ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรบ้านห้วยโสกระบบการศึกษา
โครงการฝึกอาชีพหน่วยงานที่เข้าไปให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรบ้านห้วยโสก

หมู่ที่ ๑ บ้านห้วยโสก ตำบล ป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนได้จัดชุดมวลชนสัมพันธ์ ๑๐๑ (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น ๕๐๑) ได้สืบสภาพหาข้อ มูลต่าง ๆ ที่ต้องเร่งแก้ไข เช่น ปัญหาด้าน การศึกษา จึงได้รวบรวมข้อมูลเสนอ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทางกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้พิจารณา โดย ประสานกับทางสำนักงานประถมศึกษาอำเภอ ท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี และวิทยาลัยเพชรบุรี เปิดอบรม หลักสูตรการศึกษาเบ็ดเสร็จนอกโรง เรียนรุ่นหลักสูตรเด็กเล็กก่อนวัย เรียน โดยใช้วิทยากรชุดมวลชนสัมพันธ์ ๑๐๑ เป็น ครูสอน ซึ่งเปิดสอนเด็กโตและผู้ใหญ่ ไม่รู้หนังสือ ได้เปิดอบรมหลักสูตรพัฒนา แนวทางความคิดด้านความมั่นคงของชาติ
ปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ประชาชนได้บริจาคทุนทรัพย์ และที่ดินให้มวลชนสัมพันธ์ตั้งโรงเรียน ขึ้นประกอบกับขณะนั้นมีเด็กอยู่ใน เกณฑ์บังคับเรียนมากขึ้น ชุดมวลชนสัมพันธ์ จึง ได้รายงานเสนอกองกำกับการสนับสนุนทาง อากาศตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อพิจารณาช่วย เหลือด้านการศึกษา จึงได้ขออนุมัติจัด ตั้งโรงเรียนไปยังกองบัญชาการตำรวจ ตระเวนชายแดนและสำนักงานประถมศึกษาแห่ง ชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดนนเรศวรห้วยโสกได้
เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนมกราคม – เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยชุดช่าง จากแผนก ๕ กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดน ชุดมวลชนสัมพันธ์ ๕๐๑ และประชาชนในหมู่บ้าน โรง เรียนมีเนื้อที่ ๒๕ ไร่
ตัวอาคารที่เปิดสอนครั้งแรกเป็นอาคารกึ่งถาวร ขนาด ๖x๓๖ เมตร มี ห้องเรียน ห้องทำงานเป็นอาคารเปิดโล่ง ไม่มี ฝา หลังคามุงสังกะสี ไม่เทพื้น
เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘ โดยแผนก ๕ กองกำกับ การสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ได้ จัดส่งครูเข้าทำการสอนจำนวน ๕ นาย เปิด สอนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑-๓ มี นักเรียน ๕๒ คน ชาย ๒๙ คน หญิง ๒๓ คน เมื่อเปิดเรียนแล้วได้มี การปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนในด้านต่าง ๆ จน มีความเจริญก้าวหน้ามาถึงสภาพปัจจุบัน
ต่อมาในปี ๒๕๓๓ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ตำรวจตระเวนชายแดน ได้มอบโรงเรียนให้ กับ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ เป็น ผู้รับผิดชอบ ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑–๖

พื้นที่ของโรงเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๔ ไร่ มีพื้นที่ในการทำการเกษตร
-พื้นที่ปลูกผัก ๑,๑๒๕ ตารางเมตร
-พื้นที่ปลูกพืชไร่ ๑,๖๐๐ ตารางเมตร
-โรงเพาะเห็ด ๑๐ ตารางเมตร

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวร ห้วยโสก ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับ การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบ คีรีขันธ์ เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดย รับเด็กจากหมู่บ้านห้วยโสก และห้วย สัตว์ใหญ่ ดำเนิน การสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๗ ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๒ คน ครูตำรวจตระเวน ชายแดน ๕ นาย ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๖๙ คน เป็น ชาย ๘๗ คน หญิง ๘๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. จ.ส.ต.สากล อาจสัญจร นบ. ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.วิชัย ขูทะ ม.ศ.๓ โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๓. จ.ส.ต.สรายุทธ บุญมี ม.ศ.๓ โครงการปลูกและขยายพันธุ์หญ้าแฝก
    ๔. ส.ต.อ.สัมฤทธิ์ ดีนุ่ม ม.ศ.๓ โครงการฝึกอาชีพ
    ๕. ส.ต.อ.ชรินทร์ บุญคง อนุปริญญา โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๖. ส.ต.ท.สวอง จันทรบูรณ์ อนุปริญญา โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๗. ส.ต.ต.ประมวล พลเกษตร ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๘. ส.ต.ต.สมพงษ์ พันธ์ดี ม.๖ โครงการนักเรียนทุนในพระราชานุเคราะห์
    ๙. พลฯมานิตย์ โคกแก้ว กศ.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๑๐. นางบุษบา จันทรบูรณ์ ศษ.บ ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๑. นางสาวอาไพร มะณีกรรณ์ ม.๓ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๘
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๗
    ๑๔
    ๓๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๕
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ๑๑
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๒
    ๒๐
    รวม
    ๘๗
    ๘๒
    ๑๖๙

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการ
    โครงการฝึกอาชีพ
    สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
    สาขาวิชาชีพ
    จำนวนเข้ารับการอบรม
    ๑.ศิลป์ประดิษฐ์
    ๙๖
    ๒.เครื่องยนต์เล็ก
    ๑๕
    ๓.อาหาร ขนม
    ๓๖
    ๓.อาหาร ขนม
    ๓๖
    ๔.ช่างเชื่อม บัดกรี
    ๔๖
    ๕.เกษตร
    ๑๒

    หน่วยงานที่เข้าไปให้การสนับสนุน
    วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี วิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวลหัวหิน

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๔๖)
    (ตก ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๘)