banthakum


ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม
ระบบการศึกษา
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการติดตามประเมินผล

ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม
โรงเรียนตำรวจชายแดนบ้านท่ากุ่ม (มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล อุปถัมภ์) ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิกัด TU ๔๔๙๕๙๔ อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจ ตระเวนชายแดนที่ ๑๑ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวน ชายแดน กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม (มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล อุปถัมภ์) สร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๖เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และอยู่ห่างไกลจากโรงเรียนวัดวรุณดิตถาราม เป็นโรงเรียน ระดับประถมศึกษา ระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตรเส้นทางคมนาคมลำบาก ทำให้เด็กที่มี อายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาไม่สามารถไปเรียนได้ ราษฎรในหมู่บ้าน ประมาณ ๗๓ ครอบครัว ได้เห็นความ สำคัญถึงการศึกษาของบุตรหลานจึง ได้ร่วมใจกันบริจาคที่ดิน โดยนายชื้น กุมภะ บริจาคที่ดิน จำนวน ๑๓ ไร่, นางเทียม เนตรสง่า บริจาคที่ดิน จำนวน ๕ ไร่กว่า, นางบัว เฉิดฉาย บริจาคที่ดิน จำนวน ๕ ไร่ และพื้นที่ป่าสงวน จำนวน ๒ ไร่ว่า รวมเป็นพื้นที่ประมาณ ๒๕ ไร่ และได้ช่วยกันก่อสร้างอาคารเรียน แบบชั่วคราว ทำด้วยไม้ จำนวน ๓ ห้อง ๑ หลัง และหน่วยพัฒนาชายแดนจังหวัดตราด (พชด.จต.) ได้มาสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๑ หลัง พร้อมขุดสระน้ำให้ ได้เริ่มทำการสอน ตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ได้รับเงินจาก มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล โดยคุณสุมิตร เลิศสุมิตร ประธานมูลนิธิ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) และสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม ทำสัญญาการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ โดย ก่อสร้างอาคารเรียน ตามแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ ขนาดกว้าง ๖.๕ เมตร ยาว ๓๖ เมตร จำนวน ๕ ห้อง ๑ หลัง และ ห้องสุขา จำนวน ๔ ห้อง ๑ หลัง พร้อมโต๊ะครู จำนวน ๔ ชุด, โต๊ะพร้อม เก้าอี้นักเรียน จำนวน ๑๒๐ ชุด และตู้เก็บ เอกสาร จำนวน ๔ ตู้ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม๒๕๓๗ คณะกรรมการวัดคลองใหญ่ โดย พระอาจารย์หมอเล็ก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจำนวน ๒๘๐,๐๐๐ บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ได้ พระราชทานเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน ตามแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ ต่อเติมอีก ๒ ห้องและทำการขุดสระน้ำ ขนาดกว้าง ๒๘ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ลึก ๔ เมตร เพื่อนำดินมาปรับพื้นที่บริเวณของโรงเรียนทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๘ มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล โดย คุณสุมิตร เลิศสุมิตรกุทูลเกล้าฯ ถวายเงิน จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) โดยเสด็จพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เพื่อก่อสร้างโรงอาหาร และห้องครัวให้กับโรงเรียนโดยก่อสร้างตาม แบบแปลน ตชด.๓๐๐/๓๘ และทำการปรับพื้นที่ถมดินทำถนนภายในโรงเรียน เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๙ พระอาจารย์หมอเล็ก พร้อมด้วย นายบรรพต เต็มศิริพันธ์ และคณะกรรมการวัดคลองใหญ่ และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา จังหวัดตราด ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ในการ ก่อสร้างห้องสมุดและห้องพยาบาล แบบดัดแปลง สร้างถังประปาและฐานพระ โดยใช้ช่างจากกองร้อยตำรวจตระเวน ชายแดนที่ ๑๑๗ สร้างแล้วเสร็จเมื่อ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๙
  • คำขวัญของโรงเรียน
    "รากฐานของตึก คือ อิฐ รากฐานของชีวิต คือการศึกษา"
    สีประจำโรงเรียนคือ สีเขียว และสีขาว

  • มีนายประศาสน์ ประเสริฐยิ่ง ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอแก่งหางแมวคนแรกปัจจุบันนายสมหมายวิเชียรฉันทร์ ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอและจัดตั้งเป็นอำเภอแก่งหางแมวเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๘ ประชากร เป็นชาย ๑๒,๕๐๙ คน เป็นหญิง ๑๒,๓๗๖ คน รวม ๒๔,๘๘๕ คน จำนวนครัวเรือน ๕,๘๗๖ หลังจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๑๖,๖๒๒ คนที่ตั้งอำเภอตั้งอยู่ที่ริมถนน ทางหลวงท้องถิ่นสายหนองกวาง-ขุนซ่องระหว่าง ก.ม ที่ ๑๖-๑๗ บ้านตาหน่อง หมู่ที่ ๑ ตำบลแก่งหางแมวพิกัดอาร์คิว ๒๕๔๓๙๓ พื้นที่ ๑,๑๕๔,๐๗๖ ตาราง กิโลเมตร หรือ ๗๒๑,๒๙๗.๕ ไร่

