ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเรดาร์
(มร.เจอร์เก้น มูลเดอร์ อุปถัมป์)
จำนวนครูและนักเรียน
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่
และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
ระบบการศึกษา

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเรดาร์ (มร.เจอร์เก้น มูลเดอร์ อุปถัมป์)

หมู่ที่ ๔ บ้านยางขาว ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ.๒๕๓๖ คณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับสมาชิกสภาจังหวัด อำเภอสังขละบุรี ศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและจำนวนเด็กที่ยังไม่ได้รับการศึกษา โดยประชาชน ๕ หย่อมบ้าน คือ บ้านเรดาร์ บ้านโชคดีสุพรรณ บ้านลิเจีย บ้านทิโคร่ง และบ้านรันตี ประมาณ ๑๑๕ ครัวเรือน มีจำนวนนักเรียนประมาณ ๑๕๐ คน จึงได้ขอให้สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสังขละบุรีจัดตั้งโรงเรียนเพื่อเด็กจะได้เรียน เพราะโรงเรียนที่ใกล้ที่สุดอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ๑๗ กิโลเมตร ทำให้ช่วงฤดูฝนเดินทางไปโรงเรียนด้วยความลำบาก และในขณะนั้นนายอำเภอสังขละบุรีได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่สาธารประโยชน์ของนิคมสหกรณ์อำเภอทองผาภูมิ ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๑๘ จัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น
คณะกรรมการได้รับการประสานงานจากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสังขละบุรี แจ้งว่าไม่พร้อมที่จะจัดตั้งโรงเรียนได้ จึงขอความอนุเคราะห์ไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ โดยทางกองกำกับฯ ได้เสนอความคิดเห็นต่อสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนให้ดำเนินการได้
เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๗ โดยประธานกรรมการ มูลนิธิสิทธิเด็ก จัดหาทุนสนับสนุนดำเนินการก่อสร้างทั้งหมด ผู้สนับสนุนรายสำคัญ คือ มร.เจอร์เก้น มูลเดอร์ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
จัดตั้งเป็นกลุ่มๆ อาศัยอยู่ตามอ่างเก็บน้ำของเขื่อนเขาแหลม อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรี ประมาณ ๑๘๔ กิโลเมตร
สภาพพื้นที่เป็นที่ขอบอ่างของเขื่อนเขาแหลม
- ทิศเหนือ ติดเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนเขาแหลม
- ทิศใต้ ติดต่อหมู่ ๓ ตำบลปรังเผล
- ทิศตะวันออก ติดต่อเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนเขาแหลม
- ทิศใต้ ติดต่อเขื่อนกักเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม

การคมนาคม
สภาพดีทุกฤดูกาลเนื่องจากเป็นถนนลาดยาง ระยะทาง ๑๘๓ กิโลเมตร และถนนลูกรังระยะทาง ๑ กิโลเมตร การขนส่งสะดวก มีรถยนต์โดยสารประจำทาง แต่ในช่วงฤดูฝนเส้นทางเข้า-ออกโรงเรียน เนื่องจากน้ำในเขื่อนเขาแหลมจะท่วมเส้นทางเข้า-ออกของโรงเรียนทุกปี

จำนวนประชากร
มีประชากร จำนวน ๓๘ ครอบครัว เป็นชาย ๑๖๐ คน หญิง ๖๐ คน รวม ๒๒๐ คน มีนักเรียนชาย-หญิง ๑๑๑ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมง เพราะอาศัยอยู่บนแพ และมีการเกษตรบ้างเล็กน้อย รายได้เฉลี่ย ๘,๐๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายไสว ปัญญาแพง
ผู้ใหญ่บ้าน นายอองละ เถกิงวิทย์สถาพร

