๑. | การจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการสนับสนุนงบประมาณ
โรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงานและ
แผน การใช้จ่ายเงินให้สอดคล้องกัน โดย
ให้โรงเรียนบูรณาการทุกกิจกรรม ของโครงการ
ตามพระราชดำริเข้าด้วยกัน และคำนึง
ถึงการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
|
๒. | การพัฒนาระบบการประสานงาน
ให้มีองค์กรประสานงานโครงการเป็น ๓ ระดับ ประกอบ
ด้วยระดับ ส่วนกลางระดับจังหวัดและระดับ
ปฏิบัติงานในพื้นที่โดยกำหนด ความรับ
ผิดชอบตามขอบเขตหน้าที่และภารกิจ
ของแต่ละหน่วยงานให้ ชัดเจน ตลอดจน
กำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไป
ตามแผน
|
๓. | การนิเทศติดตามงาน
ปรับปรุงและพัฒนาระบบการนิเทศติด
ตามงานให้มีประสิทธิภาพ โดย จัดทำคู่มือ
การติดตามงานและกำหนดบุคคลที่
จะเข้าไปติดตามงานด้วย
|
๔. | การพัฒนาระบบสารสนเทศโครงการ
พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเผยแพร่
การใช้ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงข้อ
มูลลงสู่ระดับปฏิบัติการให้มากที่สุด
|
๕. | การพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน
๕.๑. ให้มีการพัฒนาผู้ปฏิบัติงานทั้ง
ในด้านวิชาการที่ตนเองรับผิดชอบ
และด้านการจัดการโครงการตามพระ
ราชดำริ
๕.๒. จัดอบรมครูประจำปี โดยทุกหน่วย
งานควรร่วมกันจัดอบรมพร้อมกัน
ในช่วงปิ2เทอม
๕.๓. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้
ปฏิบัติงาน
|
๖. | การเผยแพร่และการประชาสัมพันธ์
เสริมสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบและ
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะระหว่างผู้ปฏิบัติงานในโครงการทั้งระดับนโยบาย
และระดับปฏิบัติ รวมทั้งการเผยแพร่ข่าว/บทความเกี่ยวกับการดำเนิน
งานของโครงการแก่ประชาชนทั่วไปโดยผ่านทางสื่อมวลชน (วิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ)
|
๗. | ความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่
สนับสนุนให้ประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ
ด้วยการเสริมสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจที่ดีกับประชาชนในพื้นที่
|
๘. | การวิจัยและการพัฒนา
ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการค้นคว้าวิจัย เพื่อแสวงหารูปแบบการพัฒนา
คุณภาพชีวิตตลอดจนการศึกษาหาเทคนิควิธีการการพัฒนาโครงการและ
กิจกรรม เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาปรับปรุง
การดำเนินงาน
|
๙. | การประเมินผล
พัฒนาตัวชี้วัดผลสำเร็จของการดำเนินงานและให้มีการประเมินผลการดำ
เนินงานในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
|