    อาณาเขตติดต่อ

    ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านคลองขัดหมู่ที่ ๗ ตำบลท่ากุ่ม
    ทิศใต้ ติดต่อ หมู่ที่ ๔ ตำบลตะกาง
    ทิศตะวันออก ติดต่อ ประเทศกัมพูชา ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร
    ทิศตะวันตก ติดต่อบ้านเสม็ดแดง หมู่ที่ ๒ ตำบลท่ากุ่ม
    ทิศตะวันตก ติดต่อบ้านเสม็ดแดง หมู่ที่ ๒ ตำบลท่ากุ่ม
    การประกอบอาชีพทำนา ทำไร่สับปะรด ทำสวนผลไม้ และทำสวนยาง
    การศาสนาประชาชนบ้านท่ากุ่มนับถือศาสนาพุทธ
    การสาธารณสุขมีสถานีอนามัย จำนวน ๑ แห่ง คือ สถานีอนามัยบ้านท่ากุ่ม
    ระยะทาง๕ กิโลเมตร

    ประวัติหมู่บ้านท่ากุ่ม

    หมู่บ้านท่ากุ่มตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ใน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมี นายไทย อภิบาลศรี พร้อมครอบครัว ได้อพยพเข้าอยู่เป็นครอบครัวแรก ต่อมาได้มีราษฎรอพยพเข้ามาอยู่ เพิ่มมากขึ้นทางราชการจึงได้มีการจัดระบบหมู่บ้านให้มีการปกครอง ตามกฎหมาย โดยจัดตั้งผู้ใหญ่บ้านปกครอง ปัจจุบัน มี นายชื้น กุมภะ ทำหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน มีประชากรจำนวน ๗๕ ครอบครัว ประชากร ชาย ๑๖๔ คน ประชากรหญิง ๑๘๘ คน เด็กวัยเรียนจำนวน ๕๓ คน มีพื้นที่ ประมาณ ๑๗,๑๒๕ ไร่ สภาพพื้นที่เป็นดินเหนียวปนลูกรังเหมาะแก่การ เพาะปลูก อุดมไปด้วย ทรัพยากรป่าไม้

    การคมนาคม

    หมู่บ้านท่ากุ่มมีสภาพเป็นป่ามีราษฎรเข้าไปจับจองพื้นที่ทำกิน โดยปลูกสวนยาง สวนผลไม้ เส้นทางเป็นลูกรัง ใช้ได้ทุกฤดู ยกเว้นอาจมีน้ำหลากท่วมถนนเป็นบางช่วงในฤดูฝน เส้นทาง ที่สะดวกที่สุด โดยการเดินทางโดยรถยนต์ จากกองกำกับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านท่ากุ่ม ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที เส้นทางจากจังหวัดตราถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านท่ากุ่ม ระยะทาง ๒๑ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๓๐ นาที เป็นถนนลูกรังก่อน ถึงโรงเรียน ๕ กิโลเมตร

    คณะกรรมการศึกษาประจำหมู่บ้าน

    ๑. นายชื้น กุมภะ ประธาน/ที่ปรึกษา
    ๒. นายชะอ้อน ผ่องแผ้วรองประธาน
    ๓. นายสง่า หนองแพ รองกรรมการ
    ๔.นายเสน่ห์ เฉิดฉาย กรรมการ
    ๕. นายสุนทร หนองแพ กรรมการ
    ๖. นายปรารถ ขันแข็ง กรรมการ
    ๗. นายดำ จันทร์ดา กรรมการ
    ๘.นายถนอม เกิดมณ๊ กรรมการ
    ๙. นางสุคนธ์ ภานภุ่มเหลา กรรมการ
    ๑๐.นางสมพร เวียงนาด กรรมการ
    ๑๑. นางวันดี เฉิดฉาย กรรมการ
    ๑๒.นางสำเนา บุญหนัก กรรมการ
    ๑๓. นางมาลัย พงษ์ทอง กรรมการ
    ๑๔. นางอริสา กำพุช กรรมการ
    ๑๕. นางใบเตย เฉิดฉาย กรรมการ

    อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากหลายจังหวัดด้วยกันการบริโภคก็จะแยก ออกเป็นภาคตามความถนัด การบริโภคนั้นไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ถูก ต้องเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่