ข้อมูลทั่วไปหย่อมบ้านใกล้เคียง
หย่อมบ้านโชคดีสุพรรณ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบของอ่างกักเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ประชากรมีอาชีพประมงและเกษตร อยู่ห่างจากบ้านเรดาร์ ๒ กิโลเมตร ไม่มีสถานศึกษา การคมนาคมเป็นถนนลาดยาง มีรถยนต์ประจำทางผ่าน ใช้ได้ทุกฤดูกาล มีประชากร ๑๒ ครอบครัว เป็นชาย ๓๓ คน หญิง ๔๑ คน รวม ๗๔ คน มีรายได้เฉลี่ยประมาณ ๑๑,๐๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว มีนักเรียนชาย-หญิง จำนวน ๕ คน
หย่อมบ้านลิเจีย มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ประชากรมีอาชีพประมงและเกษตร อยู่ห่างจากบ้านเรดาร์ ๔ กิโลเมตร ไม่มีสถานศึกษา มีวัดลิเจีย ๑ แห่ง การคมนาคมเป็นถนนลาดยาง มีรถยนต์ประจำทางผ่าน ใช้ได้ทุกฤดูกาล มีประชากร จำนวน ๒๗ ครอบครัว เป็นชาย ๔๕ คน หญิง ๖๘ คน รวม ๑๑๓ คน รายได้เฉลี่ย ๗,๕๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว มีนักเรียนชาย-หญิง จำนวน ๒๕ คน
หย่อมบ้านทิโคร่ง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขอบอ่างกักเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ประชากรมีอาชีพประมง และเกษตร อยู่ห่างจากบ้านเรดาร์ ๖ กิโลเมตร ไม่มีสถานศึกษา มีสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง การคมนาคมเป็นถนน ลาดยาง มีรถยนต์ประจำทางผ่าน ใช้ได้ทุกฤดูกาล มีประชากรจำนวน ๙ ครอบครัว เป็นชาย ๒๑ คน หญิง ๒๕ คน รวม ๔๖ คน มีรายได้เฉลี่ย ๖,๐๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว มีนักเรียนชาย-หญิง ๑๘ คน
หย่อมบ้านรันตี มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบขอบอ่างกักเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ประชากรมีอาชีพประมง และเกษตร อยู่ห่างจากบ้านเรดาร์ ๙ กิโลเมตร ไม่มีสถานศึกษา การคมนาคมเป็นถนนลาดยาง มีรถยนต์ประจำทางผ่าน ใช้ได้ทุกฤดูกาล มีประชากรจำนวน ๑๒ ครอบครัว เป็นชาย ๒๑ คน หญิง ๒๕ คน รวม ๔๖ คน มีรายได้เฉลี่ย ๗,๕๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว มีนักเรียนชาย-หญิง ๑๗ คน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเรดาร์ สังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ จังหวัดกาญจนบุรี กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๗ โดยรับเด็กจากบ้านโชคดีสุพรรณ บ้านเรดาร์ บ้านลิเจีย บ้านทิโคร่ง บ้านรันตี ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑) อาคารเรียน ๑ หลัง ขนาด ๘ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครูมร.เจอร์เก้น มูลเดอร์
๒) อาคารเอนกประสงค์ (โรงอาหาร โรงครัว ห้องเก็บอุปกรณ์การครัว)มร.เจอร์เก้น มูลเดอร์
๓) บ้านพักครู ๑ หลัง ๑๐ ห้องมร.เจอร์เก้น มูลเดอร์
๔) ห้องส้วมครู - นักเรียน ๑ หลัง ๑๐ ที่นั่งมร.เจอร์เก้น มูลเดอร์
๕) น้ำประปาภูเขา ๑ แห่ง ใช้ในโรงเรียนและบ้านพักครูมร.เจอร์เก้น มูลเดอร์
๖) อาคารร้านค้าสหกรณ์ อาคารพยาบาล ๑ หลัง ๓ ห้องนายจักรกฤช อัจฐานันท์

