ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหินการคมนาคม
โครงการฝึกอาชีพหน่วยงานที่เข้าดำเนินการและสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี พิกัด เด็นอาร์ ๓๒๒๐๕๖ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
ก่อตั้งโรงเรียนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ในเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ โดย นายเกิด กลั่นผักแว่น เป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างโรงเรียน เปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยทางตำรวจตระเวนชายแดนวังส้มป่อย ได้สละทุนทรัพย์สร้างอาคารเรียนชั่วคราวให้ มีตำรวจตระเวนชายแดนจากหมวดแนวหน้าหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่เป็นครูสอนชั่วคราว เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในหมู่บ้าน ที่ต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังส้มป่อย ซึ่งห่างไกลจากหมู่บ้านประมาณ ๑๒ กิโลเมตร การเดินทางไปกลับไม่สะดวก โดยเฉพาะในฤดูฝนน้ำจะไหลบ่าท่วมตามลำห้วย ทำให้ไม่สามารถเดินข้ามไปเรียนหนังสือได้ ราษฎรในหมู่บ้านจึงได้ร่วมมือกันขอจัดตั้ง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน ขึ้นเป็นสาขาของ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังส้มป่อย กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ในปัจจุบัน) แต่งตั้งให้ ตำรวจตระเวนชายแดน ทำการสอนประจำ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ เกิดอุทกภัยและวาตภัยอย่างรุนแรง ทำให้โรงเรียนและบ้านเรือนของราษฎรในหมู่บ้านได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอาคารเรียนเสียหายมากไม่สามารถใช้ทำการเรียนได้ จึงต้องใช้บ้านพักครูและร่มไม้เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ในปี
พุทธศักราช ๒๕๓๐ สโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพฯ ได้เห็นความทุกข์ยากของนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร จึงได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์เป็นจำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท มอบให้กับสหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์กรุงเทพฯ จัดทำโครงการออกค่ายอาสาพัฒนา เข้ามาดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารเรียนถาวรให้ ๑ หลัง และในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๐ พันตำรวจเอก เฉลิม โรจนประดิษฐ์ ได้เดินทางมาทำพิธีรับมอบอาคารเรียนแบบเปิดป้าย โดยทางสโมสรไลออนส์มหาจักรกรุงเทพฯ ได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนมหาจักร ๔ (อาคารไทยบูรณ)" แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน"
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ บริษัทสุราทิพย์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยา เขตสนามจันทร์ นครปฐม ทำการก่อสร้างห้องสมุด จำนวน ๑หลัง
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ นายอุบล หงษ์โต ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนพยาบาล จำนวน ๑ หลัง
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
- มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ร่วมมือกัน สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี สร้างอาคารที่พักเด็กบ้านไกล จำนวน ๑ หลัง
- กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓๗ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ร่วมกับราษฎรในหมู่บ้านถ้ำหิน ดำเนินการก่อสร้างอาคารสหกรณ์ จำนวน ๑ หลัง
- กลุ่มชาวบ้านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, กลุ่มชาวบ้านอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตสนามจันทร์ นครปฐม ได้ร่วมกันทำการก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน ๑ หลัง
ปัจจุบัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน เปิดทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๗ ชั้นเรียน อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ มีครูจำนวน ๗ นาย เป็นครูตำรวจตระเวนชายแดนทั้งสิ้น มีรายชื่อดังนี้

รายชื่อครู
ทำหน้าที่
๑. จ.ส.ต. วันชัย กุลโสภณ ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต. สัญญา ใสเสียงสด ครูผู้สอน
๓. จ.ส.ต. กมล จันทร์ศรี ครูผู้สอน
๔. ส.ต.อ. อนันต์  เกิดพุ่ม ครูผู้สอน
๕. ส.ต.ท. เสรี หยู่หนูสิงห์ ครูผู้สอน
๖. ส.ต.ท. สมคิด ชุมเบีย ครูผู้สอน
๗. ส.ต.ต. วันชัย ขำแก้ว ครูผู้สอน

ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ ราษฎรหมู่บ้านวังส้มปอย หมู่ที่ ๖ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โดยมีนายจันทร์ รัตกันทา ผู้ใหญ่บ้านร่วมกับราษฎรในหมู่บ้านได้พร้อมใจกันทำหนังสือยื่นยันต่อนายอำเภอสวนผึ้ง เพื่อขอแยกหมู่บ้านถ้ำหินออกจากหมู่บ้านวังส้มปอย สาเหตุเนื่องจากทั้ง ๒ หมู่บ้านอยู่ห่างไกลกัน การเดินทางติดต่อกันลำบาก และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ทางอำเภอสวนผึ้งจึงอนุมัติให้จัดตั้งหมู่บ้านถ้ำหินขึ้นเป็นทางการ ปัจจุบันนี้มีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายแป๊ะ นิลเพชร

การปกครอง
ปัจจุบันหมู่บ้านถ้ำหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีราษฎรอาศัยอยู่ ๑๑๗ ครอบครัว มีประชากร ๕๒๘ คน เป็นชาย ๓๑๘ คน เป็นหญิง ๒๑๐ คน มี นายแป๊ะ นิลเพชร เป็นผู้ใหญ่บ้าน ภาษาประจำถิ่นใช้ภาษาไทยและกะเหรี่ยง นับถือศาสนาพุทธและคริสต์

สภาพภูมิประเทศ
หมู่บ้านถ้ำหิน หมู่ที่ ๕ ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๖๖ ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาน้อยใหญ่ตั้งสลับกัน เป็นพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยมีน้ำจากลำห้วยไหลผ่านตลอดปี อาณาเขตติดต่อกับสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือติดต่อกับ อำเภอด่านมะขามเตี้ย
ทิศใต้ติดต่อกับ หมู่บ้านวังส้มป่อย
ทิศตะวันออกติดต่อกับ หมู่บ้านทุ่งศาลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านตะโกล่าง

สภาพทางเศรษฐกิจ
หมู่บ้านถ้ำหินราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ มีส่วนน้อยที่ประกอบอาชีพรับจ้าง

ด้านสาธารณูปโภค
หมู่บ้านถ้ำหินยังไม่มีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้

ความรู้และการศึกษา
-จำนวนผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔) จำนวน ๑๘๐ คน
-จำนวนผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖) จำนวน ๑๑๖ คน
-จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๑๙ คน
-กำลังเรียนในระดับอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๘๖ คน
-จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ จำนวน ๑๐ คน
-กำลังเรียนชั้นมัธยมศึกษาต้อนต้น จำนวน ๑๒ คน

ผู้นำหมู่บ้าน
๑. นายสงกรานต์ มั่นใจกำนันตำบลสวนผึ้ง
๒. นายแป๊ะ นิลเพชรผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านถ้ำหิน

คณะกรรมการหมู่บ้าน
ชื่อ
ทำหน้าที่
๑. นายแป๊ะ นิลเพชร ประธานกรรมการ
๒. นายทองคำ สังข์แก้ว เลขานุการ
๓. นายสมบูรณ์ แก้วสะอาด เหรัญญิก
๔. นายชัชวาล พงเผ่า เหรัญญิก
๕. นายเวช ใจมุ่ง กรรมการ
๖. นายพล เพี้ยนผล กรรมการ
๗. นายดิเรก แก้วเอี่ยม กรรมการ
๘. นาง ขอม เพชรเอง กรรมการ
๙. นายแดง เพ็ญภาค กรรมการ
๑๑. นายสุข ใจมุ่ง กรรมการ
๑๒. นายอยู่ ภู่ขำ กรรมการ
๑๓. นายฉลาด เหล่าสกุล กรรมการ
๑๔. นายจำลอง พงเผ่า กรรมการ
๑๕. นายเชาวลิตร สุวรรณลาภเจริญ กรรมการที่ปรึกษา

