sakraw

kanjanaburi

prachuap

surin
ubon
amnatcharoen




udon



uttaradit
nan




tak











ความเป็นมา
จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริ ให้ดำเนินโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารตามแนวชาย แดนทั่วประเทศ เพื่อเป็นการช่วย แก้ไขปัญหาการขาดสารโปรตีน และพลังงานในวัยเด็กเรียนทาง หนึ่งนั้น ผล การดำเนินงานโครงการดังกล่าว สามารถช่วยลดอัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่า เกณฑ์เด็ก ของนักเรียนลงเหลือร้อยละ ๑๖.๘ ในช่วงต้นปี๒๕๓๙ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริพ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๘ (ร้อยละ๑๐)และแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๗ (ร้อยละ ๗) จะเห็นได้ว่าปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กเรียนในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ยังสูงอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงรากฐานของภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุคคลในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่พอดี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการ คมนาคม อีกทั้งบางพื้นที่ก็ยังไม่ปลอดภัย จึงทำให้บริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งบริการสาธารณสุขเข้าไปไม่ถึง ในทางกลับกันประชาชนที่อาศัยอยู่ตาม พื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้มีโอกาสในการพัฒนาด้อยว่าที่อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจึงมีพระราฃ ดำริให้ดำเนินโครง การส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดารขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ เป็นคนที่มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีซึ่งจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประะเทศ ต่อไป ทั้งนี้เพราะการที่คนเรา จะมีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยดีนั้น จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นั่นคือแม่จะต้อง มีภาวะโภชนาการและ สุขภาพอนามัยดีด้วย ถ้าแม่ขาดสารอาหารก็จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิด ออกมาทั้ง ด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกายและสมองได้

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมให้ หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรกเกิด จนถึงอายุ๓ ปีที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ได้รับบริการที่เหมาะสม และได้รับ ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อช่วย ให้แม่มีภาวะโภชนาการและ สุขภาพอนามัยที่ดีเด็กเกิดรอด มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้เต็ม ศักยภาพ

เป้าหมาย

๑.ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เหลือไม่เกินร้อยละ ๑๐
๒.อัตราตายทารกแรกกำเนิด ๑ ไม่เกิน ๑๐ ต่อ ๑๐๐๐การเกิดทั้งหมด
๓.อัตราตายทารก ๒ ไม่เกิน ๒๑ ต่อ ๑๐๐๐ การเกิดมีอาชีพ
๔.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมไม่เกินร้อยละ ๗
๕.เด็ก๐-๓ปีมีอัตราการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุน้ำหนักส่วนสูง น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๖.เด็ก ๐-๓ ปีมีพัฒนาการตามวัยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐

กิจกรรมสำคัญ

๑.การให้บริการดูแลอนามัยแม่และเด็กขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวทางในการดำเนิน
กิจกรรมดังนี้
๑.๑แสวงหาคนในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ เช่นครู อาสาสมัคร
ที่อ่านหนังสือและเขียนหนังสือได้เป็นอย่างดี เป็นต้น
๑.๒อบรมผู้ให้บริการ ทั้งด้านความรู้วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ให้บริการงานอนามัยแม่และเด็ก
๑.๓มีการประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการปฏิบัติงานและ
การส่งต่อ
๑.๔สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ
๑.๕อบรมผดุงครรภ์โบราณเพื่อให้สามารถทำคลอดได้อย่างถูกต้อง
๒.การให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
โดยมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๒.๑อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องอนามัยแม่และเด็ก
๒.๒รณรงค์ให้ประชาชนร่วมดูแลแม่และเด็กทั้งในครอบครัวของตนเอง
และชุมชน
๓.การสนับสนุนอาหารเสริมและยาที่จำเป็นแก่แม่และเด็ก
๔.การศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการในการบริการที่เหมาะสมต่อขนบธรรมเนียม
ประเพณีของกลุ่มชนในบางพื้นที่ได้แก่ชาวไทยภูเขาและชาวไทยมุสลิม