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๖๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๑๗๖ คน เป็นชาย ๙๙ คน หญิง ๗๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑) จ.ส.ต.สมวงษ์ โบสถ์ขาว
ม.ศ.๓
โครงการตามพระราชดำริฯ และบริหาร
๒) จ.ส.ต.วิชิต ปานแดง
ม.ศ.๕
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓) ส.ต.ท.ทนงศักดิ์ ปุยภิรมย์
ม.ศ.๕
โครงการสหกรณ์ร้านค้า
๔) ส.ต.ท.ชาตรี หล่อรุ่งเลิศ
ม.๖
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๕) ส.ต.ท.เดชา ไชยเลิศ
ม.๖
โครงการฝึกอาชีพ
๖) พลฯ สมชาย วิจิตต์โภคิน
ปวช.
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน,
โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการอนามัยแม่
และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
๗) พลฯ สุทัศน์ วุฒิยา
ม.๖
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมโครงการหญ้าแฝก
โครงการทดลองปลูกไม้เมืองหนาว
๘) พลฯ กรีฑาพล กรีทอง
อนุปริญญา
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๙) นางสาวอินทนา อินพรหม
ม.๓
ผู้ดูแลเด็ก (อาสาสมัคร)

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๒๐
๑๘
๓๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๒๘
๑๖
๔๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๒๓
๑๗
๔๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๐
๑๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๕
รวม
๙๙
๗๗
๑๗๖

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
โรงเรียนตั้งอยู่ในประเภทพื้นที่ ๓ คือพื้นที่ปกติ เป็นพื้นที่ที่มีสถานบริการสาธารณสุขอยู่ใกล้รัศมีไม่เกิน ๑๕ กิโลเมตร ประชาชนสามารถเดินทางไปรับบริการได้สะดวกตลอดปี
ครูผู้รับผิดชอบ คือ พลฯ สมชาย วิจิตต์โภคิน
ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ สถานีอนามัยยางขาว กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต ๔

ผลการดำเนินงาน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
รายการ/กิจกรรม
จำนวน (คน)
หมายเหตุ
๑. จำนวนหญิงมีครรภ์ทั้งหมดในพื้นที่รับผิดชอบ
-
๒. จำนวนหญิงมีครรภ์ที่ฝากครรภ์กับครู ตชด./เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
-
๓. พบภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์
-
ไม่มีข้อมูล
๔. อัตราการตายของทารก
- เสียชีวิตก่อนคลอด (อายุครรภ์มากกว่า ๒๘ สัปดาห์ขึ้นไป)
- เสียชีวิตในช่วงระหว่างคลอด
- เสียชีวิตในช่วงหลังคลอด (ภายใน ๖ สัปดาห์)
-
ไม่มีข้อมูล
๕. อัตราการตายของทารก
- ตายตอนคลอด
- คลอดแล้วตายภายใน ๗ วัน
- คลอดแล้วตายภายใน ๑ ปี
-
ไม่มีข้อมูล
๖. น้ำหนักทารกแรกเกิด
- ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
- ระหว่าง ๒,๕๐๐ กรัม
- ตั้งแต่ ๓,๐๐๐ กรัมขึ้นไป
-
ไม่มีข้อมูล
๗. ภาวะโภชนาการของทารกแรกเกิด ถึง ๓ ปี (๐ - ๓๖ เดือน)
-
ไม่มีข้อมูล
- จำนวนเด็กทารกทั้งหมด
๒๐
-
- จำนวนเด็กทารกที่ชั่งน้ำหนัก
๒๐
-
- จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๑
-
- จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๒
-
-
- จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๒
-
-
- จำนวนเด็กทารกที่ขาดสารอาหารระดับ ๓
-
-
- จำนวนเด็กทารกที่มีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
๑๕
-
- จำนวนเด็กทารกที่ได้รับวัคซีนครบ
-
-

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
สำนักพระราชวัง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกรมอนามัย

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๔๘)
(ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)