ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำน้อยระบบการศึกษา
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตารางแสดงการปลูกหญ้าแฝกของโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำน้อย

หมู่ที่ ๕ บ้านแม่น้ำน้อย ตำบลไทรโยค อำเภอโทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
เปิดดำเนินการด้านการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๒๐ โดยใช้ศาลาวัดแม่น้ำน้อยเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ผู้ริเริ่ม คือ พระอธิการเถียร ปภาโส ได้ติดต่อประสานงานกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ในสมัยนั้น ให้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ไปทำการสอน ต่อมา นายพรหม ชาวลา ราษฎรบ้านแม่น้ำ ได้มอบที่ดินให้จัดสร้างโรงเรียน ประมาณ ๓๕ ไร่ และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดน ไปทำการสอน ๒ นาย คือ ส.ต.อ.ถวิล ชื่อชมน้อย และ ส.ต.ท.ณรงค์ศักดิ์ โปร่งหนองเมือง ต่อมาได้จัดส่งครูไปทำการสอนเพิ่มเติมอีก ๑ นาย คือ ส.ต.อ.เสถียร ศิริเลิศ
เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๑ บริษัทเชลส์ฯ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนให้ ๑ หลัง เมื่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายสถานที่เรียนจากศาลาวัดแม่น้ำน้อย มาทำการเรียนการสอนที่อาคารหลังใหม่ และตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำน้อย" ต่อมาได้มีการปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
โรงเรียนพลับพลาไชยกรุงเทพฯ ได้มอบเงินให้เพื่อต่อเติมอาคารเรียน โดยทำฝาอาคาร และเทพื้นซีเมนต์อาคารเพิ่มเติม
ประชาชนแม่น้ำน้อย และบริษัท เชลส์ฯ ร่วมกันก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน ๒ ใบ
เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๒ สโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพฯ ได้มอบเงินจำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท สร้างอาคารหลังใหม่เพิ่มอีก ๑ หลัง
เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรงเรียนและโครงการตามพระราชดำริฯ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ กรมโยธาธิการ ได้สร้างถังเก็บน้ำฝน คสล.ให้ ขนาด ๕๐ ลูกบาศก์เมตร
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๒ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ทำการก่อสร้างอาคารขนาด ๖ x ๙ เมตร ให้จำนวน ๑ หลัง
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ วิทยาลัยการอาชีพกาจนบุรี ได้จัดส่งนักเรียนศึกษาไปดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสหกรณ์ของโรงเรียน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
หมู่บ้านแม่น้ำน้อย เดิมขึ้นอยู่กับหมู่ที่ ๑ บ้านแก่งประลอม ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาจนบุรี ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้แยกจากหมู่บ้านที่ ๑ มาเป็นหมู่ที่
ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านไทรโยคใหญ่ หมู่ที่ ๗
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหาดงิ้ว หมู่ที่ ๕ ตำบลวังกระแจะ
ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านแก่งประลอม หมู่ที่ ๑
ทิศตะวันตก ติดต่อ เทือกเขา  

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ๒ แห่ง คือ แม่น้ำแควน้อย ไหลจากทิศเหนือมาจากเขื่อนเขาแหลม ไหลลงสู่ทิศใต้ และอีกหนึ่งสายไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย

สภาพภูมิอากาศ
ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ฤดูร้อนอากาศอบอ้าว ฤดูฝนมีฝนตกชุก

การคมนาคม
มีถนนเข้าถึงหมู่บ้านจากจังหวัดกาจนบุรีถึงบ้านแม่น้ำน้อย ระยะทาง ๑๑๑ กิโลเมตร ถนนลาดยาง ๘๙ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๘ กิโลเมตร ถึงโรงเรียน เดินทางต่อจากโรงเรียนข้ามแม่น้ำแควน้อย ทางเรือ ๔ กิโลเมตร ถึง หมู่บ้านแม่น้ำน้อย ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง

จำนวนประชากร
ปัจจุบันมี ๑๒๐ ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน ๓๔๑ คน เป็นชาย ๑๖๓ คน หญิง ๑๗๘ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
มีอาชีพทำไร่ รับจ้าง รายได้เฉลี่ย ๑๕,๐๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันตำบลไทรโยค นายเจือ เหรียญทอง
ผู้ใหญ่บ้าน นายจงกล ตาระคำ

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านใกล้เคียง
หมู่บ้านแก่งประลอม หมู่ที่ ๑ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาจนบุรี มีราษฎร ๘๘ ครัวเรือน ประชากร ๓๖๔ คน ชาย ๒๐๘ คน หญิง ๑๕๖ คน