แนวทางและขั้นตอนการปฏิบัติงานของครู

๑.การชี้แจงชุมชน
ก่อนเริ่มดำเนินโครงการในทุกๆพื้นที่จำเป็นต้องมีการชี้แจงให้ประชาชนทราบ
ก่อนวัตถุประสงค์ของการชี้แจงเพื่อ
๑.๑ทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องโครงการตามพระราชดำริที่จะ
ดำเนินการในหมู่บ้านนี้เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญของบริการ
การดูแลอนามัยแม่และเด็กและมารับบริการด้วยความเต็มใจตลอดจน
ประชาชนจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันช่วยกันดูแลคนท้องแม่ให้นมลูกและ
เด็กแรกเกิดจนถึง 3 ปีภายในหมู่บ้านของตนเองด้วย
๑.๒แนะนำครูพยาบาลตชด.ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการบริการการดูแล
อนามัยแม่และเด็กแล้วซึ่งจะเป็นผู้ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติ
งานโครงการนี้
๑.๓แนะนำสถานที่ที่คนท้องแม่และเด็กจะไปรับบริการได้ในการชี้แจงครู
ใหญ่และคณะครู รร.ตชด.พร้อมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรนัดประชุม
ประชาชนทุกเพศทุกวัยในหมู่บ้านที่อยู่ในเขตบริการการศึกษาของรร.
ตชด.ทั้งหมดตัวอย่างของคำชี้แจงตามภาคผนวก
๒.การจัดเตรียมสถานที่เพื่อให้บริการที่โรงเรียน
ครูใหญ่ร่วมกับครูพยาบาลจัดเตรียมสถานที่ที่ให้บริการใน รร.ตชด.โดยจัดอยู่ใน
ห้องพยาบาลควรมีที่กั้นให้เป็นสัดส่วนและควรมีตู้เก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้
ที่จำเป็นพร้อมทั้งดูแลรักษาความสะอาดของห้องอย่างสม่ำเสมอ
๓.การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ
ครูพยาบาลต้องสำรวจความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งในด้านปริมาณ
สภาพการใช้งานการดูแลรักษาความสะอาดพร้อมทั้งจัดหาสิ่งขาดหรือใช้งาน
ไม่ได้ไว้ให้พร้อมอยู่เสมอโดยควรจัดทำเป็นระเบียบปฏิบัติประจำหรือทำเป็น
ตารางปฏิทินการทำงานไว้

อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ควรมีประจำอยู่ที่โรงเรียนและอยู่ในสภาพพร้อม
๑.เครื่องวัดความดัน
๒.เครื่องฟังเสียงหัวใจ
๓.เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กเล็ก
๔.เครื่องชั่งน้ำหนักแบบยืน
๕.ที่วัดส่วนสูง
๖.สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เล่มสีม่วง)
๗.แถบสีตรวจปัสสาวะ (มีวันหมดอายุที่ข้างหลอด)
๘.ชุดทำคลอดฉุกเฉิน(มีอายุการใช้งานประมาณ๑ปี)
- เอ็ททิล แอลกอฮอล์ ๗๐%๑ ขวด
- โพวาดีน ๑๐%๑ ขวด
- ขี้ผึ้งป้ายตาเต็ตตร้าไซคริน ไฮโครครอไรด์ ๑%๑ ขวด
- ลูกสูบยาง๑ อัน
- ถุงมือ๒ คู่
- สำลีและไม้พันสำลีผ่านการฆ่าเชื้อ๑ ถุง
- เชือกผูกสะดือผ่านการฆ่าเชื้อโรค๓ เส้น
- ใบมีดผ่านการฆ่าเชื้อโรค๑ เล่ม
๙.ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก
๑๐.อาหารเสริม (นมผง)
๑๑.แบบรายงาน (ม.๒๐๑)

