ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาดระบบการศึกษา
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด

ตั้งอยู่ หมู่บ้าน ๕ ตำบลยางใหญ่ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
เดิมในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน เด็ก ๆ ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านโนสว่าง ซึ่งมีระยะทางห่างจากหมู่บ้าน ๔ กิโลเมตร การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก โดยเฉพาะฤดูฝน เส้นทางสัญจรเป็นป่าทึบ ชาวบ้านเรียกว่าป่าดงเย็นผู้ปกครองต้องรับส่งบุตรหลานเป็นประจำ ทำให้เสียเวลาในการประกอบอาชีพ จึงร้องให้หน่วยงานของตำรวจตระเวนชายแดนไปทำการจัดตั้งโรงเรียนในหมู่บ้าน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งได้รับการอนุมัติ โดยราษฎรในหมู่บ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสละทุนทรัพย์ซื้อที่ดิน และจัดหาวัสดุอุปกรณ์สร้างอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ เยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ และเทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๐ คุณหญิงแจ่มจรัส เพียรพานิช บริจาคทุนทรัพย์เพื่อก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๘ x ๑๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ราษฎรจากบ้านโนสว่างอพยพเข้ามาอาศัย ต่อมามีราษฎรจากอำเภอบึงไพร จังหวัดศรีษะเกษ และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มมากขึ้น จึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยแยกบ้านคำสะอาดเป็น ๒ หมู่บ้าน คือ บ้านคำสะอาด หมู่ ๕ และบ้านบูรพารุ่งเรือง หมู่ ๑๑ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม

การคมนาคม
หมู่บ้านอยู่ห่างที่ทำการอำเภอน้ำยืน ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๑๑๕ กิโลเมตร การคมนาคมในหมู่บ้านเป็นถนนหินลูกรัง สามารถใช้การได้ตลอดปี

จำนวนประชากร
บ้านคำสะอาด หมู่ ๕ ประชากร จำนวน ๕๙๒ คน เป็นชาย ๒๘๒ คน หญิง ๓๑๐ คน
บ้านบูรพารุ่งเรือง หมู่ ๑๑ ประชากร จำนวน ๕๒๓ คน เป็นชาย ๒๖๔ คน หญิง ๒๕๙ คน

การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ รับจ้าง ใช้แรงงานต่างจังหวัดบางฤดูกาล

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายแดง พลศรี
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๕ นายวิชัย ภารการ
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๑๑ นายคำผา ไชยขันตรี

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านโนนสว่าง หมู่ ๒ มีประชากร ๓๒๗ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายพา พิลา
บ้านสวายน้อย หมู่ ๔ มีประชากร ๖๓๗ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเหลี่ยม ไพรบึง
บ้านดงกระซู หมู่ ๓ มีประชากร ๗๙๘ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเสา พรมศร

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาความยากจนของราษฎร สภาพความแห้งแล้ง การฝึกอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริม และแหล่งน้ำการเกษตร

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคำสะอาด สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านคำสะอาด และสวายน้อย ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่ ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียนกึ่งถาวร ชาวบ้านคำสะอาดร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี กรุงเทพฯ
    ๒) อาคารเอนกประสงค์ คุณหญิงแจ่มจำรัส เพียรพานิช
    ๓) บ้านพักครู ชาวบ้านคำสะอาด
    ๔) ห้องน้ำ-ห้องส้วม วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี กรุงเทพฯ
    ๕) โรงครัว ร้อยตำรวจตรีหญิง สุดา งานนิล

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๗๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๑๙๙ คน เป็นชาย ๑๐๗ คน หญิง ๙๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑๒ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) ร.ต.ต.ปราเชียร ประธาน ป.กศ.สูง ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต.วราวุธ พรมกอง ค.บ. โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๓) จ.ส.ต.ประสงค์ สายลม ค.บ. โครงการสหกรณ์
    ๔) จ.ส.ต.ฉลาด  ลือนาม ร.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๕) จ.ส.ต.ไพบูลย์ ภูมามอบ ร.บ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖) จ.ส.ต.ไพบูลย์ ภูมามอบ ม.ศ.๕ โครงการฝึกอาชีพ
    ๗) จ.ส.ต.เทพนรินทร์ อินทรนาม ม.ศ.๕ โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๘) จ.ส.ต.วีระพงศ์ ชินโคตร ม.ศ.๕ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และ
    เด็กในถิ่นทุรกันดาร
    ๙) จ.ส.ต.ศรี เขตดอน ค.บ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๑๐) ส.ต.อ.คำสิงห์ วงศ์งาม น.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม
    ๑๑) ส.ต.ท.ธวัชชัย สายเคน ม.๖ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๑๒) ส.ต.ท.ศรชัย พินิจมนตรี ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๓๑
    ๒๒
    ๕๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๖
    ๑๐
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๔
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ๑๑
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๔
    ๑๒
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๑๓
    ๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๘
    รวม
    ๑๐๗
    ๙๒
    ๑๙๙

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๔๘ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๘ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตารมพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ฉลาด ลือนาม และ ส.ต.อ.คำสิงห์ วงศ์งาม
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๔ จังหวัดอุบลราชธานี
    เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ พื้นที่จำนวน ๓๐ ไร่
    ได้รับอนุญาตให้เป็นป่าชุมชนแล้ว่
    รายชื่อคณะกรรมการป่าชุมชน่
    ๑. ร.ต.ต.ปราเชียร ประธาน่
    ๒. นายวิชัย ภารการ่
    ๓. นายคำผา ไชยขันตรี

    ชนิดของต้นไม้/
    สมุนไพร
    ปริมาณ/
    จำนวนต้น
    ได้รับพันธุ์ไม้จาก
    พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ
    หรือปลูกเสริม
    ประโยชน์ที่ได้รับ
    ประดู่
    ๘๐
    ธรรมชาติ
    -
    ร่มเงา, รักษาความชุ่มชื้น
    ยางนา
    ๕๐
    ธรรมชาติ
    -
    ร่มเงา, รักษาความชุ่มชื้น
    สัก
    ๑,๕๐๐
    -
    โครงการรุ่งอรุณ ร่มเงา, รักษาความชุ่มชื้น
    ขี้เหล็ก
    ๑๐๐
    -
    โครงการรุ่งอรุณ ร่มเงา, รักษาความชุ่มชื้น

    ตารางแสดงการปลูกหญ้าแฝกของโรงเรียน
    วัตถุประสงค์/
    ของการปลูก
    ปริมาณ/จำนวนต้น
    ได้รับพันธุ์ไม้จาก
    ลักษณะพื้นที่
    ประโยชน์ที่ได้รับ
    เพื่อการสาธิต
    ๑๐,๐๐๐
    กก.ตชด.๒๒ รอบขอบสระน้ำ ป้องกันการพังทลายของดิน
    เพื่อขยายพันธุ์
    ๘,๐๐๐
    ดอยตุง แปลงขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๘๒)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๔๑)