คณะกรรมการศึกษา
๑. นายแป๊ะ นิลเพชร
๒. นายทองคำ สังข์แก้ว
๓. นายสมบูรณ์ แก้วสะอาด
๔. นายพล เพี้ยนผล
๕. นายเวช ใจมุ่ง
๖. นายชัชวาล พงเผ่า
๗. นายอยู่ ภู่ขำ
๘. นายเหลว ใจจริง
๙. นายเกิด กลั่นผักแว่น
๑๐. นายประยงค์ จันนาค
๑๑. นายสมชาติ เหลืองจรุงรัตน์
๑๒. นายประจวบ พยายาม
๑๓. นายสมพร เพี้ยนผล
๑๔. นายฉลาด หล่าสกุล
๑๕. นายยนต์ เพชรนิล
๑๖. นายสามิตร บุญเจริญ
๑๗. นายเสียม ห้อยกรุด

นโยบายของโรงเรียน
๑. ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรประถมศึกษา ปี ๒๕๒๑ ตาม หลักสูตรฉบับปรับปรุง ปี พุทธศักราช ๒๕๓๓
๒. รักษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ให้ต่ำกว่าระดับ ๒ และการเรียนซ้ำชั้นไม่เกิน ร้อยละ ๓
๓. ปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด สนับสนุน และร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนาท้องถิ่นและโรงเรียน
๔. ดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การคมนาคม
เส้นทางที่สะดวกที่สุดโดยการเดินทางด้วยรถยนต์ จาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ถึง อำเภอด่านมะขามเตี้ยระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอด่านมะขามเตี้ย ถึง อำเภอจอมบึง ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอจอมบึง ถึง อำเภอสวนผึ้ง ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
อำเภอสวนผึ้ง ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร
รวมระยะทางจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ถึง โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำหิน เป็นระยะทาง ๑๑๔ กิโลเมตร
ผิวถนนราดยาง ๑๐๑ กิโลเมตร และ ผิวถนนเป็นลูกรัง ๑๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ ๒ ชั่วโมง ๒๐ นาที

การดำเนินงานตามโครงการพระราชดำริ
โครงการฝึกอาชีพ
วัตถุประสงค์เพื่อฝึกอาชีพหลักที่เหมาะสมกับท้องถิ่นอย่างน้อย ๑ อาชีพ แก่เยาวชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้มีวิชาชีพติดตัว และสามารถนำไปประกอบอาชีพในชีวิตประจำวันได้
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ส.ต.ต. เสรี หยู่หนูสิงห์

หน่วยงานที่เข้าดำเนินการและสนับสนุน
๑. วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี จัดการอบรมหลักสูตรช่างเครื่องยนต์เล็ก, ช่างเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน
๒. วิทยาลัยสารพัดราชบุรี จัดการอบรมหลักสูตรช่างตัดผมชาย, ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าหญิง และช่างบัดกรี
๓. วิทยาลัยเกษตรกรรมราชบุรี จัดการอบรมหลักสูตรการถนอมอาหาร
๔. วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี จัดอบรมหลักสูตรช่างตัดผม ช่างเดินสายไฟฟ้าภายในบ้าน

รายละเอียดการดำเนินโครงการฝึกอาชีพ
ปีการศึกษา
วิชาชีพ
จำนวนผู้รับการฝึก
ผู้สำเร็จการฝึก
ไม่สำเร็จการฝึก
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
คน
ร้อยละ
๒๕๓๕
ช่างเครื่องยนต์เล็ก
๓๖
๑๐๐
๓๖
๑๐๐
-
-
๒๕๓๖
ช่างตัดเย็บเสื้อ
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
 
ช่างบัดกรีโลหะ
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
๒๕๓๗
ช่างตัดผมชาย
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
 
การถนอมอาหาร
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
 
ช่างเดินสายไฟ
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
 
ภายในบ้าน
๔๐
๑๐๐
๔๐
๑๐๐
-
-
๒๕๓๘
ช่างตัดผม
๒๐
๑๐๐
๒๐
๑๐๐
-
-
๒๕๓๙
ช่างไฟฟ้า
๒๐
๑๐๐
๒๐
๑๐๐
-
-

แหล่งอ้างอิง: กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓. (๕๔)
(รบ. ท๑ น๙๖๑๔ ๒๕๓๙)