๔.การให้บริการดูแลอนามัยแม่และเด็กขั้นพื้นฐาน
๔.๑กลุ่มคนเป้าหมายที่เราจะให้บริการประกอบด้วย ๓ กลุ่ม คือ
๑. หญิงตั้งครรภ์
๒. หญิงให้นมบุตร (แม่หลังคลอดจนถึง ๖ สัปดาห์)
๓. ทารกแรกเกิดถึง ๓ ปี
๔.๒หลักสำคัญในการให้บริการของครูตชด. มีดังนี้
๑.ค้นหากลุ่มคนเป้าหมายเพื่อให้ได้รับบริการครอบคลุมทุกคน
๒.ค้นหาคนที่อยู่ในภาวะเลี่ยงและส่งต่อให้ถึงมือเจ้าหน้าที่สาธารณลุข
ให้เร็วที่สุด
๓.ให้บริการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแก่คนเป้าหมายผู้ที่จะทำหน้าที่
ในการบริการได้คือครูพยาบาลตชด.ที่ได้ผ่านหลักสูตรการอบรมงาน
บริการอนามัยแม่และเด็กจากกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น
๔.๓ขอบเขตของงานการให้บริการของครู ตชด.รายละเอียดของการดูแลและ
การให้บริการสามารถดูได้จากคู่มือครูพยาบาลโรงเรียนตำรวจตระเวน
ชายแดน โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่น
ทุรกันดาร ซึ่งสามารถสรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
๑.ขอบเขตของงานการดูแลหญิงตั้งครรภ์
หลักเกณฑ์ในการให้บริการ มีดังนี้
๑.เมื่อพบหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกครูตำรวจตระเวรชายแดนทุกคน
ควรแนะนำให้ไปฝากครรภ์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที
๒.ในกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถไปรับบริการจากเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขได้ครูพยาบาล ตชด. ที่ผ่านการอบรมแล้วควรให้
บริการดูแลดังนี้
- ลงทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
- นัดหมายการฝากท้อง
- ฝากท้องทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งท้อง
- ตั้งท้อง ๑-๖ เดือน นัดตรวจท้องทุกเดือน เดือนละ ๑ ครั้ง
- ตั้งท้อง ๗-๙ เดือน นัดตรวจท้องทุก ๒ อาทิตย์
- ตั้งท้อง ๙ เดือนขึ้นไป นัดตรวจทุก ๆ อาทิตย์จนกว่าจะคลอด
- จ่ายสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก(เล่มสีม่วงตัวอย่างในภาค
ผนวก)
- ชักประวัติ
- วัดความดันโลหิต
- ตรวจร่างกายและตรวจครรภ์
- ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง
- ตรวจปัสสาวะหาน้ำตาลและไข่ขาว
- ประเมินภาวะเสี่ยง
- ส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อพบภาวะเสี่ยง
- แนะนำการฉีดยาป้องกันการบาดทะยัก
- นัดหมายเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจความเข้มข้นของ
เลือด
- จ่ายเม็ดยาเสริมธาตุเหล็ก(รายละเอียดวิธีการปฏิบัติตามภาค
ผนวก)
- จ่ายอาหารเสริม (รายละเอียดวิธีการปฏิบัติตามภาค
ผนวก)
- ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์
- ให้ความรู้เรื่องโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์
- ให้ความช่วยเหลือในการส่งตัวไปทำคลอดที่สถานบริการ
สาธารณสุข
- ส่งต่อเมื่อพบอาการผิดปกติ
๒.ขอบเขตของงานการดูแลแม่หลังคลอด(หมายถึงแม่หลังคลอดจน
ถึง๖สัปดาห์)
- ลงทะเบียนแม่หลังคลอดในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
- ติดตามเยี่ยมมารดาและทารกที่บ้าน๓ครั้งโดยดูอาการมารดาและ
ทารกด้วยการใช้บัตรมารดาหลังคลอดและสมุดบันทึกสุขภาพแม่
และเด็ก
- จ่ายยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก(รายละเอียดวิธีการปฏิบัติตามภาคผนวก)
- จ่ายอาหารเสริมสำหรับแม่(รายละเอียดวิธีการปฏิบัติตามภาคผนวก)
- ให้สุขศึกษาหญิงหลังคลอด
- แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการให้อาหารเสริม
- แนะนำเรื่องการคุมกำเนิด หลังคลอดเมื่อ ๑ เดือนครึ่ง
- ให้ความรู้เรื่องโภชนาการของหญิงให้นมบุตร
- ส่งต่อเมื่อพบอาการผิดปกติ
๓.ขอบเขตของงานการดูแลเด็กแรกเกิดถึง๓ปี
- ลงทะเบียนเด็กแรกเกิดถึง๓ปีในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการ
- นัดหมายชั่งน้ำหนักเด็กและแปลผลภาวะโภชนาการ
- เด็กปกติและขาดสารอาหารระดับ๑นัดทุก ๓ เดือน
- เด็กขาดสารอาหารระดับ๒/ระดับ๓นัดทุก ๑ เดือน
- ให้ความรู้เรื่องโภชนาการของเด็ก
- จ่ายอาหารเสริมและวิตามินสำหรับเด็ก
- ติดตามเด็กปกติเด็กขาดสารอาหารและเด็กที่ไม่มาชั่งน้ำหนัก
ตามนัดหมาย
- ติดตามเยี่ยมเพื่อแนะนำการรับวัคซีนคุ้มกันโรค
- ติดตามเยี่ยมดูการพัฒนาการของเด็ก
- ส่งต่อเมื่อพบอาการผิดปกติ
ในส่วนของครูตำรวจตระเวรชายแดนคนอื่นๆ ในโรงเรียนควรมีบทบาท
ในการสนับสนุนการให้บริการโดยทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้เฝ้าระวังคือช่วย
ค้นหาชักจูงเชิญชวนกระตุ้นเตือนตามให้กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มมารับ
บริการตามนัดหมาย

