ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ลระบบการศึกษา
โครงการฝึกอาชีพจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ล

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ล ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๖ บ้านท่าสะอาด-โนนขาม ตำบลนาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ล ตั้งอยู่ระหว่าง ๒ หมู่บ้าน คือ บ้านท่าสะอาด และบ้านโนขาม เดิมชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่าสะอาด-โนขาม ตำบลโพนบก-นาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม ราษฎรทั้ง ๒ หมู่บ้าน มีความห่วงใยในบุตรหลานที่ต้องเดินทางไปโรงเรียนยังหมู่บ้านอื่นด้วยความยากลำบาก ยิ่งในฤดูฝนการคมนาคมไม่สะดวก ทำให้เด็กขาดเรียนบ่อย การศึกษาน้อยลง ราษฎรทั้ง ๒ หมู่บ้านจึงได้ร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ (ซึ่งขณะนั้นตั้งที่ทำการชั่วคราว กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓๖ จังหวัดนครพนม) ให้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปสอนเด็กนักเรียนในหมู่บ้าน โดยราษฎรจะสร้างอาคารชั่วคราวให้ทำการสอนไปก่อน
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมอนุมัติให้จัดตั้งได้ ราษฎรจึงได้ร่วมมือกันสร้างเป็นอาคารชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ในพื้นที่ ๑๗ ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ โดยผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ให้เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๑ และมอบให้ครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาทำการสอน จำนวน ๖ นาย โดยมีนายดาบตำรวจปริญญา บังรอด ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๕๒ คน เป็นชาย ๒๓ คน หญิง ๒๙ คน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ บริษัทเฮงเค็ลไทย จำกัด ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยม เห็นสภาพอาคารเรียนชั่วคราวทรุดโทรม มาก จึงได้บริจาคเงิน จำนวน ๑,๔๗๐,๐๐๐ บาท สร้างเป็นอาคารถาวรตลอดทั้งอาคารเอนกประสงค์และสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแห่งนี้ และทำพิธีรับมอบ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๓ และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ล

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮ็งเค็ล เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๓ จังหวัดสกลนคร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับชั้นอนุบาล และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านท่าสะอาด-โนขาม, ท่าสะอาด, โนขาม ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๘
    หลักสูตรที่ใช้ คือหลักสูตรของสำนักงานการประถมศึกษา ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วนักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลแห่งอื่น ๆ ได้

  • อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ๑. อาคารหลังใหม่ ๑ หลัง ขนาด ๗ ห้องเรียน อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง ห้องน้ำ ห้องส้วม ๑ หลัง บริษัทคอนราดเฮ็งเค็ลไทย จำกัด บริจาคเงินงบประมาณจัดสร้างให้
    ๒. สระน้ำ ๑ แห่ง กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ดำเนินการขุดให้ ขนาดกว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร งบประมาณ ๖๒๐,๐๐๐ บาท

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๒ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๗๕ คน เป็นชาย ๔๙ คน หญิง ๒๖ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย ครูผู้ดูแลเด็ก ๒ คน นักเรียนฝึกสอน ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. ด.ต.ปริญญา บังรอด
    ม.๖
    ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.ทองพูน อยู่สุข
    ม.ศ.๓
    ครูผู้สอน
    ๓. จ.ส.ต.อัศวิน สุวรรณโสภา
    ปกศ.
    ครูผู้สอน
    ๔. ส.ต.ท.สุพรรณ พุทธิวงศ์
    คบ.
    ครูผู้สอน
    ๕. ส.ต.ต.สุรชัย คำผงแดง
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๖. ส.ต.ต.เจษฎา แสงอินทร์คุ้ม
    คบ.
    ครูผู้สอน
    ๗. น.ส.ไมตรี ดุสาพรม
    ป.๖
    ครูผู้ดูแลเด็กชั้นอนุบาล
    ๘. น.ส.เพ็ญ เสนาศรี
    ป.๖
    ครูผู้ดูแลเด็กชั้นอนุบาล
    ๙. นายเทิดทูล รักสุจริต
    -
    นักศึกษาฝึกสอน
    ๑๐. นายจำนงค์ อัปภัย
    -
    นักศึกษาฝึกสอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม(คน)
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๔๙
    ๒๖
    ๗๕

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริฯ ขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการฝึกอาชีพ
    หน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ
    วิทยาลัยสารพัดช่างนครพนม จัดทำโครงการออกฝึกอาชีพ กลุ่มช่างตัดผมชาย ช่างตัดผมหญิง ศิลปประดิษฐ์ และการเพาะเห็ดฟาง มีผู้เข้าอบรม ๓๓ คน

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๓๑)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๓ ๒๕๓๗)