janthaburi
trad

sakraw
shachesao
kanjanaburi
prachuap
phetchaburi
surin
ubon
amnatcharoen
yaso
mukdahran
nakhonpranom
loei
udon
nongkhai

phitsanulok
uttaradit
nan
chiangrai

chiangmai
maehonson
tak

chumpron
surat
ranong
nakhonsri
songkhla

phatthalung

yala
nara
srisagad
nakornnayok
sakonnakorn
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงตระหนักถึงปัญหา การระบาดของโรคคอพอก เนื่องมาจากการขาดสารไอโอดีนทั้งจากรายงาน ของกระทรวงสาธารณสุขและจากการที่พระองค์ทรงพบเห็นในระหว่างที่ เสด็จ ฯ เยี่ยมเด็กนักเรียนในร.ร.ตชด.จึงทรงมีพระราชดำริที่จะดำเนินการเพื่อ ช่วยแก้ปัญหานี้โดยเสริมการ ทำงานของกระทรวงสาธารณสุขใน พื้นที่เจ้าหน้า ที่ของกระทรวงฯเข้า ไปถึงได้ยากอันได้แก่พื้น ที่ตามเขตชายแดนที่มี ร.ร.ต ชด. ตั้งอยู่โครงการนี้เริ่มดำ เนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้ง แต่เดือนตุลาคม ๒๕๓๓ โดยคาดหวังว่า หากมีการดำเนินการควบ คุมและป้องกันโรคขาดสาร ไอโอดีน ในพื้นที่ดังกล่าวอย่างมี ประสิทธิภาพและต่อเนื่องแล้วก็จะ เป็นการช่วยแก้ปัญหา สาธารณะสุข ของประเทศโดยส่วนรวมได้

สถานการณ์ปัจจุบัน

เป้าหมายของแผนพัฒนาเด็ก และเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ระยะที่๑ที่ จะ พยายามลดอัตราคอพอกในเด็ก นักเรียนให้เหลือต่ำกว่าร้อย ละ๑๐โดยการ ส่งเสริมให้มีการใช้ น้ำดื่มเสริมไอโอดีน และเกลือเสริม ไอโอดีนในโรง เรียน พร้อมทั้งมีระบบ เผ้าระวังอย่างต่อเนื่องนั้น ผลปรากฎ ว่าจากข้อมูล ล่าสุดเมื่อต้น ปี ๒๕๓๙ พบอัตราคอพวกใน เด็กนัก เรียนลดลงเหลือ ร้อยละ๑๕.๔ จากเดิม ร้อยละ ๒๑.๑ ในปี ๒๕๓๖ เมื่อพิจารณาตาม พื้นที่ พบว่าในปี ๒๕๓๙ มีพื้นที่ ที่ สามารถควบคุมสถานการณ์การขาดสาร ไอโอดีนได้ร้อยละ ๒๖.๔ ของพื้นที่ โครงการทั้งหมด พื้นที่ที่มี ภาวะการ ขาดสารไอโอดีนอยู่ใน ระดับรุนแรงน้อยมีร้อยละ๔๓.๙ รุน แรงปานกลางร้อยละ ๑๒.๑ และรุนแรง มากร้อยละ ๑๗.๖ จะเห็นได้ว่าสถาน การณ์การ ขาดสารไอโอดีนในภาพรวม ดีขึ้นบ้างแต่ปัญหาการขาด สารไอโอดีนในพื้นที่ ทุรกันดารเหล่า นี้ก็ยังคงมีอยู่จึงจำ เป็นต้องแก้ไขต่อไป การดำ เนินงานเท่าที่ ผ่านมาพบว่า ยังขาดความต่อเนื่องอีกทั้ง ยังไม่มีการลงไปแก้ ไขปัญหาใน ชุมชนอย่างจริงจัง

วัตถุประสงค์

เพื่อแก้ไขปัญหาควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในพื้นที่ทุรกันดาร