๕.ส่งเสริมและชักชวนให้ประชาชนในพื้นที่ส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
ครูตำรวจตระเวนชายแดนทุกคนสามารถมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมนี้ได้โดย
๑.ผ่านทางนักเรียนในชั้นเรียนโดยครูสามารถสอนถึงเรื่องสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
ในชั่วโมงเรียนที่เกี่ยวข้อง
๒.ครูร่วมกับนักเรียนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน
เกี่ยวกับเรื่องอนามัยแม่และเด็กและรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันดูแลแม่และเด็กทั้งใน
ครอบครัวของคนเองและชุมชนโดยใช้สถานที่โรงเรียนเป็นแหล่งชุมชนของผู้ปกครอง
และคนในหมู่บ้านทั้งหมดเช่นจัดงานวันแม่งานวันเด็กเป็นต้นโดยอาจมีกิจกรรมต่างๆ
ในวันนั้นเช่น
- นิทรรศการต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องแม่และเด็ก
- การตรวจสุขภาพของแม่และเด็ก
- การประกวดสุขภาพเด็ก เป็นต้น
๓.ครูให้ความรู้ง่าย ๆ แก่ประชาชนผ่านทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้านเป็นประจำเช่น
ทุกวันอาทิตย์ละ ๑ ครั้ง เป็นต้น

แนวทางการปฏิบัติงานของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

๑.อบรมครูพยาบาล ทั้งด้านความรู้ วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับการให้
บริการงานอนามัยแม่และเด็ก
๒.อบรมผดุงครรภ์โบราณเพื่อให้สามารถทำคลอดได้อย่างถูกต้อง
๓.สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการรวมทั้งสื่อสำหรับเผยแพร่ความรู้
๔.สนับสนุนอาหารเสริมและยาที่จำเป็นแก่แม่และเด็ก
๕.ศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีในการให้บริการที่เหมาะสมต่อขนบธรรมเนียมประเพณีของ
กลุ่มชนในบางพื้นที่ ได้แก่ ชาวไทยภูเขา และ ชาวไทยมุสลิม

การติดตามและประเมินผลโครงการ
คณะทำงานได้จัดแบบรายงานโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัย
แม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร(ม.๒๐๑) ขึ้นเพื่อให้ครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการ
ติดตามความก้าวหน้าของโครงการที่ตนเองรับผิดชอบอยู่และรายงานผลไปยังส่วน
ที่เกี่ยวข้องทุกวันที่ ๑๕ มีนาคม ของทุกปี

พื้นที่เป้าหมาย

๑.เขตชุมชนที่มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตั้งอยู่
๒.พื้นที่พิเศษตามพระราชประสงค์

แผนงานหลักในการดำเนินการ ประกอบไปด้วย ๔ แผนงาน
ดังต่อไปนี้

๑.แผนงานด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย มี ๓ โครงการ
- โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
- โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
- โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
๒.แผนงานด้านการศึกษา มี ๒ โครงการ
- โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
- โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี
๓.แผนงานด้านเศรษฐกิจ มี ๒ โครงการ
- โครงการฝึกอาชีพ
- โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๔.แผนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี๑ โครงการ
- โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๑๖)