ประวัติโรงเรียนบ้านโหง่นขามระบบการศึกษา
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนบ้านโหง่นขาม

โรงเรียนบ้านโหง่นขาม ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ บ้านโหง่นขาม ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
หมู่บ้านนี้ตั้งมานานประมาณ ๙๐ ปี ไม่เคยมีโรงเรียน ประชาชนในหมู่บ้านอ่านเขียนหนังสือไม่ได้ เมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๔ ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านได้ยื่นคำร้องขอต่อนายธงชัย กองเจริญ นายอำเภอศรีเมืองใหม่ ชาวบ้านจึงช่วยกันหาไม้มาก่อสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ทางโรงเรียนจัดหาสังกะสีให้จำนวน๔๐๐ แผ่น
เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๕ โดยสอนตามร่มไม้และศาลากลางบ้าน เนื่องจากอาคารยังสร้างไม่เสร็จ
อนึ่งการรับเด็กเข้าเรียนแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เด็กในเกณฑ์และเด็กนอกเกณฑ์ มีจำนวน ๒๕ คน เป็นชาย ๑๔ คน หญิง ๑๐ คน เด็กนอกเกณฑ์ ชาย ๔ คน หญิง ๘ คน มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. ๑๕๑๗ ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ขนาด ๒ ห้องเรียน ในปี พ.ศ. ๑๕๒๖ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ ๑ แบบจังหวัด ในปีงบประมาณ ๒๕๒๒ ได้รับงบประมาณจัดสร้างบ้านพักครูหลังที่สอง ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดประกวดโรงเรียนกันดาร ปรากฏว่าโรงเรียนบ้านโหง่นขามเป็นโรงเรียนกันดารที่สุด ของจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๒ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
บ้านโหง่นขามตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีเมืองใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๒๐๐ ฟุต

อาณาเขต
ทิศเหนือติดต่อเขตตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร
ทิศใต้ติดต่อบ้านหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่
ทิศตะวันออกติดต่อบ้านทุ่งหลวง อำเภอศรีเมืองใหม่
ทิศตะวันตกติดต่อบ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่

การคมนาคม
บ้านโหง่นขามไม่มีถนนถาวรที่รถยนต์สามารถเดินทางได้สะดวก ส่วนมากใช้เส้นทางเดินเท้าและจักรยานยนต์ไปตามไหล่เขา ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร และทางเรือจากบ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร ไปตามลำน้ำโขงถึงบ้านดงนาระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เดินต่อจากบ้านดงนาถึงบ้านโหง่นขาม ประมาณ ๖ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
มีราษฎรทั้งสิ้น ๓๔๐ คน เป็นชายจำนวน ๑๗๔ คน หญิงจำนวน ๑๖๖ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร (ทำนา) มีรายได้เฉลี่ย ๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายแถม สีหาเวช
ผู้ใหญ่บ้าน นายชื่น ขันธิวัตร

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค
๒. ต้องการพื้นที่ทำกิน
๓. เส้นทางคมนาคม และสาธารณูปโภค ไฟฟ้า

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านโหง่นขาม เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโหง่นขาม ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทาโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่ ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน องค์การบริการส่วนจังหวัด
    ๒) อาคารแบบ ๑๐๒/๒๖ สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
    ๓) โรงอาหาร ค่ายอาสาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ
    ๔) บ้านพักครู ๒ หลัง สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๖ คน
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๘๐ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๓๒ คน มีครู ๔ คน นักการภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) นายรังสรรค์ เสนาพรหม ศษ.บ. ครูใหญ่
    ๒) นายแสงอาทิตย์ ศุภษร ศศ.บ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๓) นายประจักษ์ รุ่งแสง
    ค.บ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๔) นายอุทัย พละศักดิ์ วทบ. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๔
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๐
    ๑๒
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    -
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    -
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    -
    -
    รวม
    ๔๘
    ๓๒
    ๘๐

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ศึกษาต่อ จำนวน ๒๒ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๓ คน ดังนี้
    - ปีการศึกษา ๒๕๓๗ ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ จำนวน ๑๑ คน
    - ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ จำนวน ๘ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๓ คน
    หมายเหตุ เนื่องจากโรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบ ๒ กลุ่มอายุใน ๑ ชั้นเรียน ทำให้มีนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีเว้นปี

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนที่อยู่ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายประจักษ์ รุ่งแสง

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๗)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘ ๒๕๔๐)