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. พื้นที่อุทยานประกาศกับพื้นที่หมู่บ้านราษฎร ที่ทำกินอยู่เดิม (อุทยานไทรโยคใหญ่)
๒. ต้องการไฟฟ้า
๓. ฝึกอาชีพที่ประชาชนต้องการ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่น้ำน้อย สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ในความคับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกาจนบุรี โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยรับเด็กจากบ้านแม่น้ำน้อย และบ้านดงพง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ขนาด ๙.๕ x ๒๒.๕ เมตร โรงเรียนพลับพลาไชยกรุงเทพ มอบเงินต่อเติมอาคารเรียน
    ๒. อาคารเรียน ขนาด ๑๑ x ๒๐ เมตร สโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพ มอบเงินให้ ๒๕๐,๐๐๐ บาท
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๑๒.๕ x ๒๒ เมตร มูลนิธิพีระยานุเคราะห์ (วิทยาลัยการอาชีพต่อเติมห้องครัว)
    ๔. อาคารห้องสมุด ขนาด ๔ x ๙ เมตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
    ๕. อาคารสหกรณ์ ขนาด ๓ x ๕ เมตร คณะครู และนักเรียนโรงเรียน ตชด.
    แม่น้ำน้อย และวิทยาลัยการอาชีพกาญจนบุรี
    ๖. เล้าไก่ ขนาด ๔ x ๗ เมตร ธนาคารทหารไทย
    ๗. เรือนเพาะชำ ขนาด ๓ x ๖ เมตร กก.ตชด. ๑๓
    ๘. โรงเก็บเครื่องมือการเกษตร ขนาด ๔ x ๗ เมตร กก.ตชด. ๑๓
    ๙. อาคารที่พักเด็กบ้านไกล จำนวน ๒ หลัง สมาคมผู้ค้าเชลส์แก๊สประเทศไทย
    ๑๐. สนามเด็กเล่น ขนาด ๘.๕ x ๒๐ เมตร วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
    ๑๑. โรงเพาะเห็ด คณะครูและผู้ปกครองร่วมสร้าง

    จำนวนครู และนักเรียน
    ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ – สกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. จ.ส.ต. วสันต์ ทองสร้อย อนุปริญญา ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.อ. เมธี นาสารีย์ ม.๖ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๓. ส.ต.อ. อุรารัตน์ รัตนะ ม.๖ โครงการฝึกอาชีพ
    ๔. ส.ต.อ. สุจริต อิ่มยิ้ม ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๕. ส.ต.อ. ชาญชัย นาคาแก้ว ม.๖ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    และโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
    แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
    ๖. ส.ต.ท. สุราษฏร์ พินสุบิน ม.๖ โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๗. ส.ต.ต. สุเทพ พูนชัย ม.๖ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และโครงการหญ้าแฝก
    ๘. ส.ต.ต. ศิลา ศรเดช ม.๖ โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๙. พลฯ หญิงวรรณา ใจซื่อ ปวท. ครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๐. พลฯ หญิงพัชฎาพร สัตย์มั่น ม.๖ ครูผู้สอนเด็กก่อนวัยเรียน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๐
    ๑๓
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๔๘
    ๕๑
    ๙๙

    โครงการตามพระราชดำริ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุนกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร(๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ สิบตำรวจตรี สุเทพ พูนชัย
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานป่าไม้อำเภอไทรโยค สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี
    เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ พื้นที่จำนวน ๒๐ ไร่

    ชนิดของต้นไม้/
    สมุนไพร
    จำนวน/
    จำนวนต้น
    ได้รับ
    พันธุ์ไม้จาก
    พันธุ์ไม้ตามธรรมชาติ
    หรือปลูกเสริม
    เสลา
    ๔๐
    ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ ปลูกเสริม
    ตะแบก
    ๕๐
    กาญจนบุรี ปลูกเสริม
    สัก
    ๑๐๐
    กาญจนบุรี ปลูกเสริม

    ตารางแสดงการปลูกหญ้าแฝกของโรงเรียน
    เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๖พื้นที่จำนวน ๒๐ไร่

    วัตถุประสงค์
    ของการปลูก
    ปริมาณ
    /จำนวนต้น
    ได้รับพันธุ์จาก
    ลักษณะพื้นที่
    ประโยชน์ที่ได้รับ
    เพื่อการสาธิต ๕,๐๐๐ ต้น พัฒนาที่ดินจังหวัด
    กาญจนบุรี
    รอบบ่อปลา ป้องกันการพังทลาย
    ของหน้าดิน
    เพื่อขยายพันธุ์ ๕,๐๐๐ ต้น พัฒนาที่ดินจังหวัด
    กาญจนบุรี
    แปลงสาธิต ขยายพันธุ์แจกจ่าย
    ประชาชน

    แหล่งอ้างอิง: สำนักโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๔๙)
    (กจ. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๒)