ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้งระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
จำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม - บุญพริ้ง

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านห้วยไผ่ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๐๑ เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณวัดประจำหมู่บ้านห้วยไผ่ (ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนบ้านห้วยไผ่) หมู่ที่ ๔ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๖ (เดิม) อำเภอเมือง จังหวัดตาก จำนวน ๓๐๐ บาท มาดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๑๐ เมตร หลังคามุงด้วยหญ้าคา สำหรับฝานั้น ทำด้วยฟากไม้ไผ่ ม้านั่งทำด้วยปีกไม้ โดยราษฎรในหมู่บ้านร่วมกันสร้างขึ้น เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป.๑ - ป.๔ ขณะนั้นมีครู ตชด. ทำการสอน ๒ นาย คือ ส.ต.ต.เฉลิม สินอำพล ผบ.หมู่ กก.ตชด.เขต ๖ (เดิม) เป็นครูคนแรก และพลฯ ธวัช วิมลศิลป์ เป็นครูผู้ช่วย มีนักเรียนทั้งหมด ๒๖ คน เป็นชาย ๑๓ คน หญิง ๑๓ คน ได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ การเรียน-การสอน จากหน่วยยูซ่อม และกระทรวงศึกษาธิการ
ปี พ.ศ.๒๕๐๔ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งใหม่ (ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน) โดยได้รับความร่วมมือจากนายทองดี พูคุณ ผู้ใหญ่บ้าน และนายสนั่น เทพนันท์ ผู้ช่วย ผู้ใหญ่บ้าน และราษฎรบ้านห้วยไผ่ และบ้านบ่อเบี้ย ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ประมาณ ๖๘ คน ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวรหลังใหม่ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๔๐ เมตร
ปี พ.ศ.๒๕๑๔ บช.ตชด. ได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งนายบุญธรรม และนางบุญพริ้ง ต.สุวรรณ เป็นผู้บริจาคผ่านมูลนิธิ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นจำนวนเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) ได้มอบหมายให้ศูนย์นิสิตจุฬาธรรมศาสตร์ ออกค่ายอาสาพัฒนา ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๑๒ x ๔๐ เมตร เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๖
เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำการเปิดอาคารเรียน พร้อมกับพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม-บุญพริ้ง" เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ นายบุญธรรม และนางบุญพริ้ง ต.สุวรรณ ผู้ซึ่งบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนในครั้งนั้น
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๘ ไร่ ๓ งาน ๙๒ ตารางวา

ข้อมูลหมู่บ้านห้วยไผ่
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ราษฎรอพยพมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยไผ่ประมาณ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว โดยครั้งแรกเข้ามาอยู่ประมาณ ๕ - ๖ ครอบครัวเท่านั้น ต่อมาได้มีพี่น้องอพยพติดตามเข้ามาอยู่อาศัย และทำมาหากินเพิ่มเติมอีกจนถึงปัจจุบัน

สภาพภูมิประเทศ
เป็นที่ราบหุบเขา ความสูงจากระดับน้ำทะเล ๔๙๗ เมตร

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านภูต่าง ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านห้วยยาง ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

จำนวนประชากร
ปัจจุบันหมู่บ้านห้วยไผ่ มีราษฎรอาศัยอยู่จำนวน ๑๘๕ ครอบครัว ประชากรจำนวน ๕๐๐ คน เป็นชาย ๒๕๕ คน เป็นหญิง ๒๔๕ คน ใช้ภาษาไทยท้องถิ่น มีสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ

สภาพทางเศรษฐกิจ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม (ทำไร่ข้าวโพด, ไร่ถั่ว, ปลูกข้าว) ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน

การคมนาคม
บ้านห้วยไผ่ อยู่ห่างจากจังหวัดพิษณุโลกประมาณ ๒๘๑ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง และอยู่ห่างจากจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ ๑๘๓ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๓ ชั่วโมง

