ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรุนระบบการศึกษา
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา ๒๕๔๐

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรุน

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรุน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๗ บ้านรุน ตำบลอาโพน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ โดยราษฎรอำเภอบัวเชด นายรัตน์ สุขรอบ และราษฎรบ้านโคกทมู่บ้านรุน บริจาคที่ดิน และดำเนินการก่อสร้างร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ เปิดทำการเรียนการสอน เมื่อ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๙ โดยมีนายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธี
ผู้ให้การสนับสนุนบริจาคสร้างอาคารเรียนและวัสดุอุปกรณ์ ดังนี้
๑. พระครูธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๖๐,๐๐๐ บาท
๒. ร้านทองทศจังหวัดสุรินทร์ และคณะ พ.ต.ต.สมศักดิ์ ชัยรุ่งเรือง สว.ทล. จังหวัดสุรินทร์ บริจาควัสดุ อุปกรณ์ก่อสร้างและอุปกรณ์ไฟฟ้า
๓. พระราชวิสุทธิเมธี เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ บริจาคโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน บ้านพักครู ๔ หลัง
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกษ กรุงเทพฯ และนางชาวลักษณ์ พฤษะวัน สร้างอาคาร ปสช โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๔ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เป็นหมู่บ้านอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนา โครงการหมู่บ้าน อพป. เศรษฐกิจยังยากจน ประชากรหนาแน่น ครอบครัวขยายไปตั้งอยู่บนที่เนินสูงใกล้สันเขา ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม

การคมนาคม
ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ ๗๖.๕ กิโลเมตร ถนนลาดยาง ๗๖ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๕๐๐ เมตร

จำนวนประชากร
มีประชากรอาศัยอยู่ ๑๘๖ หลังคาเรือน รวม ๘๖๖ คน เป็นชาย ๔๒๐ คน หญิง ๔๔๖ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา มีรายได้เฉลี่ยประมาณ ๑๒,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายทั่ง กล้วยทอง
ผู้ใหญ่บ้าน นายเซิน อัมภา

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านสะแร หมู่ที่ ๖ ตำบลโชคนาสาม มีประชากร ๔๘๒ คน อาชีพทำนา รายได้เฉลี่ย ๔,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
๒. บ้านสวายสอ หมู่ที่ ๔ ตำบลปรือ มีประชากร ๑๑๗ คน อาชีพทำนา รายได้เฉลี่ย ๓,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
๓. บ้านละเบิก หมู่ที่ ๑๓ ตำบลโชคนาสาม มีประชากร ๒๒๗ คน อาชีพทำนา มีรายได้เฉลี่ย ๔,๕๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ปัญหาเศรษฐกิจ
๒. สาธารณูปโภค
๓. แหล่งน้ำในการเกษตร/น้ำดื่ม
๔. พัฒนาคนในหมู่บ้าน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านรุน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๑ จังหวัดสุรินทร์
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๓๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านรุน และบ้านโคกทม ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนแบบ สปช. สมเด็จพระพุฒาจารย์ฯ วัดสระเกษ
    (นางชาวลักษณ์ พฤษะวัน)
    ๒. อาคารเรียน ๑ ชั้น (๔๘ เมตร) พระครูธรรมรังษี อ.ท่าตูม จังหวัด สุรินทร์
    ๓. โรงอาหาร ๑ หลัง คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๘๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๑ นาย
    ปัจจุบัน(ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๒๐๑ คน เป็นชาย ๑๐๖ คน หญิง ๙๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ร.ต.ต. วีระยุทธ แนบชิด
    ศบ.บ.
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท. ธำรง พจนกวิน
    ศบ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
    ๓. ส.ต.ต. บรรเลง สีหา
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๔. ส.ต.ต. อารมณ์ มาลัย
    ปวส.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๕. ส.ต.ต. วิธาร วะรินทร์
    ปวส.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา, โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๖. ส.ต.ต. ไกรราช เอกอุ่น
    วท.บ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน, โครงการฝึกอาชีพ
    ๗. ส.ต.ต. สายชล นรัฐกิจ
    คบ.
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๘. ส.ต.ต. ครรชิต พูนวิเชียร
    อ.วท.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๙. ส.ต.ต. ชาญชัย แก้วกงพาน
    คบ.
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    ๑๐. ส.ต.ต. ดำรง มานะชัย
    คบ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๔
    ๒๑
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๓
    ๑๙
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ๑๗
    ๓๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ๒๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ๑๒
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๒
    ๒๑
    รวม
    ๑๐๖
    ๙๘
    ๒๐๔

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
    แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร

    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.ดำรง มานะวงษ์ และ ส.ต.ต.ชาญชัย แก้วกงพาน
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ จังหวัด
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลอาโพ, โรงพยาบาลบัวเชด, สาธารณสุขอำเภอบัวเชด
    โรงเรียนตั้งอยู่ในประเภทพื้นที่ ๓ คือพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลจากสถานบริการสาธารณสุข ต้องใช้เวลาเดินทางนาน แต่รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ตลอดทั้งปี

    ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    รายการ/กิจกรรม
    จำนวน (คน)
    หมายเหตุ
    ๑. จำนวนหญิงมีครรภ์ทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบ
     
    ๒. จำนวนหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์กับครู ตชด./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
     
    ๓. พบภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์
    -
     
    ๔. อัตราการตายของทารก
    - เสียชีวิตก่อนคลอด (อายุครรภ์มากกว่า ๒๘ สัปดาห์ขึ้นไป)
    - เสียชีวิตในช่วงระหว่างคลอด
    - เสียชีวิตในช่วงหลังคลอด (ภายใน ๖ สัปดาห์)
     
    -
    -
    -
     
    ๕. อัตราการตายของทารก
    - ตายตอนคลอด
    - คลอดแล้วตายภายใน ๗ วัน
    - คลอดแล้วตายภายใน ๑ ปี
     
    -
    -
    -
     
    ๖. น้ำหนักทารกแรกเกิด
    - ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
    - ระหว่าง ๒,๕๐๐ กรัม
    - ตั้งแต่ ๓,๐๐๐ กรัมขึ้นไป
     

    ๑๘
     
    ๗. ภาวะโภชนาการของทารกแรกเกิด ถึง ๓ ปี (๐ - ๓๖ เดือน)
    - จำนวนเด็กทารกทั้งหมด
    - จำนวนเด็กทารกที่ชั่งน้ำหนัก
    - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๑
    - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๒
    - จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๓
    - จำนวนเด็กทารกที่มีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
    - จำนวนเด็กทารกที่ได้รับวัคซีนครบ
     
    ๕๔
    ๕๔
    ๑๕
    -
    -
    ๕๔
    ๒๔
     

    ปัญหาในการดำเนินการ
    ๑. ความชำนาญการของครูผู้รับผิดชอบยังมีน้อย
    ๒. แม่บ้านให้ความร่วมมือในการปฏิบัติน้อย

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๓๔)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๗๒ ๒๕๔๐)