ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้องระบบการศึกษา
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง

หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้องเดิมตั้งอยู่บ้านห้วยฆ้อง ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี พิกัด VC ๙๕๕๖๙๐ ปี พ.ศ.๒๕๓๖ กระทรวงมหาดไทยประกาศจัดตั้งอำเภออำนาจเจริญ เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ดังนั้นที่ตั้งของโรงเรียนจึงเปลี่ยนใหม่เป็นบ้านห้วยฆ้อง หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ห่างจากอำเภอประมาณ ๒๘ กิโลเมตร เดิมเด็กนักเรียนในหมู่บ้านไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองไฮน้อย ซึ่งระยะทางห่างจากหมู่บ้าน ๖ กิโลเมตร การสัญจรไปมาลำบากมากตลอดจนแนวทางก็เป็นป่าทึบไม่ปลอดภัย ราษฎรในหมู่บ้านจึงร้องขอไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๓ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ในปัจจุบัน) ให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น พันตำรวจเอกฉัตรพล คัดโนภาส ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๓ ในขณะนั้น จึงมีหนังสือขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้องไปยัง พลตำรวจตรี วาริชัย สุริกุล ณ อยุยา ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๒ และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งจากกรมตำรวจ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๒๙ โดยคณะกรรมการหมู่บ้านได้จัดสรรที่ดินสาธารณะประโยชน์ จำนวน ๑๗ ไร่ ๓ งาน ๓๓ ตารางวา ให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนและสร้างอาคารเรียนชั่วคราว เปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ พ.ศ.๒๕๓๑ ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสันร่วมกับคณะครู และราษฎรในหมู่บ้านร่วมกันสร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน พ.ศ.๒๕๓๖ นักศึกษาค่ายอาสาพัฒนาจากวิทยาลัยครูอุบลราชธานีได้ต่อเติมอาคารเรียน พ.ศ.๒๕๓๙ คณะครูและราษฎรในหมู่บ้านร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารสหกรณ์โรงเรียน อาคารเรือนพยาบาล พ.ศ.๒๕๓๙ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ได้บริจาคเงินสร้างอาคารชั้นเดียว กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร อีก ๑ หลัง ชื่ออาคาร "กาญจนาภิเษก"

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ปี พ.ศ.๒๕๒๑ ราษฎรจากบ้านพุทธรักษา ตำบลโคกก่ง อำเภอชานุมาน จังหวัดอุบลราชธานี (เดิม) อพยพเข้ามาอาศัย ต่อมามีราษฎรจากบ้านหนองไฮน้อย อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่ม จึงจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ พื้นที่เป็นพื้นที่ราบสลับที่ดอนเล็กน้อย

การคมนาคม
หมู่บ้านอยู่ห่างที่ทำการอำเภอชานุมาน ประมาณ ๒๘ กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณ ๔๕ กิโลเมตร การคมนาคมในหมู่บ้านเป็นถนนหินลูกรังสามารถใช้การได้ตลอดปี

จำนวนประชากร
บ้านห้วยฆ้อง หมู่ที่ ๕ ประชากร จำนวน ๑,๐๒๒ คน เป็นชาย ๕๒๐ คน หญิง ๕๐๒ คน

การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ รับจ้างใช้แรงงานต่างจังหวัดบางฤดูกาล

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน หมู่ที่ ๕ นายสุที ศรีด้วง

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านใกล้เคียง
  • บ้านหนองแมงดา หมู่ที่ ๓ มีประชากร ๗๙๔ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญโฮม สุทธาศิริ
  • บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๓ มีประชากร ๔๒๙ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายนิวุฒิ สอนพงษ์
  • บ้านหนองไฮน้อย หมู่ที่ ๖ มีประชากร ๙๐๔ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอารี สว่างเนตร
  • บ้านโสกกระแต้ หมู่ที่ ๘ มีประชากร ๕๘๔ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายณรงค์ อ่อนนิ่ม
  • บ้านห้วยกระแสน หมู่ที่ ๗ มีประชากร ๒๔๕ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายคำตัน สังฆวัตร์

  • ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
    ปัญหาความยากจนของราษฎร, สภาพความแห้งแล้ง, การฝึกอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริมและแหล่งน้ำ การเกษตร

    ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอำนาจเจริญ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยฆ้องและห้วยกระแสน ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๓

