janthaburi
trad

sakraw
shachesao
kanjanaburi
ratchaburi
prachuap
phetchaburi
surin
ubon
amnatcharoen
yaso
mukdahran
nakhonpranom
loei
udon
nongkhai

phitsanulok
uttaradit
nan
chiangrai

chiangmai
maehongson
tak

chumpron
surat
ranong
nakhonsri
songkhla

phatthalung
trang
yala
nara
srisagad
nakornnayok
sakonnakorn
ความเป็นมา
เป็นโครงการแรกที่จัดตั้งขึ้นโดยมุ่งเน้นให้ครูผู้ปกครองและนักเรียนร่วมกันทำ การเกษตรในโรงเรียนแล้วนำผลผลิตที่ได้มาประกอบเป็นอาหารกลางวันโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระราชทานเงินสิ่งของพันธุ์ พืชพันธุ์สัตว์วัสดุอุปกรณ์การเกษตรและอุปกรณ์การประกอบอาหารให้แก่โรงเรียน ในโครงการการดำเนินงานของโครงการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลน อาหารกลางวันแล้วยังทำให้เด็กนักเรียนได้รับความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ทีนำ ไปใช้ประกอบเป็นอาชีพได้ต่อไป

สถานการณ์ปัจจุบัน

ในแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริระยะที่๑ พยายาม
ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในขั้นพื้นฐานนั่นคือการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการ
เกษตรให้กับพื้นที่ที่ขาดแคลนส่งเสริมการผลิตอาหารหลักเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร
กลางวันในโรงเรียนได้แก่ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชผักไม้ผลเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ไก่พันธุ์เนื้อ
เลี้ยงปลาส่งเสริมให้มีการประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการตลอดจน
การสนับสนุนอาหารเสริมคือนมถั่วเหลืองนมโคการดำเนินงานโครงการในช่วงที่ผ่านมา
ด้แก้ปัญหาโภชนาการลงได้ในระดับที่น่าพอใจแต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังมิได้หมดสิ้นไป
ดังจะเห็นได้ว่าในต้นปีการศึกษา๒๕๓๙อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในเด็กประถม
มีร้อยละ๑๖.๘และอัตราการขาดสารโปรตีนและพลังงานทุกระดับในเด็กเล็กมี
ร้อยละ๑๖.๗ ในด้านการผลิตอาหารถึงแม้ว่าจะมีการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์
ได้เพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อเทียบกับเป้าหมายแล้วก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความต้องการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลและพืชผักนอกจากนี้โรงเรียนยังขาดการบูรณาการกิจกรรม
ต่างๆของโครงการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการบริโภคตลอดช่วงการศึกษา
โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตรที่ผลิตขึ้นภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร

เป้าหมาย

๑.โรงเรียนในโครงการสามารถผลิตทางการเกษตร
ได้ครบตามเกณฑ์และต่อเนื่องตลอดปี
๒.โรงเรียนในโครงการสามารถดำเนินการประกอบ
อาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับ
นักเรียนทุกคนทุกวัน
๓.ลดอัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของเด็ก
นักเรียนให้เหลือไม่เกินร้อยละ๗
๔.ลดอัตราการขาดสารโปรตีนและพลังงานทุกระดับ
ในเด็กเล็กให้เหลือไม่เกินร้อยละ๑๐

