janthaburi
trad

sakraw
shachesao
kanjanaburi
ratchaburi
prachuap
phetchaburi
surin
ubon
amnatcharoen
yaso
mukdahran
nakhonpranom
loei
udon
nongkhai

phitsanulok
uttaradit
nan
chiangrai

chiangmai
maehongson
tak

chumpron
surat
ranong
nakhonsri
songkhla

phatthalung

yala
nara
srisagad
sakonnakorn
ความเป็นมา
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยาม บรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ เนิน ร.ร.ตชด.บำรุงที่ ๑๐๗ บ้านห้วยจะ ด่าน ต.ปึงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่เมื่อ วันที่๖ กุมภาพันธ์๒๕๓๐ได้มีพระราช บัญชา ให้ดำเนินการปลูกฝังการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เด็ก นักเรียนและให้โรงเรียน ปลูกสะ เดา ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมา ประกอบเป็นอาหาร อาศัยเป็นร่มเงา แล้วเมล็ดสะเดา ยังใช้ในการ ป้องกันกำจัดแมลงในผักได้ ด้วยซึ่งไม่มีพิษตกค้าง และทำลายสภาพแวดล้อมเหมือน สาร เคมีทั่ว ๆ ไป จากพระราชดำริดังกล่าวโครง การนี้จึงได้ขยายออกไปยัง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อื่น ๆด้วย เช่นการส่งเสริมให้มี การปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น

สถานการณ์ปัจจุบัน
กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารระยะที่ ๑ นั้นได้แก่ การจัดให้มีป่าชุมชนในหมู่บ้านที่มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตั้งอยู่ทั้งหมด ๑๐๒ แห่ง และกิจกรรมรณรงค์การปลูกหญ้าแฝกเพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ การดำเนินกิจกรรมเท่าที่ผ่านมายังไม่ได้เน้นในเรื่องของการให้ความรู้ควบคู่กับการปฏิบัติ จึงทำให้เด็กและประชาชนยังมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากครูผู้ซึ่งเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมยังขาดความรู้ ขาดแนวทางในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังขาดสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ที่เหมาะสมที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้

วัตถุประสงค์
เพื่อปลูกฝังให้เด็กนักเรียน เยาวชน และประชาชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย

๑. โรงเรียนในพื้นที่โครงการทุกโรงมีการจัดการเรียนการสอนเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา
๒. ประชาชนทุกชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

กิจกรรมสำหรับนักเรียน
๑. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน มีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
  ๑.๑ พัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
  ๑.๒ จัดทำคู่มือการสอนสำหรับครูเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอน
  ๑.๓ ผลิตสื่อที่จำเป็น
  ๑.๔ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในกระบวนการเรียนการสอน
  ๑.๕ ฝึกอบรมครูในเรื่องวิธีการจัดการเรียนการสอน
๒. การให้ความรู้แก่ครูด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมสำหรับประชาชน
๑. การให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้
  ๑.๑ จัดทำเนื้อหาในการอบรมที่เหมาะสม
  ๑.๒ จัดทำคู่มือสำหรับประชาชน
  ๑.๓ ผลิตสื่อที่จำเป็น
  ๑.๔ อบรมประชาชนเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒. การดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตัวอย่างเช่น
  ๒.๑ การใช้อินทรียวัตถุในการปรับปรุงบำรุงดิน และลดการใช้สารเคมี
  ๒.๒ การปลูกไม้ใช้สอย
  ๒.๓ การสาธิตและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก
  ๒.๔ การพัฒนาป่าชุมชนในพื้นที่
  ๒.๕ อื่น ๆ

  
แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี .(๒)