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    โรงเรียนมีอาคารเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนถาวร ชมรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือรถไฟมักกะสัน
    ๒. อาคารเรียนถาวร ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
    ๓. สหกรณ์โรงเรียน, เรือนพยาบาล ชาวบ้านห้วยฆ้อง

    จำนวนครู และนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๑๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย
    ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๔๒ มีนักเรียน ๒๕๘ คน เป็นชาย ๑๓๔ คน หญิง ๑๒๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑๓ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ – สกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ร.ต.ท.เฉลิมพลิ เข็มทอง ป.กศ.สูง ครูใหญ่
    ๒. ด.ต.พิทยา ศรีทัพไทย ป.กศ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๓. ด.ต.ธีรศักดิ์ ศรีจันทร์ ม.ศ.๓ โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๔. จ.ส.ต.บริสุทธิ์ หนูดี ม.ศ.๓ โครงการฝึกอาชีพ
    ๕. จ.ส.ต.สวาท  ศิริทิพย์ น.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๖. จ.ส.ต.แสนสุข คนขยัน อ.ศศ. โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. จ.ส.ต.ไสว สังกะเพศ น.บ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๘. จ.ส.ต.พรชัย เสียงหวาน ม.ศ.๕ โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๙. ส.ต.อ.ณรงค์  ปัดนา ค.บ. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๑๐. ส.ต.ท.ฉลาด อุนาภาค ป.กศ.สูง โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๑๑. ส.ต.ต.ชรินทร์ ภิญโญ ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๑๒. พลฯ หญิง สุธาสินี เสริมสุข ศศ.บ. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๑๓. พลฯ หญิง ชนัญธิดา ดำงาม ม.๖ -

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๕
    ๒๖
    ๕๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๘
    ๑๗
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๗
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๒๐
    ๑๖
    ๓๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๒๓
    ๒๑
    ๔๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๑๗
    ๒๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๑๐
    ๒๕
    รวม
    ๑๓๔
    ๑๒๔
    ๒๕๘

    การศึกษาต่อขอนักเรียน และการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐)
    มีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้ว จำนวน ๗๕ คน ศึกษาต่อ จำนวน ๓๗ คน ประกอบอาชีพ ๓๘ คน

    โครงการตามพระราชดำริ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๔๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สวาท ศิริทิพย์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำนักงานป่าไม้จังหวัดอำนาจเจริญ, สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตจังหวัดอำนาจเจริญ
    เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ พื้นที่จำนวน ๑๐ ไร่ ได้รับอนุญาตให้เป็นป่าชุมชนแล้ว

    ชนิดของต้นไม้/
    สมุนไพร
    ปริมาณ/
    จำนวนต้น
    ได้รับพันธุ์ไม้จาก
    ประโยชน์ที่ได้รับ
    ยางนา
    ๒๐
    ธรรมชาติ ร่มเงา, รักษาความชุ่มชื้น
    กระบาก
    ๔๕
    ธรรมชาติ ร่มเงา,รักษาความชุ่มชื่นร่มเงา
    กระบก
    ๒๐
    ธรรมชาติ
    รักษาความชุ่มชื่นร่มเงา
    ยูคาลิปตัส
    ๑,๐๐๐
    ป่าไม้เขตจังหวัด
    รักษาความชุ่มชื่นร่มเงา
    ประดู่
    ๑๐๐
    ธรรมชาติ
    รักษาความชุ่มชื่นร่มเงา
    พยุง
    ๕๐
    ธรรมชาติ
    รักษาความชุ่มชื่นร่มเงา
    พอก
    ๒๐
    ธรรมชาติ
    รักษาความชุ่มชื่น

    ตารางแสดงการปลูกหญ้าแฝกของโรงเรียน
    วัตถุประสงค์/
    ของการปลูก
    ปริมาณ/จำนวนต้น
    ได้รับพันธุ์ไม้จาก
    ลักษณะพื้นที่
    ประโยชน์ที่ได้รับ
    เพื่อการสาธิต
    ๘,๐๐๐
    กก.ตชด.๒๒ รอบขอบสระน้ำ ป้องกันการพังทลาย
    เพื่อขยายพันธุ์
    ๓,๐๐๐
    โครงการพัฒนาดอยตุง แปลงขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๒๐๕)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘ ๒๕๔๒)