียง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๓๐ กันยายน
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม
    -หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของ สำนักการประถมศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จะได้รับหลักฐานแสดงผลการเรียน (ป.๐๕) นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถ เข้าไปศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้

  • รายงานการปฏิบัติงานโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ครั้งที่ ๙๕
    วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๘
    สถานที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก ตำบลไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    ระยะเวลาที่เปิดบริการ เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. จนถึงเวลา ๑๒.๐๐ น.

    จำนวนเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน
    หน่วยแพทย์พระราชทานได้รับการสนับสนุนทางด้านบุคลากรจากหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั้งสิ้นจำนวน ๗๑ คน (รายละเอียดตามผนวก ก) และสามารถจำแนกได้ดังนี้

    หน่วยงาน
    เจ้าหน้าที่
    แพทย์
    เภสัชกรรม
    ทันตกรรม
    พยาบาล
    อื่น ๆ
    รวม
    กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    -
    -
    -
    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    ๕๒
    ๖๖
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี
    -
    -
    -
    -
    รวมทั้งสิ้น
    ๕๕
    ๗๑

    สรุปผลการดำเนินงาน
    การบริการตรวจสุขภาพนักเรียน
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก มีนักเรียนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพเป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ คน นักเรียนชาย ๘๓ คน นักเรียนหญิง ๗๗ คน สุขภาพปกติ ๘๑ คน เจ็บป่วย ๗๙ คน แบ่งแยกระบบโรคได้ดังนี้ ทางเดินหายใจ ๕๑ คน ทางเดินอาหาร ๖ คน ผิวหนัง ๑๓ คน กล้ามเนื้อและกระดูก ๔ คน หู ตา ๒ คน และเข้ารับบริการทันตกรรม ๓ คน

    การให้บริการตรวจรักษาราษฎร
    ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทานครั้งนี้ มีราษฏรที่มาเฝ้ารอรับเสด็จ ฯ เข้ารับบริการตรวจรักษา จำนวนทั้งสิ้น ๖๗ คน ในจำนวนนี้เป็นชาย ๑๖ คน (ร้อยละ ๒๓.๘๘) และหญิง ๕๑ คน (ร้อยละ ๗๖.๑๒)

    จำนวนผู้เข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามอายุ
    ผู้เข้ารับการตรวจรักษาส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ ๑๕-๔๙ ปี (ร้อยละ ๔๐.๓๐) รองลงมาคือกลุ่มผู้มีอายุมากกว่า ๕๐ ปี (ร้อยละ ๓๔.๓๓)

    ช่วงอายุ (ปี)
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    น้อยกว่า ๑ ปี
    ๑.๔๙
    ๑ - ๔
    ๑๐.๔๕
    ๕ - ๑๔
    ๑๓.๔๓
    ๑๕ - ๔๙
    ๒๗
    ๔๐.๓๐
    มากกว่า ๕๐ ปี
    ๒๓
    ๓๔.๓๓
    รวม
    ๖๗
    ๑๐๐.๐๐

    จำนวนผู้เข้านับบริการตรวจรักษาจำแนกตามสถานภาพของผู้ป่วย
    ผู้ป่วย
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    ผู้ป่วยทั่วไป
    ๖๐
    ๘๙.๕๕
    ผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์
    ๑๐.๔๕
    รวม
    ๖๗
    ๑๐๐.๐๐

    หมายเหตุ ผนวก ข รายชื่อผู้ป่วยในพระราชานุเคราะห์

    จำนวนผู้ป่วยเข้ารับบริการตรวจรักษาจำแนกตามโรค
    โรคที่ตรวจพบมากที่สุด ได้แก่โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และโรคระบบประสาท รองลงมา คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

    โรค
    จำนวน (คน)
    ร้อยละ
    โรคระบบทางเดินหายใจ
    ๑๑
    ๑๖.๔๒
    โรคระบบทางเดินอาหาร
    ๑๐
    ๑๔.๙๘
    โรคระบบ หู ตา คอ จมูก
    ๕.๙๗
    โรคระบบประสาท
    ๑๔
    ๒๐.๙๐
    โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
    ๑๔
    ๒๐.๙๐
    โรคระบบทางเดินปัสสาวะ&อวัยวะสืบพันธุ์
    ๑.๔๙
    โรคผิวหนัง
    ๕.๙๗
    โรคเหงือกและฟัน
    ๗.๔๖
    โรคอื่น ๆ
    ๕.๙๗
    รวม
    ๖๗
    ๑๐๐.๐๐

    หมายเหตุ โรคอื่น ๆ เช่น ตรวจสุขภาพ ทำแผล

    ค่าใช้จ่าย
    ในส่วนของยาพระราชทานใช้ในการออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก รวมเป็นเงินประมาณ ๓,๓๘๓ บาท

    .กองทุนพระราชทาน
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินให้แก่โรงพยาบาลบางสะพาน และโรงพยาบาลบางสะพานน้อย จำนวนโรงพยาบาลละ ๕,๐๐๐ บาท จัดตั้ง "กองทุนพระราชทานเพื่อสงเคราะห์คนไข้ยากจนในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี"

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
    (๔๘)
    (ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)
    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.
    (๖๖)
    [ท๒๖ ส๖๕๒ ๒๕๓๘(๙๕)]