เป้าหมาย

ลดอัตราคอพอกของเด็กนักเรียนให้เหลือตำกว่าร้อยละ ๕

กิจกรรมในโรงเรียน

๑.การดื่มน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำทุกวัน มีแนวทางในการดำเนินกิจกรรม
ดังนี้
๑.๑.สนับสนุน "ขวดเดี่ยว" คือสารละลายไอโอดีนเข้มข้น และ "ขวดคู่"
คือชุดสำหรับตรวจหาสารไอโอดีนแบบรวดเร็วให้แก่โรงเรียนทุกโรง
๑.๒.สนับสนุนภาชนะใส่น้ำให้กับโรงเรียนที่ยังขาดแคลน
๑.๓.ควรให้เด็กนักเรียนรับผิดชอบในการเตรียมน้ำเสริมไอโอดีนเป็นประจำ
ทุกวันพร้อมทั้งกำกับดูแลให้เด็กนักเรียนทุกคนได้ดื่มน้ำเสริมไอโอดีน
อย่างน้อยวันละ ๒ แก้วโดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแล
อีกชั้นหนึ่ง
๑.๔.ควรกำหนดตารางการตรวจสอบสารไอโอดีนด้วยชุดขวดคู่โดยมีครู
เป็นผู้ควบคุมและกำกับ ดูแล
๒. การใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหารกลางวันเป็นประจำทุกวันมีแนวทางใน
การดำเนินกิจกรรม ดังนี้
๒.๑.สนับสนุนเกลือไอโอดีนให้แก่โรงเรียนทุกโรง
๒.๒.ควรให้ผู้รับผิดชอบการประกอบอาหารกลางวันแต่ละวันใช้เกลือเสริม
ไอโอดีนปรุงอาหารในปริมาณ ๑/๓ ช้อนชา หรือ ๑.๖ กรัมต่อคน
ต่อมื้อทุกวัน
๒.๓.ควรกำหนดตารางการตรวจสอบสารไอโอดีนด้วยชุดขวดคู่โดยมีครู
เป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแล
๓.การให้ยาเม็ดไอโอดีนแก่เด็กนักเรียน มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๓.๑.สนับสนุนยาเม็ดไอโอดีนให้แก่โรงเรียนที่พบอัตราคอพอกตั้งแต่ร้อยละ ๒๐ ขึ้นไปทุก ๖ เดือน
๓.๒.ให้ยาเม็ดแก่เด็กนักเรียนทุกคน คนละ ๑ เม็ด ทุก ๖ เดือน
การเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีน มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๔.๑.ดำเนินการตรวจคอพอกในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาทุกคน
ปีละ ๒ ครั้งในเดือนพฤษภาคมและเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
๔.๒.ควรมีการฝึกทบทวนวิธีการตรวจคอพอกแก่ครูพยาบาลเป็นประจำทุกปี
การอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และบุคลากรโรงเรียนในเรื่องโรคขาดสาร
ไอโอดีนมีแนวทางการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๕.๑.ครูควรจัดการเรียนการสอนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีนโดยกำหนดเนื้อหา
ไว้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง
๕.๒.บุคลากรของโรงเรียนควรได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมความรู้เรื่อง
โรคขาดสารไอโอดีนด้วย

กิจกรรมในหมู่บ้าน

๑.การอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโรคขาดสารไอโอดีน มีแนวทาง
การดำเนินกิจกรรมดังนี้
๑.๑.ครูจัดประชุมชาวบ้านและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีน
รวมทั้งวิธีการป้องกันและการรักษา
๑.๒.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปเยี่ยมหมู่บ้านและให้ความรู้แก่ประชาชน
๒.การรณรงค์การดื่มน้ำเสริมไอโอดีนในครัวเรือนเป็นประจำทุกวัน
๓.การรณรงค์การใช้เกลือเสริมไอโอดีนและ/หรือน้ำหยดไอโอดีนในน้ำปลา
สำหรับปรุงอาหารในครัวเรือนเป็นประจำทุกวัน

แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี .(๒)