    ระบบการศึกษา

    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม (มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล อุปถัมภ์) เป็น โรงเรียนในสังกัดกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ จังหวัดจันบุรี เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านท่ากุ่ม หมู่ที่ ๓ ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตราด กำหนดเป็น ๒ ภาคเรียน คือ
    ภาคเรียนที่ ๑ เปิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม
    ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรประถมศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการสอนโดยครู ตำรวจตระเวนชายแดน เปิดทำการสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ การดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ ฯ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้าน ท่ากุ่ม (มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล อุปถัมภ์) ตำบลท่ากุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดตรา
    สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน
    - อาคารเรียนถาวรแบบสปช.
    ๑๐๒/๒๖ ดัดแปลงขนาด ๗ ห้องเรียน
    จำนวน ๑ หลังและห้องสุขาขนาด ๔
    ห้อง จำนวน ๑ หลัง
    มูลนิธิสุมิตรเลิศสุมิตรกุลโดยคุณสุมิตร
    เลิศสุมิตรกุล ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จ
    พระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    สยามบรมราชถุมารีจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐บาท
    และพระอาจารย์หมอเล็กวัดคลองใหญ่จังหวัด
    ตราดและนายบรรพตเต็มศิริพันธุ์ทูลเกล้า
    ถวายเงิน โดยเสด็จพระราชกุศลแด่สมเด็จพระ
    เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    จำนวน ๒๘๐,๐๐๐บาท
    อาคารประกอบ
    -โรงอาหารและห้องครัว
    -อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    ก่อนวัยเรียน
    -ห้องสมุดและเรือนพยาบาล
    แบบดัดแปลง
    คุณสุมิตรเลิศสุมิตรกุลทูลเกล้าถวายเงิน
    โดยเสด็จพระราชกุศลฯจำนวน๕๐๐,๐๐๐บาท
    หน่วยพัฒนาชายแดนจังหวัดตราด(พชด.จต.)
    พระอาจารย์หมอเล็กวัดคลองใหญ่จังหวัด
    ตราด และนายพตเต็มศิริพันธุ์สนับสนุน
    วัสดุและอุปกรณ์การก่อสร้างโดยร่วมกับชุด
    ช่าง ร้อย ตชด.๑๑๗
    ๓.ประปา ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาจังหวัดตราด
    ๔.ฐานพระพุทธรูปและพระพุทธรูป นายกนกนางอุไรเผือกบางนาเป็นผู้บริจาค
    ๕.ถมดินปรับพื้นที่สนามทำถนนและ
    ขุดสระน้ำ
    เงินที่เหลือจากมูลนิธิสุมิตรเลิศสุมิตรกุล
    จำนวน๙๑,๑๓๐บาทและเงินที่เหลือจากการ
    บริจาคพระอาจารย์หมอเล็กวัดคลองใหญ่
    จังหวัดตราด จำนวน ๘๐,๐๐๐บาท

    จำนวนครูและนักเรียน

    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่ากุ่ม (มูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล อุปถัมภ์) จัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมปีที่ ๖ ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนถึง ระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๔ มีเด็กนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น ๕๓ คน เป็นชาย ๒๓ คน หญิง ๓๐ คน มีครู ตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอนจำนวน ๗ นาย ผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวนคน

    แสดงจำนวนครูที่ทำการสอนในโรงเรียน
    ลำดับยศ ชื่อ - ชื่อสกุล ประจำชั้น วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง
    ๑. ด.ต.เรืองศักดิ์ สรเดช- ม.๖ ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท.ภิรมย์ โคตรโยธา-ปกศ.สูงผู้ช่วยครูใหญ่
    ๓. พลฯสุเชียบ ยิ่งสุด ป.๓ปวส.ครูผู้สอน
    ๔. พลฯวิโรจน์ บุญหนักป.๔ม.๖ครูผู้สอน
    ๕. พลฯวีระพล วิลานันท์ป.๒ม.๖ครูผู้สอน
    ๖. พลฯวินัย วัลลพป.๑ม.๖ครูผู้สอน
    ๗. พลฯถนอม ดินดำป.๑ม.๖ครูผู้สอน
    ๘. นางสุนันท์ อภิบาลศรีอนุบาลม.๓ผู้ดูแลเด็กเล็ก
    ๙. น.ส.สุณีรัตน์ ขันแข็งอนุบาลม.๓ผู้ดูแลเด็กเล็ก

    แสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๓๙

    ชั้นเรียนจำนวนนักเรียน
    ชาย หญิงรวม
    ชั้นอนุบาล๑๐๑๖๒๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔-
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕---
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖---
    รวม๒๓๓๐๕๓

    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

    เริ่มดำเนินการปี ๒๕๓๗ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูก ฝังให้เด็กนักเรียน และเยาวชน ในพื้นที่ มีจิตสำนึก และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถนำ ผลิตผลที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติมาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

    กิจกรรมการดำเนินงาน

  • หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
  • เกษตรจังหวัดตราด
  • สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี
  • วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี ชลบุรี

  • การติดตามประเมินผล
  • เจ้าหน้าที่กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑
  • ตรวจเยี่ยมติดตามผลเดือนละ ๑ ครั้ง
  • ครู นักเรียน และผู้ปกครองรับผิดชอบดูแลต้นไม้ที่ปลูก และที่มีอยู่เดิมให้เจริญ เติบโต

  • แหล่งอ้างอิง :

    กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑
    (ค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา). (๑๓)
    (ตร. ท๑ น๙๖๑ ๒๕๓๙ ฉ.๒)