ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคารระบบการศึกษา
โครงการฝึกอาชีพหน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคาร

หมู่ที่ ๕ บ้านชุมนุมมะละกอ ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ โดยพระภิกษุสุเมธ ภิกขุ (เกิน) ประจำวัดเขารัก ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาจนบุรี ได้ทำการก่อสร้างสำนักสงฆ์เนินแก้วขึ้น และสร้างอาคารเพื่อเป็นศาลาบำเพ็ญกุศลประจำหมู่บ้านชุมนุมมะละกอ ต่อมาได้เห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้เด็กๆ ในหมู่บ้านมีความรู้ ความสามารถอ่านออกเขียนได้ ประกอบกับได้เห็นความลำบากของเด็กๆ ที่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนหนองเสือ ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง ๕ กิโลเมตร โดยเฉพาะในฤดูฝน ท่านจึงยกศาลาหลังนี้ให้เป็นอาคารเรียนและได้ประสานกับผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ ตำรวจตระเวนชายแดนด่านสิงขร (ปัจจุบันคือกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๖) ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อขอครูมาทำการสอนเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๑ ต่อมาทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (ค่ายพระพุทธยอดฟ้า) กาจนบุรี ปัจจุบันคือกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ได้รับมอบอาคารเรียนเข้าอยู่ในความรับผิดชอบและส่งครูมาทำการสอน ๓ นาย โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคาร เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านชุมนุมมะละกอ และบ้านเขาดิน ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้ ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๐

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑.อาคารเรียน ๑ พระภิกษุสุเมธ ภิกขุ
๒. อาคารเรียน ๒ ประชาชนในพื้นที่
๓. อาคารเรียน ๓ ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
๔. อาคารเรียน ๔ ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๕. อาคารสหกรณ์ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔, ประชาชนในพื้นที่
๖. โรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๗. ห้องน้ำ, ห้องสุขา ประชาชนในพื้นที่, ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๘. ห้องสมุด สถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๙. ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๑๐. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๕ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๙๑ คน เป็นชาย ๔๙ คน หญิง ๔๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑. จ.ส.ต.สากล อาจสัญจร
นบ.
ครูใหญ่ รับผิดชอบทุกโครงการ
๒. จ.ส.ต.ยงยุทธ แจ้งกิจ
ศศบ.
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓. ส.ต.ท.เสมา ทิพย์คีรี
ปกศ.
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๔. ส.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ รัตนพล
ม.๖
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๕. ส.ต.ต.ประชุม สันตานนท์
ปกศ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๖. ส.ต.อ.สมพร สงวนไพบูลย์
ม.ศ.๓
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๗. ส.ต.ต.ไชยา จันทดี
ม.ศ.๓
โครงการฝึกอาชีพ
๘. ส.ต.อ.ยอดชาย เผือกผ่อง
ม.๖
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๙. นางสาววารี ล้นเหลือ
ป.๖
ผู้ดูแลเด็ก
๙. นางสาวขวัญใจ จุ้ยตาล
ป.๖
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๗
๑๔
๓๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
รวม
๔๙
๔๒
๙๑

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการฝึกอาชีพ
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.ไชยา จันทะดี

หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการ
วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์, วิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี, วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลหัวหิน ได้จัดฝึกวิชาชีพระยะสั้นดังนี้

ลำดับ
สาชาวิชาชีพที่ฝึก
จำนวนผู้อบรม
๑.
ช่างยนต์
๒๕
๒.
ทำปุ๋ยหมัก
๒๕
๓.
ทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
๔๔
๔.
ทำอาหารคาวหวาน
๕๕
๕.
ตัดเสื้อผ้า
๓๐
๖.
ก่อสร้าง
๑๓
๗.
ช่างเชื่อม
๒๕
 
รวม
๒๑๗

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
(๔๘)
(ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)