กิจกรรมสำคัญ

๑.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
๑.๑ จัดหาแหล่งน้ำให้กับโรงเรียนที่ยังขาดแคลน
๑.๒ ปรับปรุงแหล่งน้ำที่มีอยู่และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ
ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
๒.การผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในโรงเรียน ดำเนินการผลิตอาหาร
ให้เพียงพอกับความต้องการของนักเรียนตลอดปีการศึกษาเพื่อนำผลผลิตมาใช้
ในการประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนรับประทานที่โรงเรียน
โดยมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๒.๑. ประเภทของอาหารที่โรงเรียนควรผลิตได้แก่
๒.๑.๑. อาหารที่เป็นแหล่งของโปรตีนได้แก่เนื้อสัตว์ปลาไข่และถั่วเมล็ดแห้ง
๒.๑.๒. อาหารประเภทพืชผักที่หลากหลายและเหมาะสมกับท้องถิ่น
๒.๑.๓. อาหารประเภทไม้ผลที่เหมาะสมกับท้องถิ่นโดยกำหนดให้มีการปลูกไม้
ผลที่สำคัญอย่างน้อย ๒ ชนิดคือกล้วยและมะละกอ
๒.๒. รูปแบบของการเกษตรที่ควรทำคือการเกษตรแบบผสมผสานเพื่อเป็นการ
ลดต้นทุนการผลิตและให้มีผลผลิตที่หลากหลายหมุนเวียนกันอย่างต่อเนื่อง
พอเพียงตลอดปีซึ่งโรงเรียนจำเป็นต้องวางแผนการใช้ที่ดินที่มีอยู่ให้
เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกับวางแผนการผลิตตลอดปีที่สอดคล้อง
กับแผนการประกอบอาหารของโรงเรียน
๒.๓. ดำเนินกิจกรรมการผลิตโดยการจัดกลุ่มนักเรียนให้ร่วมกันรับผิดชอบ
การผลิตอาหารแต่ละประเภทโดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำแผนการผลิตดำเนินการผลิต
และการนำผลผลิตมาใช้ประกอบอาหารโดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ
และกำกับดูแล
๒.๔. ส่งเสริมให้นำวิธีการสหกรณ์มาใช้ในการจัดการ กระบวนการผลิต
อาหารภายในโรงเรียน
๒.๕. ส่งเสริมการถนอมอาหารที่มีเหลือใช้เพื่อเก็บไว้ใช้ในฤดูขาดแคลน
๓.การรณรงค์ให้มีการใช้ชีววิธีในกระบวนการผลิตทางการเกษตรโดยมีแนวทาง
การดำเนินกิจกรรมดังนี้
 ๓.๑.ใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงบำรุงดิน
๓.๒.ลดการใช้สารเคมี
๔.การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันที่มีคุณค่าและถูกสุขลักษณะแนวทาง
การดำเนินกิจกรรมคือ
๔.๑. จัดทำแผนการประกอบอาหารที่สอดคล้องกับ แผนการผลิตโดยทำเป็นเมนูอาหาร
๔.๒. พัฒนาตำรับอาหารกลางวันมาตรฐานให้กับโรงเรียนโดยนำสูตรอาหารที่โรงเรียนทำอยู่
ในปัจจุบันมาปรับปรุงให้เหมาะสมทั้งในด้านโภชนาการและด้านผลผลิตของโรงเรียน
หรือที่หาได้ในท้องถิ่น
๔.๓. จัดให้มีที่ประกอบอาหารและรับประทาน อาหารให้เป็นสัด ส่วนและถูกสุขลักษณะ
๔.๔. จัดอบรมกลุ่มผู้ประกอบอาหารกลางวันของโรงเรียนให้มีความรู้และสามารถที่
จะประกอบอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการได้
๕.การทำอาหารเสริมมีแนวทางการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๕.๑. ทำอาหารเสริมพระราชทานได้แก่นมแจกจ่ายให้ นักเรียนทุกคนดื่มเป็นประจำทุกวัน
๕.๒. โรงเรียนจัดหาอาหารเสริมรูปอื่นเพิ่มเติมเช่นผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนแจกจ่ายนักเรียน
๖. การเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการมีแนวทางการดำเนินการดังนี้
๖.๑ ครูพยาบาลชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนและแปลผลดูภาวะโภชนาการ
ของเด็กนักเรียนเป็นประจำทุกเทอมพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ปกครอง
เด็กนักเรียนทราบด้วย
๖.๒. สนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐานให้กับโรงเรียน
๖.๓. จัดฝึกทบทวนเรื่องเทคนิคการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงพร้อมทั้งการแปลผล
ให้กับครูพยาบาลเป็นประจำทุกปี
๗.การตรวจสุขภาพนักเรียนทุก๖เดือน
๘.การปรับปรุงภาวะโภชนาการของ เด็กนักเรียนมีแนวทางการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๘.๑. ค้นหาเด็กนักเรียนที่เป็นโรคขาดสารอาหาร(มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน)
ในต้นปีการศึกษา
๘.๒. เฝ้าระวังเป็นรายบุคคลโดยชั่งน้ำหนักทุก๒เดือน
๘.๓. แจ้งให้ผู้ปกครองของเด็กทราบภาวะโภชนาการของเด็กและให้คำแนะนำการดูแล
ในเรื่องอาหารที่บ้าน
๘.๔. เด็กที่ขาดสารอาหารระดับ๒และ๓ควรส่งปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขในพื้นที่
๘.๕. สนับสนุนอาหารเสริมในช่วงวันหยุด
๙.การจัดการเรียนการสอนเรื่องการเกษตรและโภชนาการในโรงเรียนให้สอดคล้อง
กับกิจกรรมของโครงการ
๑๐.การจัดอบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนเกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการ
และสุขภาพอนามัย
๑๑การพัฒนาภาวะโภชนาการของชุมชนมีแนวทางในการดำเนินการดัง นี้
๑๑.๑. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อปรับปรุงภาวะโภชนาการ
๑๑.๒. อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการและสุขภาพอนามัย
๑๑.๓. ส่งเสริมการผลิตอาหารสำหรับชุมชน
 
   
แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี .(๒)