ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหินระบบการศึกษา
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ราษฎรบ้านท่าวังหิน ได้ร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยแยกสาขามาจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เนื่องจากระยะทางจากหมู่บ้านไปโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร มีแม่น้ำปราณบุรีขวางกั้น และเมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำป่าไหลหลาก อาจจะทำให้เกิดอันตรายและทำให้การเดินทางของนักเรียนได้รับความลำบาก แรกดำเนินการจัดตั้ง (แยกสาขา) ได้อาศัยศาลาการเปรียญสำนักสงฆ์ท่าวังหิน เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่นักเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๔๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูงและที่ลาดเชิงเขา อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล จะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ยาวนาน ระหว่างเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน

การคมนาคม
เส้นทางภายในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง การเดินทางลำบากเพราะค่อนข้างลาดชัน โดยเฉพาะฤดูในเส้นทางบางตอนจะถูกตัดขาด การติดต่อระหว่างหมู่บ้านกับตำบลและอำเภอมีเส้นทางคมนาคม ๑ เส้นทาง ระยะทางถึงที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ๒๗ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
หมู่บ้านท่าวังหินมีประชากรอาศัยอยู่ ๑๔๔ คน แยกเป็น ๓๔ ครัวเรือน เป็นชาย ๗๑ คน เป็นหญิง ๗๓ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ สับปะรด เผือก พริก อาชีพสำรองคือ อาชีพรับจ้าง และประมงน้ำจืด มีรายได้เฉลี่ยครอบครัว ๘,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายไพรวัลย์   บุญล้อม
ผู้ใหญ่บ้าน   นายสำราญ   ชูช่วย

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
มีเส้นทางคมนาคม ๑ เส้น เป็นถนนลูกรัง สามารถติดต่อหมู่บ้านใกล้เคียงได้ ๒ หมู่บ้าน คือ
๑. บ้านท่าทุ่ง หมู่ที่ ๓ ระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร
๒. บ้านกระทุ่น ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. พัฒนาเส้นทางคมนาคมให้ใช้ได้ทุกฤดูกาล
๒. การติดต่อระหว่างหมู่บ้านถึงอำเภอปราณบุรีค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเส้นทางคมนาคมค่อนข้างลาดชัน
๓. การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลลำบาก เนื่องจากภายในหมู่บ้านและตำบลไม่มีสถานีอนามัยหรือสถานพยาบาล

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านท่าวังหิน บ้านท่าทุ่ง และบ้านกระทุ่น ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๒

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑. อาคารเรียน ๑ หลัง คณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้ปกครอง
๒. อาคารโรงครัว โรงอาหาร ๑ หลัง คณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้ปกครอง
๓. อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง คุณสุชาติ - คุณวันทนีย์ ศรีทองกิตติกุล (ปราณบุรี)
๔. อาคารห้องสมุด ห้องพยาบาล คณะอาจารย์ - นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยา
เขตเทคนิคกรุงเทพ
๕. อาคารศูนย์พัฒนาเด็ก ๑ หลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาจ้าว (อบต.เขาจ้าว)
๖. เครื่องสูบน้ำดื่ม-น้ำใช้ คอนกรีต
เสริมเหล็ก ๔ ใบ บรรจุน้ำได้ ๙๐ ลูกบาศก์เมตร
หน่วยงานโยธาธิการและเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.)

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๙๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๘๖ คน เป็นชาย ๔๒ คน หญิง ๔๔ คน
มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑. ด.ต.สุภาพ จันทร์แก้ว
ม.๖
ครูใหญ่, บริหาร
๒.จ.ส.ต.ชัยรัตน์ ทิมแท้
ม.๖
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพ
อนามัยแม่และเด็ก
๓. จ.ส.ต.ชัยยศ ทิศาวงศ์
ม.๖
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๔.จ.ส.ต.นพดล หอมเมือง
ม.ศ.๕
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๕. จ.ส.ต.รวี ภู่สอาด
ม.ศ.๕
โครงการฝึกอาชีพ
๖. จ.ส.ต.มนัส ชูยินดี
ม.๖
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
๗. ส.ต.อ.ประดิษฐ์ อะละมาลา
ม.ศ.๕
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๘. ส.ต.อ.สวอง จันทบูรณ์
ปริญญาตรี
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๙. ส.ต.ต.พัฒนศักดิ์ จูจันทร์
ม.ศ.๕
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๒
๑๗
๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖
๑๑
รวม
๔๒
๔๔
๘๖


ปัจจุบันมีนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และศึกษาต่อ จำนวน ๑๕ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๖ คน

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต. มนัส ชูยินดี
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานป่าไม้อำเภอปราณบุรี
เริ่มโครงการเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๔๑ พื้นที่จำนวน ๕๐ ไร่
พื้นที่ป่าชุมชนยังไม่ได้รับอนุญาต อยู่ระหว่างดำเนินการ

ชนิดของต้นไม้/
สมุนไพร
ปริมาณ/จำนวนต้น
ได้รับพันธุ์ไม้จาก
พันธุ์ไม้ตามธรรม
ชาติหรือปลูกเสริม
ประโยชน์ที่ได้รับ
ต้นมูก
๘๐๐
-
ธรรมชาติทั้งหมด รักษาความชื้นได้
มะขามป้อม
๓๐๐
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จ.ประจวบฯ ปลูกเสริมทั้งหมด รับประโยชน์ด้านพลังงาน
สะเดา
๓๐๐
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จ.ประจวบฯ ปลูกเสริมทั้งหมด และเชื้อเพลิง
สีเสียดแก่น
๓๐๐
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จ.ประจวบฯ ปลูกเสริมทั้งหมด ให้ความสมบูรณ์แก่ดิน
ชมพูพันธุ์ทิพย์
๓๐๐
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จ.ประจวบฯ ปลูกเสริมทั้งหมด ช่วยป้องกันดินพังทลาย
ชงโค
๓๐๐
ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ จ.ประจวบฯ ปลูกเสริมทั้งหมด แหล่งอาศัยของสัตว์ป่า

ตารางแสดงการปลูกหญ้าแฝกของโรงเรียน
เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๙ พื้นที่จำนวน ๑ ไร่ ๓๐๐ตารางวา

วัตถุประสงค์
ของการปลูก
ปริมาณ/
จำนวนต้น
ได้รับพันธุ์จาก
ลักษณะพื้นที่
ประโยชน์
ที่ได้รับ
เพื่อการสาธิต ๘,๐๐๐ กอ โครงการพัฒนาดอยตุง ลาดชัน/ปลูกรอบ
แปลงปลูกไม้ผลลาด
ชัน แหล่งน้ำ
ให้ความชุ่มชื้น
แก่ต้นไม้ป้องกันการ
พังทลายของดิน
เพื่อขยายพันธุ์ ๔,๐๐๐  กอ สนง.พัฒนาที่ดิน
หนองพลับ อ.หัวหิน
พื้นที่ลาดชัน
แหล่งน้ำ
ป้องกันการ
พังทลายของดิน

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๒๔)
(ตก. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๑)