ผู้นำหมู่บ้าน
นายสมภาร ดีป้อง เป็นกำนันตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบุญธรรม-บุญพริ้ง เปิดทำการสอนตามหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน
  • ภาคเรียนที่ ๑ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน ขนาด๑๒
    x๔๐ เมตร ๑ หลัง จำนวน ๓
    ห้องเรียน
    - ได้รับการสนับสนุนจากนายบุญธรรม และนางบุญพริ้ง ต.สุวรรณ บริจาคผ่านมูลนิธิสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วงเงินในการก่อสร้างประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท - ปี ๒๕๓๘ได้รับงบปรับปรุงซ่อมแซมจาก บช.ตชด.จำนวน ๙๖,๐๐๐ บาท
    ๒) อาคารสหกรณ์ร้านค้า
    ขนาด ๓x๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
    - ได้รับการสนับสนุนจากวิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ และประชาชนบ้าน ห้วยไผ่ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด
    ๓) อาคารห้องสมุด ขนาด ๒.๕
    x ๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
    - คณะครู ร.ร.ชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง ร่วมกับประชาชนบ้านห้วยไผ่ ช่วยกันสร้าง โดยได้รับงบประมาณการก่อสร้างจากงบ กชช. และราษฎร บริจาคเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
    ๔) ห้องพยาบาล ขนาด ๒.๕ x
    ๔ เมตร จำนวน ๑ หลัง
    - คณะครู ร.ร.ชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง ร่วมกับประชาชนบ้านห้วยไผ่ ช่วยกันสร้างโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด
    ๕) ห้องน้ำ-ห้องส้วม ขนาด ๓ ห้อง
    จำนวน ๑ หลัง
    - คณะนักศึกษาวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ร่วมกับคณะครูนักเรียน ร.ร.ชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง ช่วยกันสร้าง เมื่อปี ๒๕๑๖ ใช้งบประมาณในการ ก่อสร้าง จำนวน ๕,๐๐๐ บาท
    ๖) ถังเก็บน้ำฝน ๓๓ ๒ ชุด จำนวน ๖
    ถัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร
    สูง ๔ เมตร
    - ได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาการอำเภอบ้านโคก จำนวน ๑ ชุด วงเงินใน การก่อสร้าง ๓๕,๐๐๐ บาท และสาธารณสุขอำเภอบ้านโคก จำนวน ๑ ชุด วงเงินในการก่อสร้างประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท
    ๗) ถังเก็บน้ำฝน ๒๒ จำนวน ๑ ชุด
    จำนวน ๒ ถัง ขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลาง ๒ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร
    - ได้รับการสนับสนุนจากงบ กชช. จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
    ๘) อาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๗ x ๑๖
    เมตร จำนวน ๑ หลัง
    - นักศึกษาวิทยาลัยครูอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนบ้านห้วยไผ่ ช่วยกัน ก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๒๖ ใช้งบในการก่อสร้างประมาณ ๖๕,๐๐๐ บาท
    ๙) บ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง ขนาด
    ๒๒ ตารางเมตร
    - คณะครู ร.ร.ชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง และราษฎร ช่วยกันก่อสร้างใน ปี ๒๕๑๖ โดยได้รับเงินในการก่อสร้างประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท
    ๑๐) บ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง ขนาด
    ๔๕ ตารางเมตร
    - คณะครู ร.ร.ชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง และราษฎร ช่วยกันก่อสร้างเมื่อ ปี ๒๕๑๖ ใช้งบประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท
    ๑๑) เสาธงสูง ๑๒ เมตร - คณะครู ร.ร.ตชด.บุญธรรม-บุญพริ้ง บริจาคเป็นเงิน ๕๐๐ บาท

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๗ นาย และผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวน ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    ตำแหน่ง
    คุณวุฒิ
    ๑. ร.ต.ต.เกษม บุญเรือง
    ครูใหญ่
    นบ.
    ๒. จ.ส.ต.พงษ์เดช ปานคง
    ครูประจำชั้น
    มศ.๕
    ๓. ส.ต.ท.ประชัน เฟื่องแก้ว
    ครูประจำชั้น
    ศศบ.
    ๔. ส.ต.ต.มานะ ธิแปง
    ครูประจำชั้น
    คบ.
    ๕. ส.ต.ต.ไพนิเอม ถิ่นสอน
    ครูประจำชั้น
    ม.๖
    ๖. ส.ต.ต.ธนชัย มะธิปิไชย
    ครูประจำชั้น
    ม.๖
    ๗. ส.ต.ต.ณรงค์ สาลการ
    ครูประจำชั้น
    ม.๖
    ๘. นางสาววิมล พันป้อง
    ผู้ดูแลเด็กเล็ก
    ปวส.
    ๙. นางสาวสุรางค์ ป้องไข
    ผู้ดูแลเด็กเล็ก
    ม.๖

    ตารางแสดงจำนวนเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ๑๒
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    รวม
    ๔๔
    ๔๐
    ๘๔

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
    โรงเรียนอยู่ในพื้นที่ ๓ คือ พื้นที่ปกติ เป็นพื้นที่ที่มีสถานบริการสาธารณสุขอยู่ใกล้ รัศมีไม่เกิน
    ๑๕ กิโลเมตร ประชาชนสามารถเดินทางไปรับบริการได้ตลอดปี
    จำนวนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ ๒ คน
    เด็กอายุ ๐ - ๓ ปี จำนวน ๓๓ คน (ชาย ๑๕ คน หญิง ๑๘ คน)

    กิจกรรม
    หมู่บ้านห้วยไผ่
    รวม
    ๑.การดูแลหญิงมีครรภ์
    - แนะนำให้ฝากครรภ์
    - จ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
    - ให้ความรู้ด้านโภชนาการ
     
    ๒ คน แนะนำไปสถานีอนามัยห้วยไผ่
    ๒ คน/ทุกเดือน
    ๑ ครั้ง/สัปดาห์
     
    ๒ ครั้ง
    ๖ ครั้ง
    ๒๘ ครั้ง
    ๒.การดูแลเด็ก ๐ - ๓ ปี
    - ชั่งน้ำหนัก
    - กระตุ้นให้เลี้ยงด้วยนมแม่
     
    ๓๓ คน ๓ เดือน/ครั้ง
    ๑๐ คน/ครั้ง/เดือน
     
    ๒ ครั้ง
    ๗ ครั้ง
    รวม
    ๓๕ คน
    ๔๕ ครั้ง

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๘๙)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๔๒)