ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาปอระบบการศึกษา
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาปอ

หมู่ที่ ๔ บ้านนาปอ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๗ นายสมบัติ ชิดทิด ประธานสภาตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ได้ทำหนังสือถึงนายอำเภอนาแห้ว เรื่องให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนที่บ้านนาปอ หมู่ที่ ๔ เนื่องจากเด็กที่อยู่ในวัยเรียนไม่มีที่เรียนหนังสือ แต่สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาแห้ว ไม่เห็นชอบในการจัดตั้งโรงเรียน เนื่องจากข้อมูลไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมากองบังคับการควบคุมศูนย์อำนวยการประสานงาน โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่อำเภอนาแห้ว และนายอำเภอนาแห้ว ได้ทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๒๔ เรื่องจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาปอ เนื่องจากบุตรหลานได้รับความเดือดร้อน ไม่มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน และต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่หมู่บ้านอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล มีความยากลำบากในการเดินทาง และเสี่ยงอันตราย ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จึงแจ้งไปยังกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนทราบ และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๙
หลังจากได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนแล้ว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๒๔ จึงส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปในพื้นที่ ร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนในหมู่บ้านจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ในพื้นที่ว่างเปล่าใกล้กับบริเวณหมู่บ้าน จำนวน ๑๘ ไร่

ความเป็นมาของหมู่บ้าน
จากการบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านนาปอ ว่า เมื่อประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา มีราษฎรจากบ้านนาลึ่ง บ้านป่าก่อ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ขึ้นมาเลี้ยงสัตว์และเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ มีลำน้ำไหลผ่าน เหมาะแก่การเพาะปลูก และดำรงชีวิต จึงชักชวนญาติพี่น้อง จำนวน ๗ ครอบครัว อพยพเข้ามาอาศัย เพื่อทำการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และในพื้นที่แห่งนี้ยังมีต้นไม้ที่เกิดเองตามธรรมชาติมากมายหลายชนิด ตลอดทั้งได้มีต้นปอสาที่เกิดขึ้นเองในบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านนาปอ"
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๑๒ - ๒๕๑๖ หมู่บ้านนาปอต้องกลายเป็นหมู่บ้านร้าง ราษฎรที่อาศัยอยู่ต้องอพยพกลับบ้านเดิมของตน เพราะในขณะนั้นพื้นที่หมู่บ้านนาปอเป็นเส้นทางที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ใช้เป็นเส้นทางผ่าน และเป็นพื้นที่สู้รบกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเหตุการณ์สงบลงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ ราษฎรชุดเดิมจึงอพยพกลับขึ้นไปใหม่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๑

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านนครชุม ตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านป่าก่อ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านนาลึ่ง ตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

การคมนาคม
มีถนนลาดยางเข้าถึงหมู่บ้านและโรงเรียนนาปอ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอนาแห้ว ประมาณ ๒๑ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมีประชากรอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ๓๒ ครอบครัว รวมประชากรทั้งหมด ๑๒๐ คน แยกเป็นชาย ๕๔ คน หญิง ๖๖ คน

การประกอบอาชีพ
ประชาชนในหมู่บ้านมีอาชีพหลักคือเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีรายได้ต่อครอบครัวอยู่ในเกณฑ์ดี

การสาธารณสุข
ในหมู่บ้านนาปอ มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อราษฎรเจ็บป่วยเล็กน้อยจะซื้อยามารับประทานเองและจะไปขอรับบริการจากสถานีอนามัยตำบลแสงภา

ผู้นำหมู่บ้าน
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายนิล เหมบุรุษ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาปอ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔ จังหวัดอุดรธานี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านนาปอ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๑

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ปัจจุบันโรงเรียนได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารเรียน และห้องน้ำ - ห้องส้วม จากมูลนิธิเฟรดมัลเดอร์ แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นเงินจำนวน ๙๔๑,๙๓๓ บาท (เก้าแสนสี่หมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยสามสิบสามบาทถ้วน) และได้บริจาคเพิ่มเติมอีก จำนวน ๑๖๓,๗๐๒.๓๑ บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นสามพันเจ็ดร้อยสองบาทสามสิบเอ็ดสตางค์) เพื่อจัดซื้อถังเก็บน้ำ อุปกรณ์ประจำโรงเรียน เช่น โต๊ะ-เก้าอี้ สำหรับครู-นักเรียน อุปกรณ์การกีฬา อุปกรณ์การเกษตร รวมเป็นเงินที่บริจาคให้กับโรงเรียนทั้งสิ้น ๑,๑๐๕,๖๙๕.๓๑ บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนห้าพันหกร้อยเก้าสิบห้าบาทสามสิบเอ็ดสตางค์) อาคารได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
อาคารเรียน สถานเอกอัครราชฑูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย
(มูลนิธิเฟรดมัลเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์)
ห้องสมุด สถาบันราชภัฏเลย
และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๔
ห้องพยาบาล สำนักงานโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอ
นาแห้ว จังหวัดเลย
โรงอาหาร ชมรมยาเสพติดให้โทษ มหาวิทยา
ลัยรามคำแหง และกองร้อย ตชด.๒๔๗
ห้องน้ำ - ห้องสุขา มูลนิธิเฟรดมัลเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๓๓ คน เป็นชาย ๒๐ คน หญิง ๑๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ชื่อ
คุณวุฒิ
หน้าที่
๑. จ.ส.ต.ศุภชัย พรหมเอี่ยม
ม.ศ.๕
ครูใหญ่/โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรราชาติ
๒. ด.ต.สุรัตน์ ชายคำ
ม.ศ.๓
โครงการฝึกอาชีพ
๓. จ.ส.ต.ทรงเกียรติ สุพรหมอินทร์
ปกศ.
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๔. จ.ส.ต.บรรหาร คำคูบอน
ม.ศ.๕
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน/โครงการ
ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
๕. ส.ต.อ.สุพจน์ ทองจำรูญ
ม.ศ.๕
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
๖. ส.ต.อ.นิยม วิเศษภักดี
ม.๖
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๗. ส.ต.ท.สุรชัย พัดสร้อย
ม.๖
โครงการส่งเสริมสหกรณ์

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
-
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม
๒๐
๑๓
๓๓

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.สุพจน์ ทองจำรูญ

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เลย และสามัญศึกษาจังหวัดเลย
โรงเรียนเพิ่งเปิดดำเนินการยังไม่มีนักเรียนได้รับการคัดเลือกให้รับทุน

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
สยามบรมราชกุมารี. (๔๒)
(ลย ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)